ส่องบทบาทของเทคโนโลยีในการยกระดับการเรียนรู้ของคนไทยกับ AIS Academy | Techsauce

ส่องบทบาทของเทคโนโลยีในการยกระดับการเรียนรู้ของคนไทยกับ AIS Academy

โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน และหนึ่งในสิ่งที่เข้ามาขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้หมุนเร็วจนต้องรีบตามกันให้ทันก็คือเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นกันอย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญในการเข้ามาช่วยให้มนุษย์ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกมากขึ้น และวงการที่นำเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาก็คือวงการการศึกษา เราได้เห็นคอร์สออนไลน์ ห้องเรียนออนไลน์ และสารพัดรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ผู้คนไม่สามารถเดินทางมาพบกันได้ ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตในแบบออนไลน์มากกว่าที่เคย และนับวันเราก็ยิ่งเห็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่น่าสนใจผุดขึ้นมามากมาย นำมาสู่คำถามว่าแล้วภาคการศึกษาจะเป็นอย่างไรต่อไปเมื่อโลกของเราขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี วันนี้ Techsauce ชวนมาหาคำตอบกันต่อกับสองผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจาก AIS Academy ดร. ปรง ธาระวานิช Head of AIS Academy และ ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ Head of Technical Knowledge Management Section

การปรับตัวและความพร้อมของผู้คนในการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่

ดร.ปรง ธาระวานิช เล่าว่า การปรับตัวของผู้คนมีในสองรูปแบบคือมีทั้งความต้องการจะปรับตัวให้ทันและการถูกบังคับด้วยสถานการณ์ อย่างที่ทราบว่าเทคโนโลยี e-Learning มีมานานแล้ว ซึ่งทุกคนก็ค่อย ๆ ปรับมาเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา แต่เมื่อมี COVID-19 ทำให้การเรียน e-Learning ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นเร็ว เนื่องจากการเรียนรู้ยังคงต้องดำเนินต่อไป แรก ๆ อาจจะเกิดปัญหาบ้าง แต่ผู้คนก็ค่อย ๆ ปรับตัว เรียกได้ว่าความเร็วของการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นเร็วมาก หากเทียบกับสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้นตอนนี้ผู้คนมี mindset ในการพร้อมที่จะรับและส่งต่อความรู้ในรูปแบบนี้มากขึ้นแล้ว ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อการศึกษา ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะทำให้คนไทยพัฒนาเร็วขึ้นและสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็ต้องมีความร่วมมือกันเพื่อสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ 

ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ เสริมว่า ทักษะใหม่ ๆ ในการทำงานคืออีกหนึ่งในสิ่งที่มาผลักดันผู้คนให้เรียนรู้มากขึ้น ผู้คนเริ่มมี mindset แบบ learning how to learn และผู้คนเริ่มจัดแจงเวลาในการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการปลดล๊อคระยะเวลาการเรียนปริญญาแล้ว จากที่เคยมีข้อบังคับว่าต้องจบภายในระยะเวลาของทางสถาบันกำหนดปรับมาสู่การเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ นี่เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าโลกการเรียนรู้ต่อจากนี้จะเป็นแบบ Lifelong Learning 

เมื่อเทคโนโลยีขับเคลื่อนโลกให้หมุนไปอย่างรวดเร็ว หลักสูตรปรับเปลี่ยนตามอย่างไร 

ที่ผ่านมามีเทรนด์ใหม่ ๆ อย่าง Data Sience AI IoT ย้อนกลับไปเราแทบไม่เคยเห็นหลักสูตรในด้านนี้เลย แต่ปัจจุบันหลักสูตรเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วในหลายมหาวิทยาลัย ในอดีตรอบการปรับหลักสูตรจะอยู่ที่สี่ปี จากนั้นจะมีการสำรวจว่านักศึกษาจบไปแล้วรองรับตลาดไหมเป็นการค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไป ในขณะที่ตอนนี้ปีครึ่งหรือสองปีก็ต้องปรับหลักสูตรแล้ว เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้ที่เท่าทันกับสถานการณ์ของโลก แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ปรับได้สมบูรณ์แบบเพราะเรื่องวิชาการจะต้องมีขั้นตอนและกระบวนการในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ซึ่งใช้เวลาประมาณหกถึงเจ็ดเดือนจนเกือบถึงปีเลย และเป็นไปได้ว่าในอนาคตการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มเพื่อเทียบกับปริญญาบัตรอาจจะเกิดขึ้น ทำให้สถาบันการศึกษาอาจจะไม่ใช่ภาพจำที่เราคุ้นเคยอีกแล้ว และเราได้เห็นแล้วว่าบริษัทต่างชาติเริ่มให้ความสนใจในความสามารถและทักษะที่มีมากกว่าใบปริญญา ดังนั้น เกรด หรือมหาวิทยาลัย อาจจะมีน้ำหนักน้อยลง แต่จะเน้นไปที่การพิสูจน์ว่าคุณทำงานสามารถในการทำงานไหม ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ กล่าว 

ในขณะท่ี ดร. ปรง ธาระวานิช เสริมในประเด็นนี้ว่า ภาครัฐก็มีการปรับตัวร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้น เราได้เห็นหลากหลายโครงการเกิดขึ้น อย่างความร่วมมือในการร่วมงานเพื่อสร้างบุคลากรในการทำงาน พูดได้ว่าทั้งสองฝั่งต่างมองเป้าหมายเดียวกันคือต้องการพัฒนาบุคลากรในประเทศ

ความสำคัญของ 5G ในการเข้ามาขับเคลื่อนภาคการศึกษา 

ในมุมของ 5G ที่เข้ามาขับเคลื่อนการศึกษานั้น ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาเทคโนโลยีอย่าง Chatbot AI IoT หรือ virtual reality อาจจะถูกใช้แค่ในพื้นที่จำกัดและไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากนัก แต่ 5G จะเข้ามาช่วยยกระดับการทำงานของเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ดีกว่าที่เคย โดยมองออกเป็นสามแกนหลัก ๆ คือ 

  • เข้ามาช่วยเร่งความเร็วในการส่งข้อมูล อย่างเช่น การเรียนรู้แบบ 3D หรือข้อมูลการเรียนต่าง ๆ 

  • เข้ามาช่วยทำให้การสื่อสารข้ามพื้นที่ไม่ว่าไกลแค่ไหนมีความรื่นไหล เพราะลดความหน่วงของเวลาในการส่ื่อสารลง

  • สามารถรองรับอุปกรณ์ได้จำนวนมากพร้อมๆ กัน เช่น แว่น AR VR หรืออุปกรณ์การเรียนที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก 

สิ่งสำคัญในการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้ทัน 

ดร. ปรง ธาระวานิช แนะนำว่า ถึงแม้เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมาก แต่สิ่งสำคัญกว่าคือเรื่องของ mindset และวัฒนธรรมองค์กร เราควรให้ความสำคัญกับผู้คนในเรื่องของความพร้อมในการรับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ก่อน 

ฝั่งของ ดร. สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ เห็นด้วยกับทาง ดร. ปรง ธาระวานิช พร้อมเสริมว่า ต้องเปิดใจยอมรับรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ และต้องเข้าใจว่าการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ไม่เหมือนเดิมแล้ว ค่อยๆ ปรับ mindset อย่าเพิ่งตั้งกำแพงว่าออนไลน์น่าจะไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเชื่อว่าหลังจากนี้ก็จะมีสิ่งที่ใหม่กว่านี้อีกเกิดขึ้น และจะเกิดแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์และเครื่องมือการเรียนใหม่ ๆ อีกมาก สำหรับองค์กรเองควรเริ่มมีแพลตฟอร์มเหล่านี้ออกมาได้แล้ว โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เลยก็ได้ 

ทั้งหมดนี้ก็คือมุมมองของทั้งสองท่านบทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อวงการการศึกษา แน่นอนว่าเราจะได้เห็นโฉมใหม่ของวงการการศึกษาทั้งในไทยและทั่วโลก โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคงไม่ใช่เทคโนโลยีสุดล้ำที่เข้ามาเปลี่ยนภาพลักษณ์และรูปแบบของการศึกษา แต่เป็น mindset ที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหรือเครื่องมือทางเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาช่วยให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด 

ซึ่งทาง AIS Academy ก็อยากจะช่วยสนับสนุนทุกการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกัน ผ่าน ‘LearnDi & ReadDi’ แพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกมิติที่เหมาะแก่ทุกองค์กรและผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูข้อมเพิ่มเติมได้ที่ https://www.aisacademy.com/ 


บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดินหน้าการเงินดิจิทัล บทเรียนจากไทยสู่เพื่อนอาเซียน สรุปความเห็นจากผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

ภายในงาน Singapore Fintech Festival 2024 คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองอันน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นทางการเงินดิจิทัลของไทย ทั้งในเรื่องความท้า...

Responsive image

เจาะลึก Semiconductor ทำไมทุกประเทศต้องแย่งชิง?

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปสำรวจ Semiconductor เทคโนโลยีที่อยู่ทุกที่ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนถึง AI ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญหรือผลกระทบต่อโลกอย่างไร ไปทำความรู้จักกัน!...

Responsive image

อินเดียทะยานสู่ $25 ล้านล้าน กับเส้นทางเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนด้วย Digital Supercycle

การเดินทางของอินเดียในฐานะเศรษฐกิจเกิดใหม่ กำลังมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม จากเป้าหมายเศรษฐกิจมูลค่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สู่วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการบรรลุ 25 ล้านล้า...