เจาะกระแส Smart Wearable เทคโนโลยีที่อยู่เคียงคู่สุขภาพ | Techsauce

เจาะกระแส Smart Wearable เทคโนโลยีที่อยู่เคียงคู่สุขภาพ

Smart Wearable ถูกนำมาใช้ในหลายมิติของวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์การกีฬา อุปกรณ์อัจฉริยะเหล่านี้ สามารถยกระดับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการบางประเภท ซึ่งทำให้ต้องเร่งปรับตัว

ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา Smart Wearable ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากยอดขายในประเทศไทยที่สูงขึ้นเฉลี่ย 23% ต่อปี โดยเฉพาะกลุ่มอุปกรณ์ประเภทเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีการพัฒนาในเรื่องของความแม่นยำ และประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน Smart Watch สามารถวัดการวิ่งได้ภายใน 5 วินาทีที่เริ่มออกวิ่ง ซึ่งเร็วขึ้นกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนที่ต้องใช้เวลาถึง 50 วินาที ด้านความหลากหลายทั้งในด้านรูปแบบสินค้า และค่าที่วัดได้ ก็ดีขึ้นเช่นกัน Smart Wearable นั้น ไม่ใช่แค่ Smart Watch เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจเท่านั้น แต่รวมถึง เสื้อผ้าที่ใช้ใยพิเศษในการทอเพื่อวัดปฏิกิริยาทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของผู้สวมใส่ หรือชุดชั้นในที่สามารถตรวจหามะเร็งเต้านมได้ ในด้านความหลากหลายอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น โหมดไตรกีฬาใน Smart Watch ที่รวมกีฬาทั้ง 3 ประเภทไว้ในโหมดเดียว ฟังก์ชันนี้สามารถตรวจจับการเปลี่ยนชนิดกีฬาของผู้สวมใส่ได้โดยอัตโนมัติ โดยจากการคาดการณ์ของ IDCสถาบันวิจัยด้านการตลาดของสหรัฐฯ ระบุว่า จำนวนการขายอุปกรณ์ Smart Wearable ทั่วโลกจะเติบโตเฉลี่ยสะสมถึง 11.6% ต่อปี จาก 123 ล้านชิ้นในปี 2018 เป็น 190 ล้านชิ้นในปี 2022

ปัจจัยหลัก 3 ประการ ที่ทำให้ตลาด Smart wearable เติบโต 

1) กระแสใส่ใจสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น

2) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 

3) การลงทุนข้ามอุตสาหกรรมของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ในธุรกิจอุปกรณ์ Smart Wearable

ปัจจุบันกระแสการใส่ใจสุขภาพได้รับความนิยมจากสังคมในวงกว้าง จากการประมาณการของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่า ประเทศไทยมีนักวิ่งประมาณ 12 ล้านคน (2016) และคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางภาครัฐ และเอกชนมีการรณรงค์ให้หันมาใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จากการจัดงานวิ่งทั่วประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 500 รายการต่อปี ในปี 2016 เป็น 696 รายการต่อปีในปี 2018 ซึ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกัน ฟิตเนสรายใหญ่อย่าง ฟิตเนส เฟิรส์ท ก็เริ่มขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดครั้งแรกในรอบ 6 ปี รวมถึงแบรนด์ต่างๆ ที่เพิ่มคลาสเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า เน้นการออกกำลังกายเฉพาะ เช่น มวยไทย โยคะ ตอกย้ำความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการออกกำลังกาย

สังคมผู้สูงอายุเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยขยายศักยภาพการเติบโตของตลาด Smart Wearable โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) ระบุว่า จำนวนผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ที่มีแนวโน้มอาศัยอยู่คนเดียวเติบโตเฉลี่ยสะสม 3% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคนในปี 2022 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11 % ของผู้สูงอายุทั้งหมด ทำให้ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ  มีจำนวนสูงขึ้น โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเปิดเผยว่า การเสียชีวิตของผู้สูงอายุจากการหกล้มสูงถึงปีละเกือบ 2,000 ราย ซึ่งการเพิ่ม Features และนวัตกรรมใหม่ๆ ของ Smart Wearable เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนาอุปกรณ์ สอดคล้องกับความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว ซึ่งผู้ใช้ Smart Wearable ในไทยที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนถึง 16.4% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมด และคาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การเข้ามาลงทุนข้ามอุตสาหกรรมของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ในอุตสาหกรรม Healthcare เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลักดันให้ตลาด Smart Wearable เติบโต จากข้อมูลของ CB insights ระบุว่าตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2018 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 10 บริษัทในสหรัฐฯ เช่น Apple, Intel, Alphabet, IBM และอีกหลายบริษัท มีการลงทุนในอุตสาหกรรม Healthcare ทั้งหมด 209 ดีล พบว่าตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปัจจุบัน อุปกรณ์เพื่อสุขภาพถูกลงทุนเป็นอันดับที่ 2 ในตลาด Healthcare รองจากการลงทุนใน Software (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มี.ค 2018) ซึ่งหากดูสถิติจำนวนการลงทุนทั่วโลกในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในหมวดของ Smart Wearable เพื่อการดูแลสุขภาพ จะเห็นได้ว่ามีการเติบโตเฉลี่ยถึง 41% ต่อปี (ตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2016) แสดงถึงความสนใจของบริษัทชั้นนำของโลกที่มีต่ออุตสาหกรรม ซึ่งการลงทุนจากบริษัทเหล่านี้ทำให้ Smart Wearable ขยายขีดความสามารถ และเกิดการแข่งขันทางด้านราคาและคุณภาพ รองรับการออกกำลังกายได้หลายรูปแบบ เปรียบเสมือนเทรนเนอร์ส่วนตัว ที่คอยแนะนำผู้สวมใส่

ทั้งนี้จาก 3 ปัจจัยข้างต้น ส่งเสริมให้รายได้ทั่วโลกของ Smart Wearable ที่ใช้เพื่อการออกกำลังกาย และ Applications ที่เกี่ยวเนี่องมีมูลค่าประมาณ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2015 และคาดว่าจะขยายตัวเป็น 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020

ขณะที่ในอนาคตตลาด Smart Wearable จะมีการพัฒนาไปใน 3 ทิศทางหลัก

1) มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

2) มีคุณสมบัติ และความสามารถสูงขึ้น

3) มีการประมวลผลในPlatform ต่างๆ และสามารถให้คำแนะนำผู้สวมใส่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบที่หลากหลายของ Smart Wearable จะเห็นได้จากความพยายามคิดค้นรูปแบบอุปกรณ์ที่แตกต่าง นอกเหนือจาก Smart Watch/Smart band เช่น Smart footwear รองเท้าจากบริษัท Under Armour ที่สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหว ตั้งแต่การลงน้ำหนัก ปริมาณการเผาผลาญแคลอรี รวมถึงสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในตัวเอง หรือ Smart bra จากบริษัท Microsoft ที่สามารถตรวจคลื่นหัวใจ และรับรู้ถึงความเครียดของผู้สวมใส่ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เก็บได้จากแต่ละส่วนของร่างกาย

คุณสมบัติ และความสามารถสูงขึ้น ของ Smart Wearable พบว่าอนาคต Smart Wearable จะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีการเจาะ/ฝังเข้าไปในชั้นผิวหนัง (Non-invasive) ไม่รบกวนการใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สวมใส่มากเกินไป (Minimal attention) ข้อมูลที่ได้มีการบันทึกอย่างต่อเนื่อง (Continuous data) และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ในหลายระบบ (Interoperability) ปัจจุบันบริษัทต่างๆ พยายามมุ่งพัฒนาประสิทธิภาพของ Smart wearable ทั้ง 4 คุณสมบัตินี้ โดยคาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้

การประมวลผลที่แม่นยำ และการแนะนำผู้บริโภคในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นอีกหนึ่ง Platform ที่คาดว่าจะเห็นได้อย่างแพร่หลาย จากการเชื่อมต่อของระบบ IoT และ AI ทำให้ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์มากขึ้น อาทิ นาฬิกา Xiaomi ที่สามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบของ Percentile ให้คำแนะนำผู้สวมใส่เกี่ยวกับการนอน และกิจกรรมอื่นๆ ระหว่างวันจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ทั้งหมดกว่า 46.2 ล้านคน ยาวนานกว่า 3 ปี จึงทำให้สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้สวมใส่ได้อย่างน่าเชื่อถือ

การพัฒนาของ Smart Wearable จะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมของหลายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจประเภทการผลิต/นำเข้าสินค้า และอุปกรณ์การวัดค่าต่างๆ แบบเดิม อาทิ เครื่องวัดความดัน เครื่องเจาะเลือดวัดปริมาณน้ำตาล รวมถึงลักษณะการให้บริการในโรงพยาบาล ที่อาจมีการจับมือร่วมกันระหว่างบริษัทพัฒนา Smart Wearable เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และยกระดับภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลให้มีความทันสมัย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำหรับ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าอุปกรณ์ Smart Wearable ที่จะขยายสายการผลิต ให้กว้างมากขึ้น จากแค่ Smart Watch/Smart band ให้ครอบคลุมอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถอำนวยความสะดวกและตอบสนองกระแสใส่ใจสุขภาพ อย่าง Sleeping gadget ที่ช่วยให้ผู้สวมใส่นอนหลับสนิทมากขึ้น หรือสายรัดข้อมือสำหรับผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตัวอย่างการพัฒนาอุปกรณ์ในไทย เช่น การพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือนาฬิกาอัจฉริยะ ‘โพโมะ’ ป้องกันเด็กหาย ที่ปัจจุบันวางขายมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เป็นต้น

อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจคือการพัฒนา Compatible applications ที่ใช้ร่วมกับ Smart Wearable ซึ่งเป็นการนำข้อมูลมาต่อยอด วิเคราะห์ และประมวลผล ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ Startup จำนวนมากทั่วโลกให้ความสนใจในการผลิต Apps ชนิดนี้ เช่น FitStar ที่คอยให้คำแนะนำแก่ผู้เล่นโยคะ Lumosity ที่วัดระดับการทำงานของสมองของผู้ใช้ ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยพัฒนาสมองอย่างไร รวมไปจนถึง Apps ส่งเสริมการฝึกสมาธิ และฝึกการตัดสินใจในแต่ละวัน ทั้งนี้ อีไอซี มองว่าการพัฒนา Apps ต่างๆ เป็นโอกาสของกลุ่ม Startup และผู้ประกอบการในการต่อยอดธุรกิจ จากกระแสของ Smart Wearable ได้

ในระยะกลาง การแข่งขันของธุรกิจการบินในอาเซียน, การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ภาคตะวันออก, และบทบาทของเทคโนโลยีในธุรกิจการบิน เป็น 3 ปัจจัยสำคัญที่ควรจับตามอง 1. การแข่งขันในธุรกิจการบินทั้งภายในอาเซียนและเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการขยายฝูงบินมากกว่าเท่าตัวของสายการบิน LCCเพื่อเปิดให้บริการในแต่ละประเทศอาเซียน เช่น ไลอ้อนแอร์กรุ๊ป (ในปัจจุบันมีฝูงบิน 305 ลำ), แอร์เอเชียกรุ๊ป (243 ลำ) และเวียดเจ็ทแอร์กรุ๊ป (62 ลำ) และมียอดจองเครื่องบินล่วงหน้า 494 ลำ, 449 ลำ และ 328 ลำ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี หลายประเทศได้วางแผนขยายหรือเปิดสนามบินแห่งใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจการบิน ซึ่งทำให้ airport time slot เพิ่มขึ้น เช่น สนามบินสิงคโปร์ชางงี T4 ในสิงคโปร์, สนามบินแม็กแทน-เซบู T2 ในฟิลิปปินส์, และสนามบินอู่ตะเภาในไทย

สาเหตุอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการเสนอบริการของสายการบิน LCC และ FS ที่มีความทับซ้อนและแข่งขันรุนแรง โดยสายการบิน LCC เริ่มมีการเสนอผลิตภัณฑ์ที่เจาะกลุ่มลูกค้าสายการบิน FS มากขึ้น เช่น การขายตั๋วเครื่องบินแบบรวมบริการเสริม (bundled fare) การให้บริการในเส้นทางบินระยะกลางและขยายไปสู่เส้นทางระยะไกล (ใช้เวลา 6 - 12 ชม.) และการให้บริการที่นั่งโดยสารในชั้นประหยัดพรีเมียม (premium economy) และชั้นธุรกิจ ในขณะเดียวกัน สายการบิน FS ได้ปรับตัวด้วยการนำรูปแบบการให้บริการของสายการบิน LCC มาปรับใช้ เช่น การขายตั๋วโดยสารแบบแยกรายการบริการเสริม อีกทั้ง ได้เริ่มจัดตั้งกิจการร่วมค้า (joint venture) ในแต่ละเส้นทางบินกับสายการบิน FS อื่นๆ เพื่อลดการแข่งขันระหว่างสายการบิน FS ด้วยกันเอง และช่วยขยายเส้นทางในการให้บริการ ซึ่งทำให้สามารถแข่งขันกับสายการบิน LCC ได้ดีขึ้น เช่น ความร่วมมือระหว่างกลุ่มลุฟท์ฮันซากับสายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ในเส้นทางยุโรป-ญี่ปุ่น, ความร่วมมือระหว่างสายการบินเจแปนแอร์ไลน์กับสายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ในเส้นทางญี่ปุ่น-จีน เป็นต้น การจัดตั้งกิจการร่วมการค้า จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

  1. การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกใน จ.ระยองซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)จะช่วยขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินในไทยและลดความแออัดในการใช้สนามบินในกรุงเทพมหานคร โดยสนามบินอู่ตะเภาจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคน และคาดการณ์ว่าการเติบโตของอัตราผู้โดยสารในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 9.2%CAGR โครงการนี้จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของไทยด้วยการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่สายการบินจากการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางบินใหม่และจากธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น ครัวการบิน การบริการภาคพื้นดิน การซ่อมบำรุง เป็นต้น อีกทั้ง ยังช่วยสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานทั้ง OEM และ REM ในไทย ตามความต้องการใช้ชิ้นส่วนอากาศยานทั้งในประเทศและโลกที่เพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มบทบาทภาคการขนส่งสินค้าทางอากาศของไทย ที่ยังมีสัดส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศในเส้นทางระหว่างประเทศน้อยกว่า 1% ของปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศในทุกรูปแบบการขนส่ง ด้วยการดึงดูดการลงทุนที่ใช้บริการการขนส่งทางอากาศเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยา และธุรกิจ e-commerce เป็นต้น ดังที่เคยนำไปใช้กับเมืองต่างๆทั่วโลก เช่น Amsterdam schiphol airport city ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ Zhengzhou airport economy zone ประเทศจีน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก นอกจากต้องมีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นปัจจัยหลักแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างสนามบินพาณิชย์หลักทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา, สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งในด้านทิศทางการบริหาร การจัดสรรเที่ยวบินและการเชื่อมต่อของผู้โดยสารทั้งระหว่างสนามบินและกับพื้นที่อื่นๆ อีกทั้ง ต้องเร่งพัฒนาศูนย์อบรมสำหรับบุคลากรทางการบินและศูนย์ทดสอบสำหรับชิ้นส่วนเครื่องบินให้สามารถออกใบอนุญาตจากองค์กรระดับโลกอย่าง EASA หรือ FAA ได้ และยกระดับเมืองการบินภาคตะวันออกให้มีความเป็นเมือง (urbanization) มากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับบุคลากรใหม่ที่รายได้ปานกลาง-สูงที่จะเข้ามาทำงาน

  1. เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจการบินเพิ่มสูงขึ้นทั้งการให้บริการบนอากาศและภาคพื้นดินเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการให้บริการ ลดต้นทุนดำเนินการ และแก้ไขปัญหาความแออัดของผู้โดยสารที่กำลังเติบโตภายใต้โครงสร้างพื้นฐานที่จำกัด โดยเทคโนโลยีที่คาดว่าจะสร้างบทบาทต่ออุตสาหกรรมการบินสูงคือการพัฒนาของเครื่องบินรุ่นใหม่ โดยนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและการซ่อมบำรุงแล้ว ยังเพิ่มระยะพิสัยการบินด้วย โดยการพัฒนาเครื่องบินลำตัวกว้างขนาดกลางรุ่นใหม่อย่างAirbus A330neo และ Boeing 787 จะช่วยปลดล็อคให้สายการบินสามารถให้บริการขนส่งแบบรับส่งแบบจุดต่อจุด (point-to-point) ในระยะทางไกลได้ดียิ่งขึ้น เพราะปริมาณผู้โดยสารที่สายการบินต้องการต่อเที่ยวบินเพื่อให้คุ้มทุนปรับลดลง ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่จะสายการบินในไทยจะเปิดให้บริการในเส้นทางบินจากไทยไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีระยะทางไกลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาเครื่องบินลำตัวกว้างขนาดใหญ่รุ่นใหม่อย่าง A350 XWB และ Boeing 777X จะทำให้การเปิดเส้นทางบินใหม่แบบในเส้นทางบินในระยะไกลมาก (ultra long haul, ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 12 ชม.) ของสายการบินคุ้มทุนมากขึ้น

นอกจากนี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ จะถูกนำไปใช้ในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการ โดยสายการบินเตรียมยกระดับการให้บริการบนอากาศผ่านการสร้างประสบการณ์แก่ผู้โดยสาร เช่น การใช้ virtual reality กับ augmented reality และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนเครื่องบินด้วยระบบ wifi เป็นต้น ส่วนผู้ให้บริการสนามบินนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการภาคพื้นดินภายในสนามบินให้มีความสะดวกสบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบไบโอเมตริกซ์ (biometrics) เพื่อยืนยันตัวผู้โดยสาร การใช้ AI เช่น แชทบอทและระบบผู้ช่วยเสมือน (virtual assistant) ในการให้ข้อมูลผู้โดยสาร และการเพิ่มความปลอดภัยผู้โดยสารทางไซเบอร์ (cybersecurity)

โดยสรุป ธุรกิจการบินภายในอาเซียนและเอเชียเป็นธุรกิจที่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงสะท้อนจากการเตรียมพร้อมในการขยายฝูงบินของสายการบินในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ไทยก็มีการเตรียมพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งการขยายสนามบินเดิม และพัฒนาสนามบินใหม่ เช่น สนามบินอู่ตะเภา นอกจากนี้ เทคโนโลยีจะมีบทบาทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการผู้โดยสารแก่ผู้ให้บริการสนามบินและสายการบิน รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้น

ของสายการบิน FS ในไทยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับสายการบิน LCC

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...