SCB กับนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเงินแบบ “เดือนชนเดือน” ให้พนักงานประจำ | Techsauce

SCB กับนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเงินแบบ “เดือนชนเดือน” ให้พนักงานประจำ

ปัญหาของเศรษฐกิจในปัจเจกบุคคลหนีไม่พ้นการเป็นหนี้นอกระบบ การใช้จ่ายเงินต่อเดือนที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับมนุษย์เงินเดือนที่มักเกิดเป็นคำว่า “เดือนชนเดือน” ที่บางคนเป็นหนี้บัตรเครดิตแล้ว ยังต้องกู้ยืมนอกระบบมาจ่ายด้วย และเมื่อต้องใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินก็ไม่มีเงินสำรองพอจ่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายแรงกับตัวบุคคลต่อเนื่องไปถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

“เดือนชนเดือน” ปัญหาของมนุษย์เงินเดือนที่นำไปสู่ “หนี้นอกระบบ”

จากข้อมูลที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทำการสำรวจผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จำนวนราว 3,000 ราย พบว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์เคยกู้เงินนอกระบบ และกว่า 88 เปอร์เซ็นต์มียอดเงินกู้ต่ำกว่า 15,000 บาท ผู้ทำแบบสอบถามกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ยังอยู่ในภาวะใช้เงิน “เดือนชนเดือน” หรือไม่เหลือเงินเก็บ

กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินพื้นฐานของทางธนาคาร ทำให้ต้องหันไปพึ่งบริการทางเลือกอื่นๆ โดยเฉพาะการกู้ยืมหนี้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงและเสี่ยงต่อวิธีปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม คนกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องมีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่า ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และช่วยให้เข้าสู่ระบบในระยะยาวได้

"เดือนชนเดือน" กระทบนายจ้าง องค์กร และเศรษฐกิจภาพรวม

แน่นอนว่าการประสบปัญหาเรื่องเงินย่อมสร้างความเครียดแก่คนทำงาน โดยผลสำรวจดังกล่าวพบว่า ปัญหาหนี้สินส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานถึง 57 เปอร์เซ็นต์จากผู้ทำแบบสำรวจทั้งหมด ถือเป็นตัวเลขที่ส่งผลอย่างมีนัยยสำคัญทั้งต่อนายจ้าง องค์กร และเศรษฐกิจโดยภาพรวม

นอกจากนี้ การประสบปัญหาทางการเงินอาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในที่ทำงาน เมื่อมีพนักงานขอยืมเงินเพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ขอยืมเงินนายจ้าง ซึ่งอาจสร้างความอึดอัดและบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตรในที่ทำงานได้

แม้นายจ้างจะต้องการให้สวัสดิทางการเงินเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพนักงาน แต่ต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นได้ยากเพราะทำให้องค์กรต้องแบกรับภาระในการบริหารจัดการ และมีค่าใช้จ่ายในการสำรองเงินให้กับพนักงานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก   

สวัสดิการทางการเงินที่ครบครันจากสถาบันการเงินช่วยตอบโจทย์องค์กรและพนักงาน

ธนาคารไทยพาณิชย์เข้าใจถึงข้อจำกัดของนายจ้างในการมอบสวัสดิการให้กับพนักงาน ขณะเดียวกันก็เข้าใจในความต้องการทางการเงินของพนักงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงชีวิต จึงจัดทำแพ็คเกจสวัสดิการทางด้านการเงินให้เป็น Solution สำหรับองค์กรที่ใช้บริการบัญชีเงินเดือน (SCB Payroll) เพื่อมอบเป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน โดยไม่เป็นภาระขององค์กร อีกทั้งพนักงานจะได้รับสิทธิพิเศษและอัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่าสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมทั้งมอบทางเลือกในการจัดการปัญหาความต้องการเงินยามฉุกเฉิน และห่างจากวงจรหนี้นอกระบบ        

แนะนำนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทันในยามฉุกเฉินโดย SCB Payroll Solution

ธนาคารไทยพาณิชย์จึงหา Solution ที่จะให้พนักงานสามารถบริการจัดการเงินได้ดีขึ้น และมีเงินใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน โดยไม่ได้เป็นรูปแบบ “ปล่อยกู้ยืม” ซึ่งมีขั้นตอนในการพิจารณาโดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จึงเกิดเป็นบริการ “มีตังค์” ที่ปฏิวัติวงการบัญชีเงินเดือน (Payroll) ด้วยบริการ “เบิกเงินเดือนล่วงหน้า” (On-Demand Access Wages) โดยถือเป็นธนาคารแรกในไทยที่เปิดตัวบริการรูปแบบดังกล่าว

มีตังค์คืออะไร?

“มีตังค์” เป็นนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ที่ริเริ่มโดย Digital Ventures บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ เป็น Solution สำหรับองค์กรที่ใช้บริการจ่ายเงินเดือนผ่านระบบ SCB Payroll  ที่ต้องการมอบเป็นสวัสดิการให้พนักงานสามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าได้ง่ายๆ ผ่าน SCB Easy App นวัตกรรมนี้จะช่วยแก้ปัญหาไม่มีเงินสำรองใช้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นทางเลือกใหม่ช่วยปลดล็อคปัญหาเมื่อพนักงานต้องการใช้เงินฉุกเฉิน โดยไม่ต้องพึ่งหนี้นอกระบบ

พนักงานสามารถเบิกเงินได้สูงสุด 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน โดย SCB ออกแบบระบบให้ช่วยคำนวณจำนวนเงินสูงสุดที่เบิกได้ ณ วันที่เรียกใช้เป็นรายบุคคลโดยอัตโนมัติ ด้วยยอดเงินไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือนหรือแล้วแต่บริษัทกำหนด โดยเบิกได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน SCB Easy โดยบริษัทมีสิทธิ์คัดเลือกพนักงานที่สามารถใช้บริการ “มีตังค์” ได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ต้องย้ำชัดๆ ว่า การเบิกเงินดังกล่าวไม่ใช่การกู้เงินหรือใช้บริการสินเชื่อ จึงไม่มีดอกเบี้ย แต่มีค่าธรรมเนียมเบิกเงินเดือนล่วงหน้า 20 บาท ต่อการเงินเบิกเงินจำนวน 1, 000 บาท 

สำหรับกระบวนการจ่ายเงิน ธนาคารจะเป็นผู้สำรองจ่ายให้แก่พนักงานที่ทำรายการเบิกล่วงหน้า และเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าแรงของบริษัท ธนาคารจะหักเงินตามจำนวนที่ทำการเบิกไปจริงโดยอัตโนมัติ บริษัทและพนักงานไม่ต้องทำเรื่องติดต่อกับธนาคารให้วุ่นวายเหมือนกับการขอสินเชื่อ อีกทั้งองค์กรยังไม่มีต้นทุนจากการให้สวัสดิการนี้กับพนักงานเลย เพราะธนาคารไทยพาณิชย์ให้วงเงินเกินบัญชี (OD) แก่องค์กรจำนวน 30 วัน เพื่อบริการ “มีตังค์” โดยเฉพาะ ดังนั้นองค์กรและพนักงานจึงมีแต่ได้กับได้

คุณอรพงศ์ เทียนเงิน ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักถึงแนวนโยบายการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหลังจากที่พบว่ามนุษย์เงินเดือนไทยได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น เงินเดือนใช้จ่ายไม่พอในบางเวลาและไม่สามารถเข้าถึงบริการอย่างสินเชื่อและบัตรเครดิตจได้ จึงต้องใช้บริการเงินกู้นอกระบบที่ส่งผลเสียทั้งกับตัวผู้กู้ยืมและระบบเศรษฐกิจไทย จึงเป็นที่มาของการพัฒนา “มีตังค์” ให้เบิกเงินสดล่วงหน้าตามวันที่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

วิธีการใช้บริการ “มีตังค์”

สำหรับผู้ที่ใช้บริการ “มีตังค์” ต้องเป็นพนักงานในบริษัทที่ใช้บริการ SCB Payroll Solution และได้รับอนุมัติจากบริษัทให้สามารถใช้บริการนี้ได้

การใช้งานเริ่มต้นจากการเข้า SCB Easy App แล้วเลือกเมนู “ธุรกรรมของฉัน”

เลือกเมนู “มีตังค์” หากเข้าครั้งแรกให้ดำเนินการสมัครตามขั้นตอน

พนักงานสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือและจำนวนเงินที่นำออกไปแล้วได้ที่เมนู “มีตังค์”

เมื่อพนักงานสามารถทำธุรกรรมด้วยตัวเองนับเป็นการอำนวยความสะดวกทุกฝ่าย พนักงานสามารถเบิกเงินนอกเวลาทำงาน ไม่ต้องแบ่งเวลาในชั่วโมงทำงานไปติดต่อกับฝ่ายบัญชีหรือธุรการ ส่วนบริษัทก็สามารถยกกระบวนการด้านการเบิกค่าใช้จ่ายออกจากความรับผิดชอบได้ จึงสามารถมุ่งเน้นทำงานเพื่อสร้างคุณค่าได้มากกว่าเดิม

ตัวอย่างและเสียงสะท้อนจาก Partner ที่ใช้งาน “มีตังค์” ในองค์กรจริง

ปัจจุบัน “มีตังค์” เริ่มให้บริการแล้วกับ 2 บริษัทชั้นนำ ได้แก่ วิลล่ามาร์เก็ท และ อำพลฟูดส์ ภายใต้ความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารไทยพาณิชย์จึงพร้อมลุยตลาดบัญชีเงินเดือนอย่างเต็มสูบ โดยชูจุดเด่น SCB Payroll Solution ด้วยแพ็คเกจผลิตภัณฑ์และบริการที่แตกต่าง สร้างสรรค์จากความเข้าใจที่แท้จริง ตอบโจทย์ทั้งมิติการบ

คุณพิศิษฐ์ ภูสนาคม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วิลล่า มาร์เก็ท เจพี จำกัด หนึ่งในบริษัทที่นำ “มีตังค์” มาเป็นบริการให้กับพนักงาน กล่าวว่า ปัจจุบัน วิลล่า มาร์เก็ท มีพนักงานในการดูแล 1,200 คน และกำลังมุ่งไปสู่ Digital Transformation อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกจำเป็นต้องพึ่งพาบุคลากรเพื่อบริการลูกค้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การมีสวัสดิการที่ดี ดูแลความสุขของพนักงานจึงจำเป็นเพื่อให้เขาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่ง “มีตังค์” นับเป็นการต่อยอดนวัตกรรมที่ตรงความต้องการ เพราะอันที่จริงแล้ว พนักงานไม่ได้ต้องการเงินกู้ยืมจำนวนสูงนัก อีกทั้งหากมีระบบเบิกเงินใช้ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เขาวางแผนทางการเงินจากเงินเดือนของตัวเองได้ง่ายขึ้น

ดร. เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด อีกหนึ่งบริษัทที่นำ “มีตังค์” ไปให้บริการแก่พนักงาน กล่าวว่า ปัจจุบันเราดูแลพนักงานกว่า 1,300 คน ซึ่งสวัสดิการเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเงินทอง แม้จำนวนไม่มากแต่หากขาดไปก็เป็นกังวลจนบั่นทอนการทำงานได้ ซึ่ง “มีตังค์” ที่พนักงานสามารถเบิกเงินล่วงหน้าผ่าน SCB Easy ได้ตลอดเวลาที่ต้องการนั้นถือเป็นการบรรเทาปัญหาดังกล่าว และช่วยให้พนักงานตั้งใจกับงานได้มากขึ้น

สรุป

“มีตังค์” เป็นหนึ่งในบริการพิเศษของ SCB Payroll Solution ที่มอบให้กับพนักงานขององค์กรที่ใช้บริการจ่ายเงินเดือนผ่านระบบของไทยพาณิชย์ เพื่อช่วยลดภาระของนายจ้างทางด้านการบริหารสวัสดิการเบิกเงินล่วงหน้า นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยนายจ้างดูแลวินัยทางการเงินของพนักงาน ธนาคารมีการส่งรายงานการเบิกจ่ายให้นายจ้างทุกเดือน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาของพนักงานอย่างทั่วถึง และให้ความช่วยเหลือได้ในทันท่วงที นอกเหนือจาก มีตังค์ ธนาคารยังมีแพ็คเกจสวัสดิการทางการเงินที่มอบให้กับพนักงานขององค์กรอย่างครบครัน อาทิ เงินฝาก สินเชื่อ ประกันชีวิต และบัตรเครดิต ที่ให้สิทธิพิเศษเหนือกว่าทั้งดอกเบี้ยพิเศษ และโปรโมชั่นเฉพาะกลุ่ม ด้วยแนวคิด รับเงินเดือนกับ SCB เรื่องดีจะตามมา

#scbมีตังค์ #มีตังค์ทันทีไม่ต้องรอสิ้นเดือน #scbpayroll #รับเงินเดือนผ่านscbเรื่องดีจะตามมา

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...