แร่หายากราคาพุ่งสูง อีกหนึ่งความท้าทายของบริษัทเทคโนโลยี โดยเฉพาะกลุ่ม Hardware | Techsauce

แร่หายากราคาพุ่งสูง อีกหนึ่งความท้าทายของบริษัทเทคโนโลยี โดยเฉพาะกลุ่ม Hardware

บริษัทผลิตฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์ต่างประสบอยู่ในภาวะคับขัน หลังจากราคาแร่หายากพุ่งสูงท่ามกลางอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่นับวันจะรุนแรง เนื่องจากสองประเทศล้วนเป็นผู้กุมบังเหียนแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุหายากสำคัญระดับโลก 

แร่หายาก

Praseodymium (เพรซีโอดิเมียม) และ Neodymium (นีโอไดเมียม) ทั้งสองแร่ธาตุนี้อยู่ในหมวดหมู่ของโลหะธาตุหายาก และมีบทบาทสำคัญต่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทุกประเภทตั้งแต่ลำโพง มอเตอร์ไฟฟ้า ไปจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอาวุธยุทโธปกรณ์ พอเหตุการณ์โควิด-19 เกิดขึ้นก็ได้ผลักดันให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เฟื่องฟูอย่างมหาศาล โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่อาศัยแร่ธาตุสำคัญกลุ่มนี้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และแบตเตอรี่ 

Max Hsiao Senior Manager ของผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เสียงจากเมืองตงกวน ประเทศจีน ได้กล่าวว่ากว่าจะได้ชิ้นส่วนลำโพงและอุปกรณ์เสียงทั้งหมดนั้นจะต้องใช้ธาตุโลหะ Praseodymium และ Neodymium ด้วยเช่นกัน  จากความต้องการที่มากขึ้น ได้ทำให้แนวโน้มราคาโลหะที่ Hsiao ใช้ประกอบลำโพงสำหรับ Amazon และ Lenovo ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่านับตั้งแต่เดือนมิ.ย. ปี 2020 สู่ 117,300 ดอลลาร์ต่อตันในเดือนส.ค. ที่ผ่านมา Hsiao ได้กล่าวกับสื่อ Nikkei Asia ว่า “ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของแร่ธาตุหายากนั้นส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทลดลงอย่างน้อย 20% และไม่คิดว่าทิศทางราคาจะกลับมาต่ำลงในเร็ววันนี้” 

ยิ่งไปกว่านั้น ความตึงเครียดทางการเมืองก็ทำให้สถานการณ์ธาตุหายากย่ำแย่ลง

ประเทศจีนเป็นเพียงประเทศเดียวที่มีครอบครองกระบวนการผลิตแร่หายากแบบครบวงจรตั้งแต่การขุด การกลั่น ไปจนถึงการแปรรูป ซึ่ง Roskill บริษัทวิเคราะห์ด้านสินค้าโภคภัณฑ์ก็เผยว่าในปีที่ผ่านมา จีนครอบครองกำลังการผลิตแร่หายากทั่วโลกถึง 55% และแร่ธาตุหายากที่ได้รับการกลั่นออกมาแล้ว 85% และเมื่อเดือนม.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้บอกเป็นนัยว่าอาจควบคุมการส่งออกอย่างเข้มงวด ส่งผลให้ราคาแร่ธาตุหายากสูงขึ้น 

ข้อมูลจาก Shanghai Metals Markets พบว่า ราคาแร่ธาตุหายากอาทิ นีโอไดเมียมออกไซด์ ส่วนประกอบหลักสำหรับมอเตอร์และกังหันลม พุ่งขึ้น 21.1% ตั้งแต่ต้นปี 2021 ขณะที่โฮลเมียมที่ใช้ในแม่เหล็ก และโลหะผสมแม่เหล็กสำหรับเซ็นเซอร์และตัวกระตุ้นให้มอเตอร์ทำงานนั้นก็สูงขึ้นกว่า 50% จนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกัน แม้แต่ราคาโลหะที่รู้จักกันทั่วไปอย่าง ดีบุก ทองแดง อลูมิเนียม และเหล็กกล้าก็ปรับขึ้น ซึ่งก็ได้รับแรงปัจจัยจากการควบคุมของจีน

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ แองเจลา ชาง นักวิเคราะห์จากสถาบัน Industry, Science and Technology International Strategy (ISTI) ระบุว่าการควบคุมครั้งนี้ช่วยเปิดทางให้จีนต่อต้านแรงกดดันจากสหรัฐได้ และจะเป็นตัวต่อรองที่สำคัญในการเจรจาทางการค้า และยิ่งความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งผลักดันราคาแร่ธาตุหายากในสูงขึ้นในระยะยาวมากเท่านั้น

แน่นอนว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมไม่พ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง เนื่องจากมีแนวโน้มสูงมากกว่าต้นทุนในการผลิตจะกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายต่อไปยังลูกค้าทั่วโลก ตัวอย่างผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ HP, Dell, Apple, Samsung รวมถึงบริษัทยานยนต์ขนาดใหญ่ 

แม้จะไม่มีปัจจัยด้านการเมืองก็ตาม แต่การผลิตนวัตกรรมใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ยานยนต์อัจริยะ และอุปกรณ์ 5G ก็จะเป็นตัวดึงราคาแร่หายากให้สูงขึ้นอยู่ดี

อ้างอิง Nikkei Asia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถกยุทธศาสตร์ AI ไทย หนทางดึงไทยกลับเวทีโลก ควรเริ่มอย่างไร ?

ค้นพบโอกาสและความท้าทายของ AI ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน!...

Responsive image

รัฐบาลเวียดนามขยับ SME ได้เวลาทวงคืนตลาดแฟชั่นจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนอย่าง Shein และ TEMU

รัฐบาลเวียดนามเตรียม "บล็อก" แอปพลิเคชันและโดเมนช้อปปิ้งออนไลน์ของจีนอย่าง Shein และ Temu ถ้าไม่จดทะเบียนอย่างถูกต้องก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทวงคืน “อุ...

Responsive image

AI ไม่ได้แทนที่คุณ แต่จะช่วยให้คุณ 'ดีกว่าเดิม'

สำรวจแนวคิด "จิตวิทยาไซบอร์ก" ในการออกแบบระบบมนุษย์-AI เพื่อความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมบทบาทของ AI ในการพัฒนาไทยให้เป็น “AI Land” จากมุมมอง ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร ในงาน THE STANDARD ...