Mindset ด้านนวัตกรรมสำคัญกับองค์กรอย่างไร พูดคุยกับ Dr. Frederik G. Pferdt | Techsauce

Mindset ด้านนวัตกรรมสำคัญกับองค์กรอย่างไร พูดคุยกับ Dr. Frederik G. Pferdt

เมื่อองค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยคนและเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กัน Mindset ของคนก็จะต้องพร้อมที่จะรับกับนวัตกรรมที่จะมาพัฒนาวัฒนาธรรมขององค์กร พูดคุยกับ Dr. Frederik G. Pferdt, Chief Innovation Evangelist จาก Google ในเรื่องความสำคัญของนวัตกรรมกับการทำงานในองค์กร และคำแนะนำในการพัฒนา Innovation Mindset เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

Dr. Frederik G. Pferdt

หน้าที่และความสำคัญของ Chief Innovation Evangelist

การทำงานกับตำแหน่ง Chief Innovation Evangelist ใน Google หน้าที่หลัก ๆ คือการช่วยองค์กรสร้าง Innovation mindset ซึ่ง Mindset นี้จะต้องอาศัยการเอาใจใส่ระหว่างกันของพนักงาน การรับฟังความเห็นของผู้อื่น ต้องอาศัยความคิดและไอเดียที่แผ่ขยายออกไปได้อย่างไม่สิ้นสุด รวมทั้งสร้าง Mindset ที่อยากเรียนรู้และทดลอง และช่วยให้พนักงานทุกคนทั่วโลกของ Google มีความมั่นใจในการเสนอไอเดีย เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับนวัตกรรม และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ 

หน้าที่ของ Chief Innovation Evangelist มักจะทำงานกับทีม People Development มากกว่าที่จะไปสร้างนวัตกรรม ซึ่งการจะสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพได้นั้นจะต้องเริ่มจากการที่คนมีความคิดและต้องไม่กลัวที่จะสร้างนวัตกรรม โดยใน Google จะมี CSI Lab หรือ Creative Skills for Innovation Lab ที่จะเอาไว้ช่วยพนักงานในการพัฒนา Skills และ Mindset เพื่อใช้สร้างวัฒนธรรมที่เหมาะกับการรองรับนวัตกรรม โดยจะมีการพูดคุย และการโค้ชชิ่งแบบ One-on-one ให้กับพนักงานทุกระดับ

ผลกระทบของ COVID-19 กับการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรของ Google

Dr. Pferdt มองว่าสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานมาก ๆ แต่เมื่อไวรัสระบาดเราก็ต้องเปลี่ยนไปทำงานทางไกลแทน ถ้าให้มองด้านดีของมันคือ เราได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น และได้สร้างบรรยากาศของการทำงานที่บ้านขึ้นมาใหม่นั่นเอง ซึ่งทาง Google ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ โดยทางบริษัทได้ช่วยสนับสนุนให้กับพนักงานทุกคนในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่บ้านขึ้นมาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่องเทคโนโลยีที่เราใช้ในการติดต่อก็มีการใช้ Google Meet เป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีความยากลำบากอะไรในการทำงานทางไกล และเรายังมองเรื่องสุขภาพของพนักงานด้วย เราก็จะมีการติดต่อกันอยู่เป็นประจำ และทุกครั้งที่มีการประชุมก็จะมีการจัด Mindfulness exercise เพื่อช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน

สำหรับการทำงานของ Google เราจะมี Value อยู่ 3 ข้อ ที่ทำให้พนักงานทุกคนอยากจะทำงานร่วมกัน คือ

Respect user, Respect Opportunity และ Respect each other ทั้งนี้มองว่าทั้ง Mission และ Value มันสำคัญมาก ๆ กับองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกันว่าทำไมเราต้องทำงานด้วยกัน และการมีสองอย่างนี้จะช่วยสร้างให้องค์กรเหมาะสมกับการพัฒนานวัตกรรมด้วยเช่นกัน

พฤติกรรมและเทรนด์ที่เปลี่ยนไปเพราะ COVID-19

Dr. Pferdt กลับมองว่าในช่วงการระบาดที่เป็นวิกฤตไปทั่วโลก ยังมีข้อดีของมันอยู่เช่นกัน อย่างที่เห็นได้ชัดคือ มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างของเทรนด์ต่าง ๆ ทั้งการทำงาน การใช้ชีวิต และการเรียน ทำให้คนได้พัฒนา Mindset ที่มีความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ซึ่งมองว่ามันส่งผลดีต่อการพัฒนา อีกทั้งคนยังมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าเดิม

การระบาดของ COVID-19 ทำให้เราเห็นว่าเทรนด์ต่าง ๆ มันเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหน ทุกอย่างตอนนี้เริ่มจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล ในส่วนของการศึกษา อย่างที่เห็นว่าเปลี่ยนไปใช้การเรียนแบบออนไลน์ ข้อดีของมันคือ เราจะเรียนตอนไหน ที่ไหนก็ได้ แต่ข้อเสียของมันคือเด็ก ๆ จะขาดเพื่อน ขาดการเรียนรู้จากโลกภายนอกที่ไม่ใช่จากโลกอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นคุณครูและพ่อแม่จะต้องหาวิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพื่อมาช่วยตอบสนองเด็ก ๆ ในส่วนที่เขาขาดไป ในด้านของ Google เราก็มีการลงทุนไปเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการศึกษาเช่นกัน ทั้ง พัฒนา Google Classroom, Google Meet หรือจะเป็น Chrome Book เพื่อให้พร้อมกับเด็ก ๆ ได้ใช้งาน

ในอีกด้านที่เป็นมุมของคนทำงาน จะเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเราก็สามารถทำงานได้จากทุกที่ ในทุกเวลาเช่นกัน และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น คนเริ่มมีการพัฒนา Mindset ให้ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนไปตลอดเวลา โดยคนจะเริ่มทำงานได้เร็วขึ้น และปรับตัวเพื่อหาทางตอบสนองลูกค้า และคนรอบข้างได้ถูกทาง ตัวอย่างแบบ Google ที่เรามีการจัดโปรเจกต์ Product for Good ในช่วงเริ่มการระบาด เพื่อให้พนักงานทุกคนช่วยวางแผนและคิดค้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในระยะเวลาเพียง 48 ชั่วโมง มีการส่งไอเดียมากว่า 2,500 ไอเดียจากพนักงานของ Google ทั่วโลก โดยโปรเจกต์เด่น ๆ ที่เราได้ทำช่วง COVID-19 เช่น สร้างแพลตฟอร์ฒสำหรับการศึกษา ทำงานร่วมกับ UNESCO สร้างฟีเจอร์ใหม่ใน Google Map เป็นต้น

คำแนะนำสำหรับผู้บริหารองค์กรเพื่อสร้าง Innovation Mindset

COVID-19 เข้ามาสร้างปัญหามากมายให้กับองค์กร สิ่งแรกที่ต้องทำคือพยายามจับให้ได้ว่าปัญหานั้นคืออะไร แล้วกลับมามองที่องค์กรว่าปัญหานั้นจะส่งผลโดยตรงอย่างไร เมื่อพบปัญหาให้ลองมองว่ามันก็มีโอกาสอยู่ในนั้นเช่นกัน ให้พยายาม Reframe แนวทางใหม่ ๆ ด้วยการเรียนรู้และทดลองไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีอะไรจะสำเร็จได้ตั้งแต่ครั้งแรก ให้พยายามเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับทำการทดลอง ซึ่งอาจจะช่วยสร้าง Skill sets ใหม่ ๆ อีกด้วย

อีกสิ่งที่สำคัญคือ ผู้บริหารต้องยอมรับฟังพนักงานด้วย เพื่อให้เข้าใจความต้องการของพวกเขาที่อาจจะเปลี่ยนไป รวมทั้งติดตามเรื่องสุขภาพ เพราะมันจะส่งผลต่อการทำงานขององค์กร และจะได้เอามาพัฒนาโมเดลขององค์กร อย่างที่ Google เราจะดูแลพนักงานเช่น ให้พวกเขาลาหยุดเมื่อต้องการจะใช้เวลาในส่วนนี้ หรือให้ลาหยุดเพื่อไปดูแลคนในครอบครัว ซึ่งการทำแบบนี้มองว่ามันจะทำให้วัฒนธรรมองค์กรดีขึ้นเช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...