เทรนด์การตลาดใหม่ ในยุค New Normal | Techsauce

เทรนด์การตลาดใหม่ ในยุค New Normal

วิกฤต COVID-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนเเปลงครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่เหล่าผู้ประกอบการต้องวางเเผนธุรกิจให้ดีว่าจะ "ปรับตัวอย่างไรให้ตอบโจทย์และไม่หลงทาง" ครั้งนี้เราจึงขอนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในยุคนี้ คือ เทรนด์การตลาด เพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการใช้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลในการวางเเผนธุรกิจ

ทำความรู้จักเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ในยุค New Normal

1. เว้นระยะห่าง แต่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี  - เนื่องจากในช่วงที่ต้องอยู่บ้านนานๆ หรือ Work From Home คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น ทำให้เกิดความเคยชินมากกว่าเดิม ธุรกิจเดิมๆ ที่ไม่สามารถปรับตัวรับเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก็จะหายไป

2. กิน ช้อป ออนไลน์ ชีวิตต้องง่ายแค่ปลายนิ้ว  - โดยชีวิตวิถีใหม่ เร่งสังคมไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสด  เมื่อเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับผู้ซื้อและผู้ขายเข้าหากันได้ง่ายขึ้น ประกอบกับผู้คนต้องอยู่บ้าน หรือ Work From Home ออกไปข้างนอกไม่ได้สะดวก การซื้อขายออนไลน์จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงจุดนี้ ทำให้หลายๆ แพลฟอร์มออนไลน์เติบโตสูง

3. เน้นใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น  ใช้เงินอย่างมีเหตุผล -  เนื่องจากในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว และยังคงไม่แน่นอนว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เงินอย่างมีเหตุผลมากขึ้น แล้วเน้นออมเงินมากกว่า เพราะฉะนั้นสินค้าฟุ่มเฟือย และของที่ไม่คุ้มค่าอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆ แล้ว 

4. รักษาสุขลักษณะส่วนตัวมากขึ้น  - สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญและใส่ใจกับเรื่องนี้มากที่สุด  ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการรักษาสุขอนามัยส่วนตัวไม่เพียงแต่ขายดีในช่วงนี้เท่านั้น แต่จะยังคงได้รับความนิยมหลังจากสถานการณ์โควิด-19 บรรเทาลงแล้วด้วย 

5. สนใจการออมและความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น - กลุ่มผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้อ หันมาให้ความสำคัญกับการออม และการลงทุน เพื่อความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น  รวมทั้งต้องการความคุ้มครองที่มากขึ้น 

6. เน้นใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น  ใช้เงินอย่างมีเหตุผล  

7. นิยมการซื้อสินค้ารวมกัน - การซื้อสินค้ารวมกันหรือซื้อเป็นกลุ่ม หมายถึงผู้บริโภคจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อมีการซื้อสินค้ารวมกันกับผู้ซื้อรายอื่น เพื่อรับส่วนลดตามที่ร้านค้ากำหนด เมื่อผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลงก็ต้องซื้อในปริมาณมาก ซึ่งพวกเขาสามารถซื้อสินค้าทั้งหมดเพียงคนเดียวหรือซื้อรวมกับผู้ซื้อคนอื่น ๆ เพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าตามเงื่อนไขของทางร้านค้า และตามที่ตกลงกับผู้ซื้อร่วม

8. เกิดความต้องการสินค้าเฉพาะ - เมื่อผู้คนไม่สามารถใช้เงินไปกับการเข้าสังคม พวกเขาจะหาทางเลือกอื่น ๆ ในขณะที่พวกเขาอยู่ในช่วงการกักตัวเองที่บ้าน ก็ต้องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นความต้องการอุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์งานอดิเรกจะเพิ่มขึ้น บางคนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการปรับปรุงบ้านด้วยตัวเอง ซึ่งหมายความ ว่าความต้องการวัสดุก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมถึงผู้คนจะมองหาความบันเทิงแบบต่าง ๆ ในบ้านของพวกเขา เช่น วิดีโอเกม เกมกระดาน และของเล่นสำหรับเด็ก ซึ่งจะมีการซื้อผ่านทางระบบออนไลน์เพิ่มขึ้นด้วย

ในวันนี้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ได้นำสตาร์ทอัพที่มีเทรนด์ใหม่ สามารถปรับแบรนด์ตัวเองเข้าสู่ยุค New Normal ได้

CastleC Dealer (คาสเซิลซี ดีลเลอร์ ระบบตัวแทนดร็อปชิป)

ร้านมัลติแบรนด์เครื่องสำอางไทยเจ้าแรกและเจ้าเดียวที่สนับสนุนและให้โอกาสแบรนด์ไทยในโลกออนไลน์ให้มีพื้นที่ขายในออฟไลน์ มีทั้งหมด 4 สาขา สยาม แฟชั่นไอซ์แลนด์ ฟิวเจอร์ปาร์ค และ เอเชียทีคและกำลังแก้ปัญหาให้ตัวแทนเครื่องสำอางทุกคนที่เจอปัญหาต้องลงทุนและสต๊อกสินค้า ให้สามารถขายสินค้าได้ทุกชิ้นที่เรามีโดยที่ไม่ต้องลงทุน

Pi R Square (ไพ อาร์ สแควร์)

Startup ที่ให้บริการซอฟท์แวร์ในการเปลี่ยน Process การทำงานของธุรกิจให้เป็นดิจิทัล หรือการ Transform องค์กรสู่ Digital เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรระหว่างแผนก เช่น ระบบ e-ordering สั่งซื้อสินค้าสู่ร้านตัวแทนขาย หรือ Dealer ด้วยตนเอง ลดเวลาการทำงานของพนักงาน หรือจัดซื้อลงได้ หรือระบบบริหารงานติดตั้ง และบริการหลังการขาย After Sale Service

PRO-toys (โปร-ทอยส์ )

Startup ด้านดิจิตอล คอนเท้นท์ ที่มีนวัตกรรมการ Multi Camera Control เครื่องมือในการถ่ายภาพแบบพิเศษ ซึ่งหาไม่ได้ด้วยอุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีในตลาด โดยก่อนโควิด โปรทอยส์ ให้บริการเพื่อสร้างภาพแบบพิเศษให้กับกลุ่มธุรกิจ Production House, ให้บริการถ่ายภาพ Special Effect Event Organizer ให้บริการ WoW Photo Booths เพื่อสร้างเป็นกิจกรรมการตลาดรับภาพด้วยการแชร์ในโซเชี่ยล มีเดีย Tourism ร่วมทุนกับแหล่งท่องเที่ยวในการบริการภาพที่ระลึกดิจิตอล  

Siam Outlet (สยาม เอาท์เลต)

Startup ที่ให้บริการระบบบริหารคลังสินค้าและโลจิสติกส์แบบครบวงจร สำหรับธุรกิจ E-commerce เราช่วยเก็บของ แพ็กของ และจัดส่งสินค้าให้กับร้านค้าออนไลน์ ด้วยบริการจากทีมงานที่น่ารัก ทำงานด้วยความเอาใจใส่อย่างประณีต พัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การทำธุรกิจของร้านค้าออนไลน์ เพื่อให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดส่งตรงถึงลูกค้าปลายทาง  

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...