หากจะกล่าวถึงเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก ที่สร้างผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบต่อธุรกิจในหลากหลายวงการ หลายคนคงนึกถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่มีถกเถียงในกลุ่มนักพัฒนาและผู้ใช้งาน AI ทั้งนี้ เทคโนโลยีย่อมมีเหรียญสองด้าน นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการเรียนรู้ให้แก่แล้ว ยังอาจทำให้มนุษย์เกิดความกลัวที่จะถูก AI ควบคุมได้ หากมีการพึ่งพามากเกินไป แล้วมนุษย์ควรยืนในจุดไหน หรือพัฒนาทักษะให้เท่าเทียม AI ได้อย่างไร?
มาร่วมเจาะลึกถึงแนวโน้มและผลกระทบจาก AI ในบทสัมภาษณ์ของดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร (พีพี) นักวิจัยไทยแห่ง MIT Media Lab และ KBTG Fellow ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับ KBTG พร้อมแนวทางการปรับตัวร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในงาน KBTG Techtopia ปีสอง ที่มาในธีม A Blast From the Future เจาะเวลาจากอนาคต เพื่อให้คุณมีมุมมองด้าน AI ที่แตกต่างไปจากเดิม
เริ่มต้นบทสัมภาษณ์ ดร.พัทน์พูดถึงแนวคิดที่มีต่อการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายส่วนบุคคล หรือระดับประเทศ โดยมองว่าการที่เราเป็นคนเข้าใจในตัวเอง รับรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร และจะทำอย่างไรให้งานของเรามีความหมายต่อโลกนั้น? ถือเป็นหน้าที่ของเราเอง ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่อย่างใด
ซึ่งการที่ประเทศไทยจะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีได้ เราจะต้องสร้างวัฒนธรรมการวิจัยที่เข้มแข็ง มุ่งเน้นไปที่การมองเห็นคุณค่าของงานวิจัย มากกว่าใบปริญญาเพียงอย่างเดียว สิ่งนี้จะทำให้ประเทศสามารถเติบโตและมีอนาคตที่ดีได้ โดยดร.พัทน์ กล่าวว่าการที่ได้ร่วมมือกับ KBTG และ MIT Media Lab ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการเริ่มต้น และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่อนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย
ความน่าสนใจอยู่ที่การยกตัวอย่าง การ์ตูนญี่ปุ่นในดวงใจของยดร.พัทน์ “โดราเอมอน” โดยดร.พัทน์ เปรียบโดราเอมอนเป็นเหมือนหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยี ที่ไม่ได้ต้องการยึดครองโลก ไม่ได้อยากเข้ามาแทนที่ หรือเป็นมนุษย์เหมือน “โนบิตะ” หากแต่ต้องการเข้ามาช่วย และดึงพัฒนาให้โนบิตะกลายเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นได้ อีกทั้งดร.พัทน์ ยังพูดถึงมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI และมนุษย์ไว้ว่า
เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่เราควรกลัว แต่ควรที่จะใช้มัน เพื่อให้เราเป็นมนุษย์ที่ดียิ่งขึ้น
สำหรับที่มาและความสำคัญของการทำงานวิจัยในหัวข้อ “Cyborg Psychology: Designing and Evaluating Human-AI Systems for Human Flourishing” ดร.พัทน์ได้อธิบายถึงความสำคัญในการออกแบบให้มนุษย์และ AI สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับประโยชน์สูงสุด โดยงานหลักของดร.พัทน์ จะเกี่ยวข้องกับ Human Flourishing หรือ การเติบโตของมนุษย์ ที่มุ่งเน้นไปยัง 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
โดยดร.พัทน์ มองว่าเป็น 3 ประเด็นนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่ได้ถูกพูดถึงมากนักในการพัฒนาร่วมกับ AI อีกทั้งยังมีความเห็นว่าการที่เราเข้าใจจิตวิทยาของมนุษย์และ AI จะช่วยให้เราสามารถออกแบบการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยี AI ให้สอดคล้องกับแนวคิด Wonder, Wisdom, Well-Being และนำไปสู่การเติบโตในด้านของ Human Flourishing อันจะสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่มนุษย์ได้
ทางด้านของความร่วมมือระหว่าง KBTG x MIT Media Lab ซึ่งดร.พัทน์ ได้พูดถึง 4 โปรเจกต์หลัก อันได้แก่ โปรเจกต์ Future You, โปรเจกต์ Future Jobs, โปรเจกต์ FinLern, โปรเจกต์คู่คิด โดย “Future You” เป็นโปรเจกต์แรกที่มีเป้าหมายให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงสิ่งที่ตนเองต้องการและอาชีพในอนาคตได้ โปรเจกต์นี้ช่วยให้หลายคนมีความเครียดและความกังวลน้อยลง เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับตัวเองในอนาคต
นำไปสู่โปรเจกต์ที่สอง “Future Jobs” ที่มีการใช้เทคโนโลยี AI สร้างสรรค์ภาพทั้ง 6 อาชีพในครั้งเดียวกัน อาทิ นักบินอวกาศ, ทนาย, แพทย์, ทหาร, ครู, เชฟ เป็นต้น ช่วยให้เด็ก ๆ มีโอกาสได้พูดคุยกับตนเองในเวอร์ชันต่าง ๆ และสำรวจว่าอาชีพไหนน่าสนใจมากที่สุด
นอกจากนี้ยังมีโปรเจกต์ “FinLern” ที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Charactor ในการสอนความรู้ทางด้านการเงินให้แก่เด็กและผู้ที่สนใจ และโปรเจกต์สุดท้าย “คู่คิด by K-GPT” Chatbot หลากหลายคาแรกเตอร์ ที่ช่วยให้เรามองเห็นถึงคำตอบในหลากหลายแง่มุม ผ่าน Personality และแนวคิดที่แตกต่างกัน
สำหรับบทบาทในฐานะของ KBTG Fellow ดร.พัทน์ คิดว่าการทำงานร่วมกับบริษัทไทยและคุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่ม KBTG ช่วยให้มองเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนาเทคโนโลยี AI นอกจากนี้โปรเจกต์ Future You ยังได้ถูกพูดถึงในสื่อต่างชาติอย่างกว้างขวาง ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งว่าประเทศไทยเอง ก็สามารถสร้างเครื่องมือ หรือแพลตฟอร์มที่อยู่ในระดับนานาชาติได้ อีกทั้งงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ทั้งหมด เป็นในรูปแบบของ International Publication วารสารวิชาการระดับนานาชาติ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนาศาสตร์ Human - AI Interaction ให้ต่อยอดไปสู่ระดับโลกได้
ถ้าเราอยากจะลุกขึ้นมาเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เราต้องมีวัฒนธรรมการวิจัยที่เข้มแข็ง ไม่ใช่ซื้อปริญญาได้ หรือตีพิมพ์แล้วเอาชื่อไปแปะ
ดร.พัทน์ อธิบายว่า AI เข้ามามีบทบาทต่อการทำงานสักพักแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะปี 2024 เท่านั้น ซึ่งถึงแม้ว่า AI จะช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ทำให้การตัดสินใจลดลงเช่นเดียวกัน หากเราเชื่อ AI โดยไม่ได้คิดวิเคราะห์ก่อน หรือกล่าวได้ว่า "AI ที่ดี อาจไม่ได้นำมาสู่ผลลัพธ์ที่ดี” เสมอไป
จึงเป็นที่มาของงานวิจัยด้าน การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI เพื่อให้มนุษย์สามารถผู้ควบคุมเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การเลือกข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดจาก 2 คำถามที่ AI generate ที่จะช่วยให้เราสามารถฝึกการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และกระตุ้นทักษะทางด้านการตัดสินใจไปพร้อมกัน
ในมุมมองของการที่ AI จะเข้ามาแทนที่มนุษย์นั้น ดร.พัทน์ คิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน เนื่องแต่ละอาชีพมีความแตกต่างกัน แต่การทำให้มนุษย์มี AI Literacy (ความรู้ความเข้าใจในด้านของ AI) ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกประเทศ สื่อจึงควรเสนอความรู้และมุมมองที่ช่วยให้คนอ่านตามทันเทคโนโลยีได้ มากกว่าเกิดความกลัว หรือคิดว่า AI จะเข้ามาแย่งงานตนเอง เหมือนดังประโยคของ Marie Curie ที่กล่าวไว้ว่า
Nothing in Life is to be fear, only to be understood ไม่มีอะไรที่เราควรกลัว มีแต่ที่เราควรจะเข้าใจ
ในด้านของผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือ Economic Impact อาจไม่ได้รับผลกระทบจาก AI มากนัก อีกทั้งในช่วงนี้ ล้วนมีแต่นักลงทุนรายใหญ่ที่ยังให้ความสนใจในเทคโนโลยี AI อยู่ เนื่องจากการลงทุนใน AI มีข้อจำกัดทางด้านของเงินลงทุนและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีการสร้าง AI ให้เกิด Addiction เพื่อให้ผู้ใช้งานอยากใช้แพลตฟอร์มหรือบริการมากยิ่งขึ้น
แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่า AI ดร.พัทน์ ยังมองว่าเป็นเรื่องของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่ไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยเทคโนโลยีนี้ ดังนั้น เราจึงควรสร้างเทคโนโลยี AI ที่มีความเชี่ยวชาญ (Specialize) และสามารถดำเนินธุรกิจในท้องถิ่นและในประเทศได้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงให้ความสำคัญในด้านของกฎหมาย เพื่อควบคุมให้ AI ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือก่อให้เกิดปัญหาด้าน Privacy ได้
สำหรับอนาคตของเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับ AI ดร.พัทน์ คิดว่าเทคโนโลยีนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเด็กในด้านของความคิดสร้างสรรค์ อาทิเช่น หากเด็กชอบวาดรูป แต่เห็นว่า AI สามารถสร้างรูปภาพที่สวยกว่า ก็อาจทำให้ล้มเลิกความตั้งใจการวาดรูปได้ เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ในการปลูกฝังในลูกเกิดการเรียนรู้ระหว่าง AI กับทักษะที่ตัวเองมีอยู่ให้สัมพันธ์กัน และสอนให้เข้าใจ AI มากขึ้น ก็จะช่วยให้เด็กรู้เท่าทันเทคโนโลยีนี้ และไม่ถูก AI ควบคุมในอนาคตได้ เหมือนดังคำกล่าวของ Melvin Kransberg ที่พูดว่า “เทคโนโลยีไม่ได้เป็นบวก เป็นลบ หรือเป็นกลาง” ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เทคโนโลยีให้เกิดคุณค่าต่อตัวเอง และสังคมแบบไหนมากกว่ากัน
เทคโนโลยี AI ไม่ได้เข้ามีบทบาทหรือเข้ามาแทนที่มนุษย์เสมอไป หากแต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะดึงศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การร่วมมือระหว่าง KBTG และ MIT Media Lab ผ่าน 4 โปรเจกต์ที่น่าสนใจ ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยสามารถพัฒนาตนเองให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีได้ หากให้ความสำคัญในด้านของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี และมีการปลูกฝั่งให้เด็กรุ่นใหม่และคนในวัยทำงาน สามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูก AI เข้ามาแทนที่
KBTG x MIT Media Lab ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยพัฒนาความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจได้ โดยการจัดงาน KBTG Techtopia ปีสอง ที่มาในธีม A Blast From the Future เจาะเวลาจากอนาคต ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และต่อยอดโอกาสทางการแข่งขันให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีแห่งอนาคตได้
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด