ทำความรู้จัก Ninja Van บริการส่งพัสดุไฟแรง ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาการส่งของ | Techsauce

ทำความรู้จัก Ninja Van บริการส่งพัสดุไฟแรง ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาการส่งของ

ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของ E-Commerce และร้านค้าออนไลน์ในเมืองไทย ทำให้มีผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด หนึ่งในนั้นคือ Ninja Van ผู้ให้บริการส่งพัสดุเอกชนจากประเทศสิงคโปร์ที่เริ่มเข้ามาตีตลาดประเทศไทย โดยชูเทคโนโลยีที่แตกต่างจากเจ้าอื่น พร้อมช่วยให้การบริการสะดวก ง่าย เร็ว สามารถติดตามได้แบบ real-time แถมยังราคาไม่แพงอีกด้วย วันนี้ Techsauce จะพาไปนั่งพูดคุยทำความรู้จักกับ Ninja Van กันให้มากขึ้น

Ninja Van ก่อตั้งมานานแค่ไหนแล้ว?

Ninja Van เริ่มให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาตั้งแต่ปี 2014 ที่ประเทศสิงคโปร์ และเริ่มขยายไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทย Ninja Van เริ่มเข้ามาในปี 2016 และประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 ที่ผ่านมา

เว็บไซต์ E-Commerce อะไรบางที่คุณร่วมงานด้วย?

เราร่วมงานกับ E-Commerce หลายเจ้า อย่าง Page 365/ Lazada/ Thai Ticket Major/ Pomelo/ Shopee/ Chilindo

ปัญหาหลักๆ ที่คุณมองเห็นจากธุรกิจโลจิสติกส์ในเอเชียคืออะไร?

หลักๆ เลยคือ กระบวนการขนส่งพัสดุยังคงเป็นระบบ manual อยู่ และต้องกรอกแบบฟอร์มมากมายในการขนส่ง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการทำของหาย ลูกค้าไม่ได้รับของที่สั่ง Ninja Van จึงเกิดขึ้นเพื่อใช้เทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งให้ดีขึ้นในภูมิภาคนี้ พวกเราตั้งใจให้บริการขนส่งให้กับธุรกิจทุกขนาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านโลจิสติกส์ให้ดีที่สุด

เทคโนโลยีอะไรที่คุณพัฒนาขึ้นมาใช้กับการบริการ และมันจะช่วยยกระดับธุรกิจโลจิสติกส์อย่างไร?

เราผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีหลายอย่างขึ้นมาเอง ตัว applications ของเราสร้างบนระบบ Java เทคโนโลยีใหม่ที่ถูกออกแบบมาให้รองรับกับช่วงเวลาที่มีคนใช้งานเยอะมากๆ โดยใช้ทฤษฎี multi-cloud สิ่งที่ทำให้เราสู้กับเจ้าอื่นได้คือการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ช่วยให้เรารองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ และมีอัลกอริธึมที่ช่วยเรื่องระบบอัตโนมัติ

คุณสร้างระบบที่ว่าขึ้นมาอย่างไร? หรือมีการร่วมมือกับบริษัทอื่นด้วยไหม?

ไม่เลย เทคโนโลยีทุกอย่างของเราสร้างและพัฒนาโดย in-house ของ Ninja Van

Ninja Van แตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร?

อย่างแรกเลย ด้วยความที่เราเป็น Startup เราจึงมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าผู้ให้บริการ local ที่ครองตลาดอยู่ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่จะดึงดูดผู้ทำธุรกิจ E-Commerce ใหม่ๆ ที่กำลังมองหาผู้ให้บริการส่งของ แต่แค่เทคโนโลยีอย่างเดียวไม่ช่วยทำให้ลูกค้าหันมาใช้บริการของเรา

เราจึงใช้เวลาในการพัฒนาความเชื่อมั่นในบริการของ Ninja Van โดยช่วยเหลือลูกค้าในทุกๆ ขั้นตอนตลอด 24 ชั่วโมง ลูกค้าที่ทำธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เทคโนโลยีของเราเพื่อให้การบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมันมีระบบที่ตรวจสอบได้ แบบ real-time ลูกค้าสามารถเขียน chat คุยกับ Customer Service ของเราได้ตรงโดยไม่ต้องนั่งเขียนอีเมล์หรือโทรศัพท์เข้ามา

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Ninja Van ได้ออก application ชื่อว่า Ninja Easy สำหรับผู้ขายของออนไลน์ที่ต้องการส่งพัสดุไปที่ต่างๆ ภายในประเทศไทย ที่พร้อมให้บริการทั้งบนระบบ iOS และ Android โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการให้ Ninja Van ไปรับของที่ไหนก็ได้ในกรุงเทพ ภายใน 90 นาที และส่งไปยังที่ต่างๆ ทั่วประเทศได้ภายใน 1-3วัน

เรายังมีระบบการเก็บเงินปลายทาง หรือ Cash On Delivery ที่เป็นอีกทางเลือกในการจ่ายเงินสำหรับลูกค้าคนไทย ( 30% ของลูกค้า E-Commerce ในไทยใช้บริการนี้ ) เทคโนโลยีของเราจะช่วยให้การจ่ายเงินปลายทางมีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงผู้ส่งก็จะได้รับเงินตรงเวลาและเต็มจำนวนอย่างแน่นอน

ผู้ที่ร่วมลงทุนกับ Ninja Van คือใครบ้าง?

ในการระดมทุนระดับ Series B เราได้รับเงินลงทุน 30 ล้านดอลลาร์ จาก Abraaj, Monk’s Hill Ventures, B Capital Group และ Yahoo Japan Capital

Ninja Van ประสบความสำเร็จในประเทศไหนมากที่สุดในขณะนี้?

ในสิงคโปร์เราค่อนข้างแข็งแรงที่สุดเพราะว่าเราเริ่มมาจากที่นั่น แต่สำหรับตลาดในประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ทำไมถึงเลือกขยายมายังประเทศไทย?

เรามองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจในเมืองไทย เพราะที่นี่ธุรกิจ E-Commerce และ การค้าขายบน Social media เพิ่มขึ้นเยอะมาก

ตอนนี้มีแพลนจะขยายไปประเทศไหนในเอเชียอีกบ้างไหม?

ในตอนนี้เรายังโฟกัสและขยายไปที่ตลาดปัจจุบันที่เราอยู่ก่อน ยังไม่มีแพลนขยายไปที่อื่น

คุณหวังกับตลาดเมืองไทยไว้อย่างไร?

เราหวังว่าจะสามารถให้บริการขนส่งด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับทุกคนในประเทศไทยได้

อนาคตของ Ninja Van จะเป็นยังไง?

ในอนาคตเราอยากจะมีโอกาสทำธุรกิจแบบ cross-business มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็ให้บริการแก้ปัญหาด้านการขนส่งด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อลูกค้าทั้งภาคธุรกิจทุกขนาดและผู้บริโภค

มองว่าอนาคตของธุรกิจโลจิสติกส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นยังไง?

ด้วยการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราเล็งเห็นว่าในอนาคตจะยิ่งมีความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์มากขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผู้ให้บริการควรจะทำให้ระบบเป็นอัตโนมัติ และให้ความสะดวกสบาย ความยืดหยุ่นในการเลือก options ต่างๆ ในการส่งของ รวมถึงให้บริการผู้รับด้วยระบบการติดตามของที่บอก status ต่างๆ อย่างละเอียดแม่นยำ

ตั้งแต่ให้บริการมา มีปัญหาอะไรบ้างที่คุณเจอและแก้ไขมันอย่างไร?

ก็คล้ายๆ กับ startup ด้านเทคโนโลยีอื่นๆ ในตอนแรกๆ เรามีปัญหาเรื่องการแบ่งงบประมาณการดำเนินงาน แต่หลังจากนั้นเราก็ผ่านมันไปได้ด้วยการทำเข้าใจความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายผ่านบริการของเรา เรารวบรวม feedback และมีฝ่าย engineer ที่พัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับตลาด local แต่ละที่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศไทยหรือที่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในท้ายที่สุดแล้ว Ninja Van จะช่วยบริการโลจิสติกส์ที่มีความสะดวก ง่าย ต่อผู้ทำธุรกิจต่างๆ และ ลูกค้าทุกคน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม Ninja Van

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...