การขยายธุรกิจฟินเทคไปยังภูมิภาคอาเซียน - ถกประเด็นความท้าทายและโอกาสในงาน Techsauce Global Summit | Techsauce

การขยายธุรกิจฟินเทคไปยังภูมิภาคอาเซียน - ถกประเด็นความท้าทายและโอกาสในงาน Techsauce Global Summit

หากจะขยายตลาดของธุรกิจฟินเทคเพื่อครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน คำถามที่ตามมาก็คือ คุณจะเริ่มต้นอย่างไร? มีความท้าทายและโอกาสอะไรที่รอคุณอยู่บ้าง? ทุกคนต่างก็รู้ดีว่าการขยายขนาดของธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งหากสตาร์ทอัพด้านฟินเทคสักรายต้องการที่จะก้าวไปถึงมูลค่าธุรกิจที่เกินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์หรือกลายเป็นยูนิคอร์นตัวต่อไปของภูมิภาคแล้ว แนวโน้มที่จะสามารถขยายขอบเขตของกิจการ หรือการขยายขนาดธุรกิจนั้นย่อมต้องเป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้ก่อตั้งและเหล่านักลงทุน และแม้ว่าฟินเทคจะเป็นหนึ่งในกลุ่มของเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงความสามารถอย่างมหาศาลของฟินเทคที่จะเติบโตในภูมิภาคอาเซียนนี้ แต่การที่จะทำให้ธุรกิจภายในประเทศประเทศหนึ่งเติบโตขึ้นย่อมต้องอาศัยความสามารถในการขยายขอบเขต (Scale) ซึ่งเริ่มจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านแล้วจึงไปสู่ระดับโลก

โดยในงาน Techsauce Global Summit 2017 มีการอภิปรายถึงการขยายกิจการฟินเทคให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน ดำเนินรายการโดย Andy Disyadej กรรมการผู้จัดการของสมาคมฟินเทคประเทศไทย ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญและรู้รอบถึงความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของ Fintech Startup Ecosytem โดยมีผู้ร่วมวงเสวนาดังนี้

  • Roy Teo ผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มฟินเทคและนวัตกรรมของธนาคารกลางสิงคโปร์ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลนวัตกรรมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคในประเทศสิงคโปร์ ด้วยประสบการณ์ 20 ปีในการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี การตรวจสอบเทคโนโลยี และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ IT ในหลายภูมิภาคหลากประเทศ ก่อนจะมาเป็นผู้คุมบังเหียนในองค์กรปัจจุบัน
  • Felix Tan กรรมการผู้จัดการของ FinLab ซึ่งเป็น Fintech accelerator ในรูปแบบบริษัทเป็นแห่งแรกของสิงคโปร์ จากการร่วมทุนระหว่างธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) (UOB) และ SGinnovate  Felix จึงได้ทำงานร่วมกับหลายสตาร์ทอัพในการผลักดันเร่งการขยายธุรกิจเพื่อให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนและตลาดโลก
  • Elena Ionenko ผู้ร่วมก่อตั้ง Turnkey Lender ซึ่งเป็นคลาวด์แพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืมเงิน โดยทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการบริหารสินเชื่อของผู้ให้กู้ออนไลน์ตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง โดย Elena นั้นเป็นผู้มีประสบการณ์และมีส่วนผลักดันการขยายขนาดของสตาร์ทอัพในแวดวงฟินเทคในระดับโลก 
  • เจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Channels & Digitalisation จากธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

คำถามแรกสำหรับคุณเอเลน่า ในฐานะที่ต้องการขยายธุรกิจของ Turnkey Lender ไปสู่ระดับโลก อะไรทำให้คุณตัดสินใจที่จะขยายและย้ายที่ตั้งมายังภูมิภาคเอเชีย?

เอเลน่า: เราก่อตั้งบริษัทของเราในยุโรปตะวันออก ซึ่งในขณะที่เรากำลังสร้างยอดขายมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ตระหนักได้ว่าเราสามารถที่จะขายโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาได้ แต่ไม่ใช่ที่เอเชีย ซึ่งตลาดอาเซียนนั้นเป็นตลาดที่มีโอกาสทางการตลาดสูงมากสำหรับเรา และการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มากพอในตลาดนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะย้ายทีมบางส่วนมาที่นี่และเข้าร่วม FinLab accelerator ซึ่งฉันคงต้องขอให้ Felix อธิบายต่อว่าพวกเขาทำอะไรกันที่ FinLab

Felix คุณช่วยเล่าให้เราฟังได้ไหมว่า FinLab accelerator ทำอะไรบ้างในการช่วยเหลือสตาร์ทอัพอย่าง Turnkey Lender?

Felix: FinLab นั้นสนับสนุนสตาร์ทอัพต่างๆ ทั้งผ่านการช่วยเหลือโดยตรงและผ่านเครือข่ายขนาดใหญ่ของธนาคาร UOB และ SGinnovate โดยอันดับแรกเราเริ่มที่การพูดคุยกับเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัทและช่วยพวกเขาสร้างเป้าหมายของแผนธุรกิจที่ชัดเจน จากนั้นเราจึงช่วยเปิดประตูให้กับสตาร์ทอัพต่างๆ ในการเข้าถึงบริษัทที่ใหญ่ที่สุดที่มีอยู่และทำให้แน่ใจว่าพวกเขาประสานกันอย่างรวดเร็วเพื่อจะได้ทำงานในโปรเจกต์ต่างๆ ร่วมกัน

ฟินเทคในภูมิภาคอาเซียนนั้นกำลังเติบโตและมีโอกาสมหาศาล ทั้งนโยบายและภาครัฐนั้นต่างก็พยายามเป็นอย่างมากในการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ซึ่งผลประโยชน์ที่จูงใจเหล่านั้นไม่เพียงแต่เป็นที่น่าสนใจของโปรเจกต์ภายในประเทศ แต่ยังดึงดูดโปรเจกต์และทีมต่างๆ จากต่างประเทศอีกด้วย และสิ่งที่สำคัญมากสำหรับภาคการเงินในองค์รวมก็คือ นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สถาบันการเงินการธนาคารต่างๆ จะต้องตระหนักว่าระบบเก่านั้นควรจะต้องเปลี่ยนแปลงไป และพวกเขาก็ควรที่จะเต็มใจเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือกับเหล่าสตาร์ทอัพต่างๆ

นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สถาบันการเงินการธนาคารต่างๆ จะต้องตระหนักว่า ระบบเก่านั้นควรจะต้องเปลี่ยนแปลงไป และพวกเขาก็ควรที่จะเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ในการร่วมมือกับเหล่าสตาร์ทอัพต่างๆ

[video width="960" height="540" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/08/UOB-1.mp4"][/video]

3 ความท้าทายเบื้องต้นที่ต้องเผชิญในการการขยายตลาดของฟินเทคไปยังภูมิภาคอาเซียน

  1. กฎระเบียบที่ 'เป็นมิตรกับฟินเทค' อาจจะเปิดโอกาส แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นอุปสรรคได้เช่นกัน

Felix ให้ความเห็นว่า กฎระเบียบต่างๆ นั้น จริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้เพียงแค่เปิดโอกาสให้สำหรับสตาร์ทอัพในภูมิภาคเท่านั้น แต่อาจจะกลายเป็นอุปสรรคบางอย่างที่สตาร์ทอัพจะต้องก้าวข้ามไปให้ได้เช่นกัน ซึ่งในภาคของฟินเทคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงมากสำหรับผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ จึงยากที่จะผ่อนคลายนโยบายต่างๆ ในทันทีทันใด แต่ในทางกลับกัน นี่เป็นกระบวนการที่ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปและเป็นไปอย่างระมัดระวัง ดังนั้น บริษัทสตาร์ทอัพทั้งหลายจึงจำเป็นต้องเชี่ยวชาญเรื่องการสร้างเครือข่ายต่างๆ และด้านกฎหมายก็เช่นกัน เพื่อหาช่องทางที่ถูกจังหวะเวลาและสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท

  1. การศึกษาและความร่วมมือที่มากขึ้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อก้าวข้ามกำแพงทางภาษาและวัฒนธรรม

Roy กล่าวว่าเป็นที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับปัญหาที่หลายๆ บริษัทมีเหมือนๆ กันคือ เรื่องของภาษา ผู้ก่อตั้งบริษัทในหลายประเทศยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการทำงานและดำเนินธุรกิจของพวกเขาด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นก็ทำให้เป็นปัญหาสำหรับผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่กลัวการทำงานและดำเนินกิจการในอาเซียน เพราะความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมนี้เอง ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงต้องการได้รับการแก้ไขโดยการให้การศึกษาและความร่วมมือที่มากขึ้นใน ecosystem ทั่วโลก

  1. การใช้ข้อมูลในแวดวงฟินเทคนั้นเป็นเหมือนดาบสองคม ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจต่างๆ แต่ก็ต้องนำมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างมีดุลยพินิจเช่นกัน

หัวข้อที่ดีหัวข้อหนึ่งในการพูดคุยครั้งนี้คือ เรื่องของการใช้ข้อมูลในภาคธุรกิจฟินเทค โดยบริษัทฟินเทคต่างๆ นั้นสร้างข้อมูลมากมายที่ต้องการการจัดการอย่างเหมาะสม แต่ก็ต้องแบ่งปันกันภายใน ecosystem เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

[video width="960" height="540" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/08/UOB.mp4"][/video]

ผู้ร่วมอภิปรายทั้งหมดได้ให้ข้อสรุปตรงกันว่า ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่บริษัทฟินเทคจะมุ่งไปตามตลาดเฉพาะของพวกเขา ผู้ก่อตั้งบริษัทในอาเซียนนั้นอยู่ในจุดที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถจะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของทั้งภูมิภาคนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องระมัดระวังหลุมพรางของกฎระเบียบต่างๆ และปรับตัวเข้ากับการพัฒนาใหม่ๆ ของตลาดให้ได้

เจมส์เล่าว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Alibaba และ Tencent นั้นแบ่งปันข้อมูลจำนวนมากกับสตาร์ทอัพซึ่งช่วยเร่งการพัฒนาของภาคธุรกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก และเสนอมุมมองที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาของฟินเทคในประเทศไทยซึ่งมีความท้าทายในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้

  1. เพิ่มกลุ่มของคนที่มีความสามารถในด้านฟินเทคให้มากขึ้น
  2. ลดอุปสรรคทางภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ
  3. สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับการระดมทุนของฟินเทคในประเทศไทย
  4. มี mindset ที่พร้อมจะ scale up ตั้งแต่เริ่มต้น

นอกจากนี้ ธนาคาร UOB ยังมีเครือข่าย VC platform ที่ช่วยในการระดมทุนให้แก่สตาร์ทอัพต่างๆ ตั้งแต่ Seed stage ไปจนถึง Series ต่างๆ กระทั่ง Pre IPO อีกด้วย

[video width="960" height="540" mp4="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2017/08/UOB-2.mp4"][/video]

และท้ายสุด Felix ฝากถึงสิ่งที่ Finlab มองหาในการเลือกสตาร์ทอัพมาเข้าร่วมใน accelerator โดยต้องมี

  1. Team ที่ดีมีประสบการณ์และรู้จักธุรกิจของตัวเองดีพอ
  2. Idea ที่น่าสนใจมากพอพร้อมกับความสามารถที่จะสามารถเติบโตได้
  3. Scalability ความสามารถในการสเกลได้ ไม่ใช่เพียงในประเทศ แต่อย่างน้อยต้องมีแนวโน้มในการขยายตัวอยู่ในระดับภูมิภาค

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBTG เผย ‘Horizontal Core Banking’ บิ๊กโปรเจกต์ขยายระบบหลังบ้าน KBank รองรับการเติบโตได้ถึงปี 2031

เจาะอินไซด์การขยายระบบหลักของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ายาวถึงปี 2031 ใน ‘Core Banking Horizontal Scale Project’ โดยทีม KBTG และทีม KBank รวมแล้วพันคน มาร่วมแรงร่ว...

Responsive image

DeepSeek และ Qwen: เมื่อ AI ราคาถูกเปลี่ยนโฉมโลก

DeepSeek และ Qwen จาก Alibaba กำลังเปลี่ยนแปลงวงการ AI ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และระบบนิเวศ AI ทั่วโลก สุภาวดี ตันติยานนท์ วิเคราะห์ผลกระทบและแนวทางที่ประเทศไทยค...

Responsive image

ทำไม Deepseek อาจยังไม่ใช่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ฟังความเห็น ดร.พัทน์ แห่ง MIT Media Lab

DeepSeek R1 คือ AI จากจีนที่ถูกมองว่าอาจท้าทาย ChatGPT-O1 ของ OpenAI แต่ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร วิเคราะห์ว่า DeepSeek อาจยังไม่ใช่ "breakthrough" ที่แท้จริง...