ถอดบทเรียนจาก Shopee ‘ปลาไว’ แห่งโลก E-Commerce | Techsauce

ถอดบทเรียนจาก Shopee ‘ปลาไว’ แห่งโลก E-Commerce

การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ส่งผลกระทบในหลายธุรกิจ แต่ธุรกิจหนึ่งที่เติบโตเป็นอย่างมากก็คือ E-Commerce โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ที่มีทั้งผู้แข่งขันหลายรายเข้ามาเพื่อคว้าโอกาสจำนวนมาก โดยในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้เล่นรายหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็น ‘ปลาไว’ มองเห็นช่องว่างทางการตลาดและใช้กลยุทธ์ถูกทางจนกลายเป็น E-Commerce ระดับต้นๆของไทยก็คือ Shopee ลองมาดูว่า Shopee ทำอย่างไรในการบุกสู่ตลาดนี้

2018 เรียกได้ว่าเป็นปีทองของ E-Commerce ใน SEA นอกจากพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้งานอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังมีการผลักดันด้าน E-payment ของภาครัฐ และการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ของ E-Commerce โดย ETDA ได้เปิดเผยว่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทยในปี 2018 มีมูลค่าประมาณ 3,058,987.04 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อน 8% นับว่ามีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับแรกของอาเซียน ทั้งนี้ในปี 2019 ก็ยังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ด้วยความพร้อมของ (Market Size) และโอกาสการเติบโต (Growth Potential) นี่เอง ที่ดึงดูดให้ E-Commerce รายใหญ่มากมายหันมาขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย รวมถึง Sea Group เจ้าของแพลตฟอร์ม Shopee ด้วยเช่นกัน

มองหา ‘Market Gap’ เพื่อบุกสู่ตลาด

แม้ตลาด E-Commerce ประเทศไทยจะมีโอกาสเติบโตสูง แต่ก็มีผู้เล่นรายใหญ่อยู่หลายราย Shopee เรียกได้ว่าเป็นผู้เล่นน้องใหม่ที่ต้องทำการบ้านหนัก ในการเข้ามาบุกตลาด โดย Shopee ได้มีการวิจัยตลาด E-Commerce ในไทย และพบว่า แพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกใช้ในการซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ใช่ E-Market Place แต่เป็น Social Media เช่น Facebook Instagram และ Line นอกจากนี้ยังพบว่า Customer Journey ส่วนใหญ่ยังเกิดขึ้นบนสมาร์ทโฟน และประเทศที่ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนมากเป็นอันดับแรกใน SEA ยังเป็นประเทศไทยอีกด้วย

นี่ทำให้ Shopee เห็น Market Gap ที่ยังไม่ได้รับการเต็มเติม และตัดสินใจเข้าเจาะตลาดในประเทศไทยในฐานะ Social Commerce ด้วยกลยุทธ์ 4 ด้าน

กลยุทธ์ 4 ด้านในการสร้างฐานลูกค้า

  1. Mobile First: Shopee ออกแบบแพลตฟอร์มให้เหมาะสำหรับการช้อปบนสมาร์ทโฟนซึ่งแตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นที่เริ่มจากการสร้างแพลตฟอร์มบน PC     
  2. Social Integration: ผู้บริโภคชอบแชทระหว่างการช้อป ดังนั้น Shopee จึงเริ่มฟังก์ชันแชท สอบถามข้อมูลสินค้า กับผู้ขายบนแพลตฟอร์ม Shopee ได้โดยไม่ต้องเข้าหลายแอปพลิเคชั่นให้ยุ่งยาก
  3. Localization: ใน 7 ประเทศที่ Shopee ดำเนินธุรกิจอยู่จึงมีทีม Operate เฉพาะของตัวเอง ซึ่งทำ Shopee สามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคในแต่ละประเทศ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
  4. Integrated Logistic & Payment: อีกหนึ่ง Pain Point ของผู้บริโภคในไทยที่พบคือ Customer Journey รูปแบบเดิมๆ ของผู้บริโภคที่นิยมใช้ Social Media ในการซื้อสินค้า จำเป็นใช้แอพพลิเคชั่นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Facebook หรือ Instagram เพื่อค้นหาสินค้า จากนั้นจึงพูดคุยกับแม่ค้าผ่าน Line เมื่อตัดสินใจซื้อและชำระเงินก็ต้องใช้แอพลิเคชั่น Mobile Banking และเวลาที่ต้องการติดตามพัสดุก็ต้องเข้าอีกแอพพลิเคชั่นหนึ่ง นี่ทำให้ Shopee ตัดสินใจสร้าง Customer Journey ที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าเดิม โดยเพิ่มฟังก์ชันการชำระเงินและการติดตามพัสดุเข้าไปในแพลตฟอร์ม ครบ จบ ในแอพพลิเคชั่นเดียว    

ขยายฐานผู้ใช้สู่ SMEs และแบรนด์ใหญ่

การขยายฐานผู้ใช้งานมีความสำคัญต่อการเติบโตมาก ยิ่งจำนวนผู้ใช้งาน (User) ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีจำนวนมากขึ้นเท่าไหร่ แพลตฟอร์มก็ยิ่งน่าใช้ในสายตาผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้น

ระยะแรก Shopee มีจุดแข็งในการซื้อขายสินค้าแบบ C2C (Customer to Customer) โดยมีผู้ขายระดับบุคคลทั่วไปจำนวนมาก เช่น แม่บ้าน พนักงานประจำ นักศึกษา ที่ต้องการสร้างรายได้เสริม ทำให้ลูกค้า Shopee ได้เจอสินค้าที่หลากหลายเสมือนเดินเลือกซื้อของอยู่ในสวนจตุจักรหรือตลาดนัดรถไฟ แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา Shopee มองหาโอกาสการขยายตลาดใหม่ๆ ประกอบกับธุรกิจ SMEs เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ช่วย SMEs ในการขยายฐานลูกค้า เราจึงได้เห็นร้านค้า SMEs บน Shopee มากขึ้น

ทั้งนี้ Shopee ยังจัดทำคอร์ส Shopee University ขึ้น เพื่อลงพื้นที่สอนการใช้งาน E-Commerce แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ร้านค้า SMEs สามารถก้าวข้ามข้อกำจัดด้านการจัดส่งและการเข้าถึงลูกค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจจำหน่าย ‘ปลาร้า’ แห่งหนึ่ง สามารถเพิ่มยอดขายได้ถึงสองเท่าหลังจากได้เปิดช่องทางออนไลน์ SMEs ในเวลาสามเดือน จนสุดท้ายติดลมบนพัฒนาจนกลายเป็นผู้ส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์

สุดท้ายไม่ใช่เพียงฝั่งผู้ขายเท่านั้นที่จะเชื่อมเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ผู้บริโภคยังสามารถค้นพบสินค้าใหม่ๆ ที่ตรงความต้องการได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทาง

ในปัจจุบันความต้องการของผู้ใช้ E-Commerce ไม่หยุดอยู่เพียงแค่การซื้อสินค้า แต่ยังชอบที่จะได้รับ ‘ประสบการณ์’ เสมือนเดินเลือกซื้อของในชีวิตจริง ดังนั้น E-Commerce จึงต้องปรับตัวสู่ Experiential E-Commerce ที่ผู้ซื้อสามารถค้นพบสินค้าใหม่ที่ตนไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้ความเพลิดเพลินจากกิจกรรมเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนและผู้คนในแวดวงของตนเอง

ก้าวต่อไปของ Shopee คือการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งานด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ

  • Gamification: เช่น Shopee Quiz ที่นำเซเลบริตี้มาดำเนินรายการ ชวนผู้ใช้บริการพร้อมเพื่อนๆ มาเล่นเกมตอบคำถามชิงรางวัลต่างๆ เพื่อนำมาแลกส่วนลด
  • Window Shopping: การทำให้ร้านค้าเดินเข้าไปหาผู้บริโภค โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big Data เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคแบบรายคน และนำเสนอกลุ่มสินค้า ตลอดจนโปรโมชั่นสำหรับแต่ละคน ได้อย่างเหมาะสม
  • การปรับตัวสู่ Experiential E-Commerce ส่งผลให้ระยะเวลาการใช้งานที่ผู้บริโภคใช้บน Shopee ยาวนานขึ้น และยิ่งผู้บริโภคใช้เวลาบนแพลตฟอร์มนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสซื้อสินค้ามากเท่านั้น

ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ‘ปลาไว’ ที่คล่องตัวจะกิน ‘ปลาช้า’ และถึงแม้ ‘ปลาไว’ จะไม่ใช้ผู้เล่นที่กระโดดเข้ามาในตลาดเร็วที่สุด ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ หากว่องไวในการปรับตัวเพื่อคว้าโอกาสในแต่ละสภาวะตลาด อย่าง Shopee

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...