Startup กำลังเข้าสู่วงการประกัน: ตัวอย่าง และสาเหตุ | Techsauce

Startup กำลังเข้าสู่วงการประกัน: ตัวอย่าง และสาเหตุ

q

โลกเราเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน บริษัทประกันเองก็ถึงเวลาที่ต้องปรับตัว ไม่นานมานี้เราจะเห็นได้ว่า บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยหลายเจ้าได้จับมือกับ บริษัท startup หรือลงทุนให้กับบริษัท startup เช่น กรุงเทพประกันภัย ที่จับมือกับ frank.co.th บริษัท startup เพื่อให้บริการขายประกันรถยนต์ หรือ เมืองไทยประกันชีวิตจับมือกับ dtac Accelarate เปิด “Fuchsia” อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์  พร้อมทั้งเลือก “เฮลท์ แอท โฮม” (Health at Home) สตาร์ทอัพเฮลท์เทค

ตัวอย่างจากต่างประเทศ

qqTROV: Platform ที่สามารถซื้อประกันสำหรับสิ่งของ ที่คุณสามารถปรับแต่งกรมธรรม์ ทั้งหมดได้ใน app เดียว ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันแอกซ่าที่ได้ให้บริการในประเทศอังกฤษ ซึ่งตอนนี้มีเป้าหมายที่จะจับมือกับบริษัทประกัน Suncorp ในออสเตรเลีย

เพิ่มเติม : trov.com

qqqEMBROKER: Platform โบรกเกอร์ประกันออนไลน์ที่ให้บริการขายประกันให้ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลงทุนโดย 500 Startups, Bee Partners, FinTech Collective, Vertical Venture Partners มีเป้าหมายว่าประกันเป็นเรื่องไม่ยาก เพียงแค่เข้าผ่านเว็ปไซต์ก็สามารถเลือกซื้อประกันที่ธุรกิจคุณต้องการรับมือกับความเสี่ยงได้

เพิ่มเติม: embroker.com

qqqqLadder Financial: ประกันชีวิตออนไลน์รูปแบบใหม่ ก่อตั้งด้วย Jamie Hale อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง กองทุน Aldenwood Jeff Merkel และ Jack Dubie อดีตวิศวกรของ Dropbox ลงทุนด้วย  Lightspeed Venture Partners, 8 Partners, NYCA Partners, Barney Schauble เป้าหมายเพื่อให้ประกันชีวิตเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่การเลือกเปรียบเทียบ จนถึงการซื้อ

เพิ่มเติม : ladderlife.com

สาเหตุที่บริษัทประกัน ร่วมมือกับ Startup

ผู้บริโภคสมัยนี้ได้มีความต้องการที่สูงขึ้น ซึ่งความต้องการนี้ไม่ใช่ความต้องการทางปริมาณ แต่เป็นความต้องการทางคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นบริการที่เร็วขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น ทุกวันนี้เราไม่ต้องเดินออกไปหน้าปากซอยให้วุ่นวาย เราเพียงแค่ไม่กี่คล้กเราก็สามารถเรียกรถแท็กซี่มาจอดหน้าบ้านได้ภายในไม่กี่นาที และนี่คือสาเหตุให้บริษัท Startup และประกันจับมือกัน เพื่อ

1.พัฒนา user experience: Startup ช่วยพัฒนา User Experience หรือการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงประกันได้ง่ายขึ้นโดยเทคโนโลยี เช่นการใช้ chat box ในหน้าเว็บไซต์ ที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงคนขายประกันได้ง่าย มีอะไรก็สอบถามได้เลย ไม่ต้องโทรหา และคุยยาวให้เสียเวลา ถ่าย vdo ตอนเคลม หรือจะเป็นเทคโนโลยี telematics

2.เก็บข้อมูลมาเพื่อคำนวณความเสี่ยง : การบริหารความเสี่ยงคือหัวใจของบริษัทประกัน บริษัทประกันต้องคำนวนณค่าเบี้ยประกันไม่ให้เกินค่าความเสียหายที่ต้องรับผิดชอบ ถ้าความเสียหายมากกว่าเงินค่าเบี้ย บริษัทประกันก็ต้องขาดทุน เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีที่นำว่าช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อบริหารความเสี่ยงได้จึงเป็นที่ต้องการของบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็นการเอาข้อมูลในชีวิตประจำวันมาคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทประกันรู้ว่าจะรับมือความเสี่ยงอย่างไร และสามาถปรับลดราคาเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละคน

3.ป้องกันความเสียหาย: การป้องกันความเสี่ยงคือการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทประกัน อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงจึงเป็นที่ต้องการของบริษัทประกัน เช่น sensor ต่างๆ ในตัวบ้าน หรือ ตัวลด เพื่อลดอุบติเหตุ เช่นเดียวกับ activity tracker ที่มีแคมเปญให้คนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงแล้วลดโรคภัยต่างๆ

ประกันกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต

ปัจจุบันในชีวิตเรามีเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาตลอด เข้ามาส้รางความสามารถใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วยังสร้างโอกาสในการตลาดใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งคาดกันว่าจะทำให้ตลาดประกันรถยนต์เล็กลงในอนาคต หมายความว่าบริษัทประกันต้องปรับตัว อาจจะเป็นการปรับให้ตัวเองเป็น ประกันเฉพาะด้าน แทนที่จะเป็นประกันรถยนต์ธรรมดาทั่วไป ความเสี่ยงในอนาคต จะไม่ใช่สิ่งที่คาดไม่ถึง แต่จะเป็นสิ่งที่เฉพาะทาง และอาจจะเฉพาะคน

สรุป

ในโลกที่เปลี่ยนไป บริษัทประกันก็ต้องปรับตัวตาม ซึ่งการหันมาพึ่งเทคโนโลยีนำมาวิเคราะห์ผู้บริโภคเพื่อให้ความเสี่ยงน้อยลง ต้นทุนในการชดเชยความเสี่ยงต่างๆ น้อยลง เช่น activity trackers โดรนที่ติดเซนเซอร์ ระบบ IoT และ เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อมาวิเคราะห์ เป็น Big Data และผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นนี้ก็มีหลายอย่างที่มาจากบริษัท Startup


บทความนี้เป็น Guest Post จาก

 

ประกันรถยนต์ออนไลน์ที่จริงใจที่สุดในโลก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดินหน้าการเงินดิจิทัล บทเรียนจากไทยสู่เพื่อนอาเซียน สรุปความเห็นจากผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

ภายในงาน Singapore Fintech Festival 2024 คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองอันน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นทางการเงินดิจิทัลของไทย ทั้งในเรื่องความท้า...

Responsive image

เจาะลึก Semiconductor ทำไมทุกประเทศต้องแย่งชิง?

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปสำรวจ Semiconductor เทคโนโลยีที่อยู่ทุกที่ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนถึง AI ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญหรือผลกระทบต่อโลกอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน!...

Responsive image

อินเดียทะยานสู่ $25 ล้านล้าน กับเส้นทางเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนด้วย Digital Supercycle

การเดินทางของอินเดียในฐานะเศรษฐกิจเกิดใหม่ กำลังมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม จากเป้าหมายเศรษฐกิจมูลค่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สู่วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการบรรลุ 25 ล้านล้า...