ปี 2558 ที่ผ่านมา Startup ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก 1 ในทีมที่ผ่านเข้าร่วมโครงการ Dtac Accelerate Batch 3.0 และเป็นทีมที่ชนะคือ Skootar ผู้พัฒนาแพล็ตฟอร์มเพื่อบริการขนส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์สำหรับธุรกิจ ซึ่งมีโอกาสไปดูงานที่ Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับอะไรมามากมาย Techsauce เลยขอมาพูดคุยกับทางทีมเพื่อที่จะได้มาแชร์สิ่งที่ได้ไปเจอที่นั่นว่าเป็นอย่างไร และสร้างแรงบันดาลใจให้กับการทำ Skootar หลังจากนี้อย่างไรบ้าง
ทีม Skootar ที่ Techsauce ได้พูดคุยครั้งนี้คือด้วยคือ บอย - สุวัฒน์ ปฐมภควันต์ และ โก้ - ม.ล.กมลพฤกษ์ ชุมพล
ไอเดียตั้งแต่เริ่มต้น มาตั้งแต่การไปร่วมแข่งที่งาน AngelHack 2014 ช่วงนั้นยังเป็น Idea Stage แล้วเราชนะงานนั้น ก็เลยมาทำต่อจนสำเร็จ โดยเริ่มเปิดให้บริการจริงๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 สิ่งที่เราให้บริการก็ยังเป็นสิ่งเดียวกับที่เราคิดมาตั้งแต่แรก โดยมาจากที่ทางผมทำธุรกิจอยู่ 2-3 อย่าง แล้วเราก็เห็น Pain Point ที่เราควรจะเข้ามาแก้ไข ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่มีคู่แข่งเลยในตลาด แต่พอหลังจากเราเปิดมา คู่แข่งตามมาเพียบเลยประมาณ 2-3 ราย และกำลังจะเปิดตัวอีกหลายๆ เจ้า โดยมีทั้งไทยและเทศ เรามองว่าการที่มีคู่แข่งเยอะเป็นเรื่องดี แสดงว่าเมืองไทยมี Potential จริงๆ
เราได้ไปที่นั่น 7 วัน ทางทีมเรามีไป 3 คนและทีมของ dtac Accelerate ไป พร้อมกับไปเจอพี่กระทิงที่ตามไปทำธุระที่นั้นอยู่แล้ว ซึ่งพี่เขาก็เป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาเราไปสถานที่ต่างๆ พร้อมกับเล่าเรื่อง Industry จากประสบการณ์ที่พี่เขามี
ตอนที่รู้ว่าได้ไป เราตื่นเต้นมากๆ ครับ เพราะเราไม่เคยไปที่ Valley เราตื่นเต้นที่จะได้ไปที่บริษัท Tech Startup ใหญ่ๆ ที่เรารู้จัก ซึ่งก็ต้องของคุณทาง Dtac Accelerate ประสานงานกับคนไทยที่ร่วมงานกับบริษัทใน Valley เพื่อให้เข้าไปเยี่ยมชมและพูดคุยในบริษัทนั้นๆ
ที่แรกที่เราไปก็คือ Google Plex พี่กระทิงก็พาเข้าไป เพราะพี่เขาเป็น Ex-Googler ก็พาเล่าเรื่อง เล่าสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณสำนักงาน ได้ไปคุยกับคนที่เคยมาเปิด YouTube ในประเทศไทยที่กลับไปทำ Project ใหม่ที่นั่นแล้ว ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานกัน ได้ดู Culture ในการทำงานของเขาว่าทำงานกันอย่างไรบ้าง โดยตลอดทางพี่กระทิงก็เล่าเรื่องลักษณะการทำงานไปตลอดทาง
หลังจากนั้นก็ไปที่ Facebook ซึ่งเป็นที่ๆ เราตื่นตาตื่นใจมาก เพราะอย่าง Google เองเราจะรู้สึกว่าดูเฉยๆ มันเหมือนเป็นมหาวิทยาลัยมีหลายๆ ตึก แต่ Facebook เราตื่นตามาก อาจเป็นเพราะเป็นบริษัทที่เพิ่งจะสร้างขึ้นมา มาทีหลัง ดังนั้นก็เลยต้องทำให้มันดูน่าสนใจกว่า เราได้เจอคนที่ทำงาน Facebook 3 คน พาเดินดูสำนักงาน ซึ่งตึกมีสองตึกใหญ่ ตึกที่เราไปดูเป็นตึกใหม่ที่เคยเห็นจากวิดีโอที่ Mark Zuckerberg เคยถ่ายแล้วแชร์ขึ้นบน Facebook ส่วนตัวของเขา เป็น Office ที่ไม่มีการกั้นห้อง ทุกที่ทุกโต๊ะเป็น Open Space ให้คนสามารถเดินไปหากันได้ทุกที่แบบง่ายๆ ไม่ต้องไปเคาะประตูเพื่อเข้าไปหาผู้บริหาร มีห้องประชุมทำอยู่ตามมุมต่างๆ และเขามีการจ้าง Artist แบบ Full-Time ร่วมๆ 10 คน ซึ่งจะคอยมาตกแต่งหรือ Paint งานและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยมี Artist อยู่คนนึงที่ Mark จ้างมาตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้ง Facebook โดยตอนนั้นเขาได้รับหุ้นของ Facebook ไปส่วนหนึ่งซึ่งราคาหุ้นตอนนี้ไปไกลมากแล้ว
นอกจากนั้นเราก็ข้ามไปอีกฝั่งที่เป็นเหมือน Small Town หรือเมืองเล็กๆ เมืองนึงที่มีทุกอย่าง เช่น ร้านหมอฟัน ร้านเกม โรงอาหาร สนามเด็กเล่น บาร์ผับ ด้วย Philosophy ของ Facebook ที่ต้องการให้คนใน Facebook ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอก ให้ใช้ชีวิตอยู่ในนั้นได้อย่างต้องการ อย่างคนไทยที่ทำงานใน Facebook ก็บอกว่าวันจันทร์ถึงศุกร์ เขาไม่ได้ใช้เงินเลย เพราะบ้านที่เขาเช่า ก็จะมี Shuttle Bus จาก Facebook ไปรับ มาถึงก็กินข้าวฟรี 3 มื้อ ทุกอย่างฟรีหมด ช่วงที่เราไป ทุ่มสองทุ่ม ก็ยังมีคนอยู่ที่นั่นกันอยู่ ยังไม่กลับบ้าน
และป้าย Facebook ที่ใครไปที่นั่นต้องไปถ่าย จะมีเรื่องราวเล็กๆ อยู่ ด้านหน้าจะเป็นป้าย Facebook แต่ด้านหลังจะเป็น Sun Microsystem ที่โดนกลับด้าน ซึ่งเป็นป้ายเก่าของเจ้าของตึกเดิม ก็สงสัยกันว่า Facebook รวยขนาดนี้ทำไมไม่เปลี่ยนหล่ะ สุดท้ายทางคน Facebook ที่นั่นก็บอกว่า เราอยากให้พนักงานหรือคนที่มาถ่ายรูปได้รู้ว่า ถ้าตัวเองเป็น Tech Startup แต่ไม่ยอมปรับเปลี่ยน ไม่ยอม Adapt ตัวเอง อีกไม่นานก็จะกลายเป็น Sun
วันรุ่งขึ้นเราไปแวะที่ Apple โดยที่นั่นจะเป็นอะไรที่ Secretive มากทุกอย่างเป็นความลับ จะไม่ได้เข้าไปเลยเว้นแต่เข้าไปที่ Shop ด้านหน้าที่ขายของที่ระลึกที่มีขายที่เดียว หน้าต่างทุกบานของบริษัทถูกปิดหมด เนื่องจากส่วนหนึ่งเขาเป็น Hardware Company จะไม่ให้เห็นอะไรทุกอย่างเพราะหากเห็นแล้วมันสามารถจินตนาการไปได้ว่าจะผลิตอะไรออกมาในอนาคต ซึ่งก็จะส่งผลกับบริษัทแน่นอน เราได้เจอกับพนักงานไทยที่ทำงานใน Apple ซึ่งเราก็ได้แต่จินตนาการตามไปว่าเมื่อเข้าไปที่สำนักงานแล้วจะมีการแบ่งเป็นห้องต่างๆ ที่ทุกห้องมีมูลี่ปิดไม่ให้ใครเห็น คนจะไม่ถามกันว่ากำลังทำอะไรอยู่ เพราะบอกอะไรไม่ได้เลย คนที่มาคุยกับเราอยู่ทีมทำกล้อง, ทำ Siri ที่ทำอยู่ 5 คน เราแอบลองถามว่าเสียง Siri เป็นใคร เขาบอกว่าเป็นความลับสุดยอด บอกไม่ได้จริงๆ ถามเรื่องรถยนต์ที่จะเอามาแข่งกับ Tesla เขาก็บอกได้แค่ไม่รู้ ไม่รู้จะมีจริงหรือเปล่า แต่สิ่งที่เราได้ก็คือ เราถามเรื่องเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการทำงานที่นั่นว่าเป็นอย่างไร บริษัทใหญ่ๆ เขาคุมการทำงานอย่างไรให้มีผลิตภัณฑ์ออกมาได้ทุกๆ ปี ทุกอย่าง optimize และยังเป็น Secretive ด้วย ซึ่งเราก็ได้บางอย่างเพื่อมาปรับการทำงานด้วย
แล้วเราก็ไปที่ Twitter ต่อ ซึ่งทาง Dtac Accelerate ติดต่อคนไทยที่ทำงานอยู่ ก็พาไปที่สำนักงานที่อยู่ใจกลางซานฟรานเลย ว่ากันว่าโรงอาหารใน Twitter เจ๋งเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดา Tech Startup ทั้งหมด เหมือนเราอยู่บุฟเฟ่ต์โรงแรม และสิ่งที่เจ๋งจะมี Rooftop ที่สามารถขึ้นไปมองรอบๆ เมืองซานฟรานได้ แต่ที่นี่ไม่สามารถเข้าไปที่ Working Area ได้
จากนั้นก็เป็น AirBnb ซึ่งตอนแรกเราเข้าไปบริเวณก่อนถึงที่ตั้งสำนักงานนึกว่ามาผิดที่ เพราะมันเป็นย่านที่เป็น Homeless อยู่เยอะมาก เหมือนไม่ใช่พื้นที่ที่จะตั้งบริษัท พอเข้าไปที่ตึกเหมือนอยู่คนละโลกเลย ว่ากันว่าสำนักงานของ AirBnb สวยที่สุดในตอนนี้ เข้าไปเป็นตึกล้อมรอบ มีสวนแบบ Vertical Garden โดยคนไทยที่ทำงานใน AirBnb บอกว่าสำนักงานที่นี่เป็น Design Lead นะ ไม่ได้เป็น Technology Lead เพราะ 1 ใน Co-Founder เป็น Designer แล้วธุรกิจของเขาเป็นเรื่องการเช่าห้องแบบระยะสั้น ด้วยเหตุนี้เขาเลยเอาห้องที่มาปล่อยให้บริการบน AirBnb มาสร้างเป็นห้องประชุม ด้วยการเลียนแบบทุกอย่าง โดยบอกที่หน้าห้องว่าเป็นห้องของใคร อยู่ที่ไหนของโลก ที่ทำขึ้นมาเพื่อให้รู้สึกว่าคนที่เข้าพักเขารู้สึกอย่างไรเมื่อมาใช้บริการ
สิ่งที่เราประทับใจมากกว่าการ Design นั่นคือ
AirBnb จะไม่มี Canteen แต่มี Pantry ตามมุมต่างๆ คนจะไปกินอะไรเมื่อไหร่ก็ได้ คือทำลักษณะให้เหมือนอยู่บ้าน เปิดเพลงผ่าน Bluetooth Speaker ง่ายๆ ทาขนมปังทานกัน และก็จะมี Museum เล็กๆ ที่บอกเล่าถึงที่มากว่าจะมาเป็น AirBnb ว่ามีแนวคิดมาอย่างไร พี่กระทิงก็เล่าให้ฟังว่า มีช่วงนึงที่ AirBnb ทำ Bootstrap (เอาเงินตัวเองมาทำธุรกิจ) แล้วเริ่มติดขัดมาก จนกระทั่งต้องขายซีเรียลที่มีหน้ากล่องเป็นโอบาม่าและแมคเคน และเขาก็ยังเก็บกล่องเอาไว้มาไว้ที่ Museum ของเขา เพื่อให้ได้รู้ว่ากว่าที่บริษัทเขาจะโตระดับมูลค่า 26000 ล้านเหรียญสหรัฐภายใน 7-8 ปี เขามีที่มาอย่างไร
บอย - ขอตอบว่า AirBnb เพราะก่อนที่จะมาทำ Skootar ได้ทำแนวๆ เฟอร์นิเจอร์ และ Interior Design เลยรู้สึกอินกับ AirBnb มากเป็นพิเศษ รวมไปถึง Culture ในการทำงานนี้ด้วย
โก้ - เหมือนกันครับ AirBnb โดยผมมองการสร้าง Culture รอบด้านกว่าที่บริษัททั่วๆ ไป เพราะเขามองตั้งแต่การเลือกคน การตกแต่งสำนักงาน Facility ต่างๆ ทุกอย่างมัน Guide ไปในทางเดียวกัน ซึ่งผมมองว่าเขาคิดมาอย่างลึกซึ้งมากถึงทำได้ขนาดนี้ ถ้าไม่มี Objective ชัดเจนคงไม่ลงทุนลงแรงในการสร้างสำนักงาน สร้าง Culture ขนาดนี้แน่ๆ และเราก็จะเห็นว่าบริษัทพวกนี้มันโตมาไล่ๆ กัน การสร้าง Culture แต่ละแห่งจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย
บอย - ทำที่ไหน ผมก็ยังเลือก AirBnb อยู่เพราะดูแล้วน่าจะเป็นสำนักงานที่อยู่แล้วน่าจะสบายใจที่สุด แต่ถ้าถามว่าที่ๆ เราอยากเห็นมากที่สุดคงต้องเป็น Uber เพราะมันเข้ากับทาง Skootar แบบตรงๆ มีโมเดลคล้ายๆ กัน เสียดายที่รอบนี้ติดต่อไม่ทัน แต่คิดว่ารอบหน้า ทีมที่ชนะน่าจะได้ไปที่ Uber
โก้ - เลือกไม่ถูกครับ AirBnb ก็น่าทำแต่ก็ไม่รู้ว่าจะเหมาะกับเขาไหม Uber ก็น่าสนใจนะครับเพราะได้อ่านข่าวมีการดึงคนด้าน Finance ไปร่วมงานเรื่อยๆ เพราะโดยปกติบริษัท Tech Startup ไม่น่าจะดึงคนมาได้ขนาดนี้
บอย - เปลี่ยนไปไหม สำหรับผมแล้ว ตอนแรกเราให้ความสำคัญด้าน Culture ของบริษัท แต่ก็ยังน้อยกว่าเรื่อง Business Model ที่เรากำลังพัฒนาอยู่ เพราะในช่วงนั้นทีมเราก็ยังค่อนข้างเล็ก แต่หลังจากนั้นเราเริ่มรับคนมาร่วมทีมเพิ่ม จาก 4 คนเป็น 13 คนใน 3-4 เดือน ด้วยจำนวนที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว เราก็เริ่มให้ความสำคัญกับ Culture มากขึ้น เราต้องสร้างมันตั้งแต่ยังเล็ก ไม่ใช่รอมันใหญ่แล้วค่อยมาสร้างอีกทีนึง
ตลาดมี Pain ที่รอให้คนมาแก้เยอะ มันเลยมีคนมาช่วยกันทำ มาแข่งกันเยอะ ในอนาคตมันคงจะมีการแข่งต่อไปจนอาจจะมีการควบรวมกิจการจนเหลือเจ้าใหญ่ๆ ไม่กี่เจ้า เพื่อ Dominate ตลาดนี้ และจักรยานยนต์จะยังคงเป็น 1 ในพาหนะหลักในกรุงเทพฯ อยู่ดี
เราก็มองอยู่เหมือนกันครับ แต่แผนยังไม่ชัดเจน รอบๆ SEA เราก็อยากไปครับ แต่เราขอประเมินเกี่ยวกับคู่แข่งของแต่ละตลาดแต่ละประเทศนั้นก่อนครับ ส่วนประเทศที่อยู่นอก SEA เราอยากไปไต้หวัน แม้จะมีคู่แข่งอยู่แต่จากในประเทศเรา เราก็พิสูจน์ได้ว่า เราก็สามารถสู้เขาได้ แต่ในประเทศไทยเราน่าจะมีการเพิ่มบริการอื่นๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น ในลักษณะ Vertical ที่หลากหลายมากขึ้น
ได้ฟังประสบการณ์แบบนี้แล้วก็อยากจะไปกับเขาด้วยทันที Startup คนไหนที่สนใจอยากไปเหมือนกับทีม Skootar รอฟังข่าวดีจาก Dtac Accelerate เร็วๆ นี้นะครับ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด