ก้าวข้าม Comfort Zone ในตัวคุณ สู่การสร้าง Growth Zone แห่งใหม่

ก้าวข้าม Comfort Zone ในตัวคุณ สู่การสร้าง Growth Zone แห่งใหม่

บทความนี้เป็น guest post ของ ดร. ศรีหทัย พราหมณี หรือ ดร. ออน ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรทฎษฎีใหม่ ไร่ทองหทัย บ้านนายาง อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี

มีโอกาสได้ไปบรรยายเรื่อง Business Model Innovation เมื่อไม่นานมานี้ค่ะ แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงดังกล่าวออนมีโอกาสได้แชร์เรื่องของการก้าวข้าม Comfort Zone เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ก่อนที่ใครจะกล้าลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องผ่านจุดนี้ไปให้ได้ จึงเป็นที่มาของ Blog นี้นั่นเอง นั่นคือ แนวคิด เทคนิค และการเตรียมตัวในแต่ละช่วงเวลาของการเดินทางจาก Comfort Zone สู่การสร้าง new Growth Zone หลังจากที่ได้แชร์เรื่องนี้ไปก็มีผู้สนใจเป็นอย่างมาก เลยอยากนำมาแบ่งปันในรูปแบบของออนไลน์ให้กับท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้มาในงานสัมมนาวันนั้นด้วย ว่าแล้วไปทำความรู้จักแต่ละ Zone กัน

Comfort Zone

Comfort Zone คือพื้นที่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือว่าเรื่องการดำเนินชีวิต มันเป็นสิ่งที่เราถนัด เคยทำมาแล้วซ้ำๆ บางทีชำนาญถึงขั้นหลับตาทำแล้วการันตีผลลัพธ์เลยก็ได้ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มมากมาย แค่อยู่เฉยๆหรือทำแบบเดิมๆ ก็ได้ในสิ่งที่เราเคยได้และพอใจอยู่แล้ว

Fail Zone

Fail Zone คือจุดที่ทำให้เราก้าวถอยหลัง สำหรับออน fail zone เราไม่ได้สร้างขึ้นหรอก แต่มันเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ ถ้าเรายังคงอยู่ใน Comfort Zone เดิมๆ ของเราไปเรื่อยๆ Comfort Zone ของเราก็จะเริ่มเล็กลงไปเรื่อยๆ และจะถูกแทนที่ด้วย Fail Zone นั่นเอง

ในยุคที่การแข่งขันเข้มข้นอย่างนี้ การอยู่เฉยๆ ก็คือการนับถอยหลังออกจาก comfort zone มาสู่ fail zone เหมือนลูกโป่งลูกใหญ่ๆ ที่ตั้งทิ้งไว้ ลมจะเริ่มออกทีละวันๆ จนแฟบลงในที่สุดแล้วก็ถูกทิ้งลงถังขยะ

Fear Zone

บางทีเราอยากได้อะไร แต่เราก็ไม่ลงมือทำสักทีโดยมีข้ออ้างว่า “ทำไม่เป็น” “ไม่เคยทำ” “ไม่มีความรู้” แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เหตุผลลึกๆจริงๆ ของเราคือเราไม่ได้อยากได้สิ่งนั้นอย่างแรงกล้าจริงๆ หรือไม่ เราก็กลัวว่าถ้าเราทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จแล้วเราก็จะสูญเสียสิ่งที่เรายังเคยมีอยู่ใน Comfort Zone ปัจจุบัน ถ้าด้วยเหตุผลข้อแรกก็อาจจะยากสักนิด แต่ถ้าเป็นข้อหลัง แสดงว่าเราอยู่ใน Fear Zone คือจุดกลัวความผิดพลาดที่ “อาจ” เกิดขึ้นได้ในอนาคต ใครๆ ก็กลัวได้ ไม่แปลกหรอก …… แต่ มันมีทางแก้นะ List ทั้งหมดให้เยอะที่สุดว่าอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคทำให้เราไม่กล้าทำอะไรใหม่สักที เราจะได้มา list มายาวเหยียดเลย จากนั้นเลือกมาเพียงแค่ 3 อันดับสำคัญ ถ้าไม่ถึง 3 ก็ไม่เป็นไรนะ แต่อย่าเกิน 3 แล้วกันค่ะ

Learning Zone

Learning zone คือเข้าสู่ช่วงเวลาที่ “เปลี่ยนจากความกลัวเป็นความรู้” ออนเริ่มต้นโฟกัสที่จะสร้างความรู้ให้ตัวเองใน 3 สิ่งที่กำหนดไว้ใน Fail Zone ระยะเวลาที่ใช้ใน learning zone ของแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความทุ่มเท ความรู้พื้นฐานเดิม และ learning speed ของแต่ละคน

Transferring Zone

Transferring Zone เป็นเหมือนช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าจะเราจะได้ไปต่อหรือไม่เดินกลับหันหลัง ตอนเราเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ช่วงแรกๆ ทุกอย่างดูใหม่ ดูตื่นเต้น แต่พอไปสักพักเราต้องเรียนให้ลึกขึ้น ยากขึ้น มันสามารถเกิดเหตุการณ์ได้ 2 อย่าง อย่างแรกคือ มันเริ่มยากจนเราเริ่มรู้สึกกังวลไปหมด อาจจะเครียดจนหยุดทำ และ เดินกลับไปสู่ Comfort Zone เดิม ออนเรียกจังหวะการตัดสินใจนี้ว่า panic timing แต่ถ้า ความต้องการของเราอย่างแรงกล้า ในความมึนๆ งงๆ กับการเรียนรู้เรื่องยากๆ เราจะก็จะสามารถสร้างความฮึกเหิมที่จะอดทนเพื่อฝึกฝนต่อไป ออนเรียกช่วงเวลานี้ว่า brave timing

Growth Zone

จากความรู้ที่เราได้สะสมมาจาก Learning Zone และ Transferring Zone ก็จะก้าวก้าวสู่ Growth Zone คือการนำความชำนาญนั้นมาสร้างโอกาสและการการเติบโตในเรื่องใหม่ๆให้กับเราได้ ช่วงเวลาใน Growth Zone จะ enjoy ไปซะทุกอย่าง เราเริ่มได้อะไรที่เราหวังไว้ตั้งแต่แรก เป็นเหมือนช่วงเวลาทองคำ หรือ golden time อีกครั้ง พอระยะเวลาผ่านไปสักพัก เราจะสะสมความชำนาญไปมากๆ แล้วก็จะเริ่มทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ Growth Zone อันนี้ก็จะแปลงมาเป็น comfort zone แล้วเราก็จะกลับเข้ามาสู่วัฎจักรการพัฒนา Growth Zone อันใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง

บทความนี้เป็น guest post ของ ดร. ศรีหทัย พราหมณี หรือ ดร. ออน ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรทฎษฎีใหม่ ไร่ทองหทัย บ้านนายาง อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...