ยุคของ Telemedicine ตัวช่วยยกระดับการแพทย์อาเซียน วิสัยทัศน์จาก Raghu Rai แห่ง Jio health | Techsauce

ยุคของ Telemedicine ตัวช่วยยกระดับการแพทย์อาเซียน วิสัยทัศน์จาก Raghu Rai แห่ง Jio health

บทเรียนจาก Covid-19 และ Aging Society ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้มนุษยชาติต้องพัฒนาการดูแลสุขภาพให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพขึ้น ร่วมมองโอกาสในอุตสาหกรรม  Healthcare ที่มีการประสานงานร่วมกันในรูปแบบใหม่เพื่อปฎิรูปธุรกิจและบริการที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนได้ กับ Fireside Chat ของคุณนาเดีย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Venture Capital (Fuchsia VC) แห่งเมืองไทยประกันชีวิต และ Mr.Raghu Rai ผู้ร่วมก่อตั้งแห่ง Jio Health ที่ได้เสวนาในงาน Techsauce Global Summit 2022 ภายใต้หัวข้อ HealthtTech: Transforming the Access and Delivery of Care

ในช่วงของการสนทนา คุณนาเดียได้กล่าวว่าในฐานะที่เป็นหัวหน้านวัตกรรมแห่ง Fuchsia VC แห่งเมืองไทยประกันชีวิต ทำให้ต้องสร้างบริษัทที่ร่วมสร้างเสริมสุขภาพและลงทุนในด้าน Vertical HealthTech มุ่งเน้นด้าน Health & Wellness ที่หลากหลาย ซึ่งช่วงนี้ถือเป็นก้าวกระโดดของเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ก้าวหน้าที่สุด

เรากำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่เราพร้อมแล้วหรือไม่? เพราะอย่างอาเซียนและไทยเราจะไม่เหมือนกับเกาหลีหรือญี่ปุ่นที่สังคมมีความพร้อมมากกว่า สำหรับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกคนจำเป็นต้องตระหนักมากขึ้นจริงๆ เพราะมาตรฐาน สวัสดิการและค่าครองชีพที่ต่างกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณนาเดียได้ลงทุนใน Jio Health บริษัทด้านสุขภาพในเวียดนาม พร้อมทั้งเชื่อมั่นในโมเดลธุรกิจที่จะส่งมอบการดูแลอย่างยั่งยืน

การส่งมอบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ

ลำดับถัดมา คุณ Raghu Rai ผู้ก่อตั้งแห่ง Jio health ได้อธิบายที่มาและความสำคัญ พร้อมแจงถึงสิ่งที่ทำให้ Jio health โดดเด่น โดยเน้นด้าน healthcare เป็น Core Value หลัก ที่กำลังผนวกการรักษาและบุคลากรให้ร่วมสมัย มีตัวเลือกการรักษาให้ครอบคลุมแบบ Omni-channel ที่บริษัทส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าปลายทางได้อย่างตรงจุด ผ่าน Value chain ที่มีหลักคิดหลายด้านคือ

1) Virtual care บริการหลักในการนำเสนอการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine ซึ่งมี EMR หรือ Electronic medical record ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Jio Health เอง ช่วยให้แพทย์สามารถบันทึกประวัติผู้ป่วย แสดงผลการทดสอบ เขียนใบสั่งยา ป้อนคำสั่ง รับการแจ้งเตือนทางคลินิก ใช้เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ และพิมพ์คำแนะนำของผู้ป่วยและเอกสารการศึกษาได้ พร้อมการดูแลแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ 

มันจะเป็นสื่อเสริมที่ดีในการดูแลที่นอกเหนือจากประสบการณ์ออฟไลน์ อาศัยต้นทุนการมีส่วนร่วม และได้ทำให้เราสามารถให้บริการการแพทย์ทางไกลฟรีในเวียดนามตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

2) Smart clinic & Drugstore คุณ Raghu เชื่อว่าการแพทย์แบบ Primary Care เป็นการดูแลเบื้องต้นเท่านั้น อาจจะยังไม่เพียงพอและอาจเข้าไม่ถึงทุกคนอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอาจต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่สมบูรณ์ จึงได้สร้าง smart clinic ที่จะสามารถรวมทุกความต้องการไว้ในระบบนิเวศ Healthcare ได้

นอกจากนี้ Jio health ยังได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์อย่างเต็มรูปแบบในฐานะ Polyclinic ดังนั้นจึงมีการดูแลทางการแพทย์ที่พิเศษกว่า 14 สาขา ตั้งแต่กุมารเวชศาสตร์ อายุรศาสตร์ ไปจนถึงสูตินารีเวช การดูแลการคลอดบุตร การจัดการโรคเรื้อรัง และการดูแลเฉพาะทางย่อยอย่างเช่นจักษุวิทยา ทันตกรรม และความเชี่ยวชาญอื่นๆ อีกจำนวนมาก โดยมีแพทย์มากกว่า 150 คน ซึ่งเป็นแพทย์มืออาชีพที่เชี่ยวชาญคอยประจำการ และมีร้านขายยาที่เสมือนเป็นการแข่งกับ e-commerce โดยการบูรณาการกับร้านขายยาแบบดั้งเดิมที่เป็นธุรกิจค้าส่ง

3) Insurance Integration การประกันภัยก็นับเป็นการสร้างเสริมและการลงทุนด้านสุขภาพ คุณ Raghu ได้สร้าง Partnership และความร่วมมือที่ลึกซึ้งร่วมกับผู้ให้บริการประกันภัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆ บนพื้นฐานการดูแลครบวงจร

การดูแลสุขภาพเชิงรุก ไม่ได้รอให้ผู้ป่วยมาหาเอง แต่ต้องเข้าหาผู้ป่วยและผู้ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง

ทำไมจึงสนใจภูมิภาคอาเซียน?

คุณ Raghu กล่าวว่าแต่เดิมนั้น Raghu มาจาก Southern California จบทางด้าน Biomedical engineering เมื่อปี 2015 โดยส่วนตัวแล้วมีแพชชั่นในการสร้างโซลูชันสำหรับ Health & Wellness ในสหรัฐอเมริกา จึงได้ร่วมงานกับองค์กร United Health Care 

ซึ่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นตลาดที่เติบโตเต็มที่และพัฒนามายาวนานกว่า ในตอนนั้นมีความรู้สึกส่วนตัวว่า ธุรกิจสุขภาพบางอย่างที่มีอยู่ไม่ได้ทำเพื่อผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง แต่เป็นเหมือนการสร้างประโยชน์ให้กับวงการประกันภัยมากกว่า 

ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายว่าเราจะนำโซลูชันมาเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงได้อย่างไร อีกจุดเปลี่ยนคือตอนนั้น California ประกาศใช้ พ.ร.บ. the Affordable Care Act ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิ์การรักษาที่มีราคาไม่แพงเกิน นี่จึงเป็นเวลาที่เขาคิดถึงไม่ใช่แค่การ transform รูปแบบการรักษา แต่เป็นการผนวกเอาเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่รวมฟังก์ชันกันไว้ในแพลตฟอร์มนี้เป็นหนึ่งเดียว

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง จึงเริ่มที่ดูแลต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุด ตอนนั้นจึงได้สร้างวิธีแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวแต่ไม่ร้ายแรง สามารถรับยาได้โดยไม่ต้องมาหาหมอถึงโรงพยาบาล และหนึ่งใน Angel investor ที่สนับสนุนให้เราไปที่เวียดนามเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ ตนเองได้เห็น Painpoint ของ การดูแลสุขภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นสิงคโปร์ โรงพยาบาล คลินิกในท้องถิ่นบางแห่งผิดกับโลกตะวันตกที่เคยเห็น ซึ่งเมื่อปลายปี 2017-2018 ในขณะนั้น ยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพแบบดิจิทัล ยังมีการแยกส่วน customer journey อย่างมาก ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเข้าถึงการรักษา 

การเจาะตลาดเวียดนาม Business model และการระดมทุน

คุณ Raghu กล่าวเพิ่มเติมว่า ในโมเดลด้าน Healthcare ถ้าโมเดลของคุณขึ้นอยู่กับอิทธิพลเชิงกลยุทธ์ มันจะเป็นเรื่องยากมากที่จะทำ Business model ให้หลุดออกจากกรอบเดิมๆ  นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่เราเชื่อในการบูรณาการแบบ Vertically integrated อย่างแท้จริง พยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเองให้มากที่สุด และพยายามเข้าใจลูกค้าเป็นพื้นฐาน รวมทั้งพยายามทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์ต่อยูนิตการมอบบริการของตัวเอง รูปแบบการสร้าง Delivery คุณค่าของคุณให้ถึงมือลูกค้า เพื่อสร้างตลาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ 

ซึ่งในตอนนี้ Jio health ได้ผ่านการระดมทุนซีรีส์ B แล้วส่วนการเข้าถึงตลาดเวียดนาม จริงๆ แล้วโดยส่วนตัว คุณ Raghu ต้องทำความรู้จักตลาดนี้พอสมควร แต่เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Dr.Holmes ที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของ Jio health เคยเป็นแพทย์ฝึกหัดในโรงพยาบาลของรัฐของเวียดนาม ทำให้สามารถเข้าใจ painpoint ของการแพทย์เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์ของศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และร้านขายยา ทำให้ได้รับความร่วมมือจาก Johns Hopkins และ UCLA ด้วย ทำให้สร้างแกนกลางที่ตอบโจทย์สำหรับทีมด้วย ทั้งนี้ได้ใช้ Smart Clinic เป็นการสร้าง Fulfillment Center ของกลยุทธ์ในการลงทุนความท้าทายที่ Telemedicine จะปฏิรูปการแพทย์ในอาเซียน

คุณ Raghu กล่าวว่า Telemedicine ได้ผลอย่างแน่นอน มันเป็นทางออกที่ตรงประเด็นของการดูแลอย่างแท้จริง  โดยเชื่อว่าเป็นธุรกิจที่สร้าง end-to-end journey ได้ ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่แอพหรือเว็บไซต์ พวกเขาต้องการเข้าถึงการรักษา และการโต้ตอบแบบ onsite จริงๆ

จริงๆ ในภูมิภาคอื่น Telemedicine เริ่มมีมาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนที่ยากจริงๆ คือ การ Delivery การรักษาและความท้าทายในด้าน Business Model ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นไปพร้อมกัน ซึ่งตอนแรกมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่ยินดีให้ความร่วมมือกับเรา นั่นถือเป็นอุปสรรคในการส่งมอบการรักษา และต้องบริหารส่วนต่างของรายได้ทั้งหมดไปด้วย แต่สุดท้ายแล้ว Telemedicine จะตอบโจทย์พฤติกรรมผู้คน ถึงแม้จะไม่มี product market fit แบบเดียวกับการดูแลรักษาโดยคลีนิกเอกชน อาจจะมี clinical use case ที่จำกัดกว่า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...