ปลดล็อคบทบาทผู้ผลิตพลังงาน เมื่อผู้บริโภค ‘ผลิตไฟฟ้าใช้เอง’ เริ่มที่โครงการ T77 ของแสนสิริ | Techsauce

ปลดล็อคบทบาทผู้ผลิตพลังงาน เมื่อผู้บริโภค ‘ผลิตไฟฟ้าใช้เอง’ เริ่มที่โครงการ T77 ของแสนสิริ

ทุกวันนี้เราใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากมาย แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญของเทคโนโลยีมาตลอดคือพลังงานนั่นเอง ซึ่งเวลานี้ เรามีอัตราการใช้พลังงานพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมมาก และเกี่ยวพันกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไทยและอีกหลายประเทศเลือกลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล

แต่ปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้เรามีทางเลือกในการสร้าง Platform มาลดการพึ่งพาโครงสร้างขนาดใหญ่เพื่อผลิตพลังงาน และคืนสิ่งแวดล้อมดีๆ ให้กับคนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่านี้คือ ‘Blockchain’ อันนำไปสู่นวัตกรรมการจัดการพลังงานเทรนด์ใหม่ที่ทั่วโลกกับจับตามอง

'Decentralisation' การกระจายศูนย์สร้างความมั่นคงทางพลังงาน

การผลิตพลังงานที่เคยเกิดขึ้นนั้นมาจากแหล่งผลิตพลังงานขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าจากน้ำมัน ถ่านหิน รวมถึงเขื่อน ซึ่งโรงไฟฟ้าจากน้ำมันและถ่านหินมีปัญหาเรื่องการปล่อยมลพิษ ส่วนเขื่อนแม้จะทำหน้าที่กักเก็บน้ำ แต่การสร้างเองก็กินพื้นที่ป่าไปมหาศาล การสร้างเขื่อนจึงไม่ใช่คำตอบของการผลิตไฟฟ้า

การพึ่งพาแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ทำให้เกิดการรวมศูนย์ด้านการผลิตพลังงาน ซึ่งไม่เพียงแต่ผลเสียด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเกิดปัญหาด้านการจัดการด้วย เช่น การบำรุงรักษาสถานที่ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ทุนมาก การจัดการพลังงานส่วนเกินที่ไม่มีประสิทธิภาพ และกรณีร้ายแรงที่สุดอย่างเมื่อเกิดภัยพิบัตในพื้นที่แหล่งผลิตพลังงาน ย่อมส่งผลกระทบต่อการผลิตพลังงานป้อนสู่เขตเมือง อันส่งผลต่อทุกชีวิตอย่างแน่นอน

ดังนั้น เพื่อป้องกันเหตุที่อาจเกิดขึ้นและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการ จึงเกิดแนวคิดการผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralisation) ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมผลิตพลังงานแจกจ่ายกันและกัน รวมถึงส่งกลับสู่ระบบใหญ่ของประเทศได้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านการบันทึกข้อมูลรายธุรกรรมอย่าง ‘Blockchain’ นั่นเอง

'Blockchain' เทคโนโลยีส่งเสริมการกระจายศูนย์ด้วย P2P

สาเหตุที่ Blockchain เป็นคำตอบของแนวคิดการ Decentralisation ด้านพลังงาน เพราะคุณสมบัติด้านการจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้โดยตรง ไม่ต้องอาศัยตัวกลางและดำเนินการได้โดยอัตโนมัติ จึงรองรับการทำธุรกรรมแบบ Peer-to-peer (P2P) ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในธุรกิจการเงิน และยังเป็นพื้นฐานของนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจอย่าง Cryptocurrency อีกด้วย

สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน สามารถนำ Blockchain มาเป็น Platform รองรับการขายพลังงานระหว่างเพื่อนบ้านและอาคารต่างๆ ได้โดยตรงด้วยการพัฒนาเป็น Smart Contract นวัตกรรมจาก Blockchain ที่อนุมัติการทำธุรกรรมตามเงื่อนไขโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดเก็บ ใช้งาน และแลกเปลี่ยนระหว่างกันจะถูกควบคุมอย่างเป็นอัตโนมัติและมีมาตรฐานเพื่อสมดุลระหว่าง Demand และ Supply

ระบบนี้พัฒนาในด้านพลังงานเพื่อรองรับการใช้ที่หลากหลายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมองว่าในอนาคต ทุกคนสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกในธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมได้ แต่กลับมีความต้องการใช้แตกต่างกัน เช่น บ้านเรือนอาจใช้พลังงานน้อยกว่าที่ผลิตได้ ส่วนสถานพยาบาลอาจจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาซึ่งมากกว่าที่ผลิตได้เอง จึงต้องมีระบบแลกเปลี่ยนที่เป็นอัตโนมัติและยุติธรรมต่อทุกฝ่ายเกิดขึ้นมานั่นเอง

จาก Consumer เป็น 'Prosumer' เทรนด์ใหม่ที่ทุกคนช่วยกันผลิต

การ Decentralise ทางพลังงานทำให้เกิด Platform ที่เปลี่ยนการทำธุรกรรมอันซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่าย ทุกคนจึงสามารถเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง และส่งพลังงานที่เหลือจากการใช้งานคืนสู่ระบบใหญ่และขายให้เพื่อนบ้านได้ จึงมีสถานะเป็น Prosumer อันเกิดจากการเป็นผู้ผลิต (Produce) และผู้บริโภค (Consumer) ในเวลาเดียวกัน

Prosumer เป็นส่วนสำคัญของการ Decentralise ด้านพลังงานเพราะเป็นทั้งผู้ใช้และผู้ร่วมผลิตพลังงานให้ใช้งาน ซึ่งในอนาคตเมื่ออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการผลิตพลังงานอย่างแผง Solar Cell, แบตเตอรี่ และสายส่งไฟฟ้ามีให้ใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ผู้บริโภคก็พร้อมจะเข้าสู่ Platform และกลายเป็น Prosumer ด้านพลังงานลดการพึ่งพาแหล่งผลิตขนาดใหญ่ ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานด้วยการลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

Sansiri และ BCPG กับการนำร่อง 'P2P Energy Trading บน Blockchain เต็มรูปแบบ' ที่โครงการ T77

เพื่อให้การกระจายศูนย์ทางพลังงานเกิดขึ้นได้จริงในประเทศ แสนสิริ ผู้พัฒนาอสังหาริมรัพย์ชั้นนำ จึงได้จับมือกับ BCPG บริษัทด้านพลังงานทางเลือกของไทย และพันธมิตร นำร่องโครงการแลกเปลี่ยนไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วย Blockchain เป็นครั้งแรก โดยใช้พื้นที่ของโครงการ T77 หรือทาวน์สุขุมวิท 77 เป็นพื้นที่นำร่อง โดยนับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการนี้ มีอาคารที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4 แห่ง มีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าภายในโครงการ และเชื่อมโยงกับสายส่งของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยอาคาร 4 แห่งมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า (Load Profile) และศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน

โดยเบื้องต้น ไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก Solar Rooftop ของแต่ละอาคาร จะนำไปใช้ภายในก่อน ทำให้แต่ละอาคารใช้ไฟฟ้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าที่เคยซื้อจากระบบใหญ่ หลังจากนั้นหากมีไฟฟ้าส่วนเกินจากการผลิตใช้ในอาคาร แต่ละอาคารก็สามารถนำไฟฟ้าไปแลกเปลี่ยนกันภายใน Platform ด้วยระบบ P2P และหากยังมีเหลืออีก ก็จะขายเข้าสู่ระบบกักเก็บพลังงานส่วนกลาง เพื่อขายในเวลาอื่น ซึ่งหากระบบกักเก็บพลังงานส่วนกลางเต็ม ไฟฟ้าก็จะถูกส่งขายไปยังระบบของ กฟน. ซึ่งสำหรับอาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าเกินความต้องการ ก็จะเลือกซื้อจากระบบ P2P ตามด้วยระบบกักเก็บพลังงาน และซื้อจาก กฟน. ตามลำดับ

สำหรับการแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้าระหว่างอาคารใน Platform ทุกฝ่ายเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านระบบ Smart Contract โดยผู้ที่มีความต้องการจะเลือกซื้อด้วยราคาต่ำที่สุด ส่วนผู้ขายก็จะขายด้วยราคาสูงที่สุด ซึ่งใน Platform นำร่องนี้ จะทำธุรกรรมผ่าน Sparkz Token เงินตราที่แลกไว้เพื่อซื้อขายพลังงานไฟฟ้าบน Platform โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Cryptocurrency และไม่มีผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนใดๆ

นอกจากนี้ ระบบทั้งหมดยังเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติและตอบสนองแบบ Real-Time สามารถตรวจสอบได้ด้วยแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ตที่ดูได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และ Smartphone อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ซึ่ง Platform นี้ทางแสนสิริและ BCPG ได้พัฒนาร่วมกับ Power Ledger ซึ่งเป็นผู้นำด้านการใช้ Blockchain เพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานโดยเฉพาะ

โครงการแลกเปลี่ยนพลังงานแบบ P2P บน Blockchain โครงการ T77 นั้นใช้นวัตกรรมด้านการจัดการที่หลายประเทศเริ่มให้การยอมรับในระดับสากล โดยประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายเมืองทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ และอินเดีย

โครงการนำร่องแลกเปลี่ยนไฟฟ้าสะอาดแบบ P2P ด้วย Blockchain จากแสนสิริและ BCPG จึงเป็นโมเดลที่ช่วยนำพาประเทศไทยสู่การกระจายศูนย์ ทำให้คนไทยได้ใช้ไฟฟ้าในราคาต่ำลง ช่วยลดมลภาวะและปริมาณ Carbon ด้วยการจัดการแบบใหม่และการใช้พลังงานสะอาด และเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นับถอยหลัง Bitcoin Halving Month พร้อมแนวคิดการลงทุนของคนรุ่นใหม่ ในงาน Bitkub Meetup 2024: The Halving Month

กลับมาอีกครั้งกับงาน Bitkub Meetup 2024 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ: The Halving Month ร่วมนับถอยหลังสู่เดือนแห่ง Bitcoin Halving บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงประวัติศาสตร์ของ Cryptocurrency แ...

Responsive image

6 เทรนด์ Gen AI ฉบับเข้าใจง่าย จาก Accenture พร้อมเคสการใช้งานจริงในภาคธุรกิจ

รวมประเด็นน่ารู้จาก Accenture ที่จะทำให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจการนำ Generative AI ไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น 6 เทรนด์ Gen AI พร้อมเคสการใช้งานจริงในภาคธุรกิจ, ผู้บริหารระดับ C-su...

Responsive image

ทักษะ AI ไม่มีไม่ได้แล้ว สำรวจพบใครใช้ AI เป็น เงินเดือนเพิ่ม อนาคตสดใส

ทักษะ AI วันนี้ไม่มีไม่ได้แล้ว ใครเก่ง AI นายจ้างไทยยินดีจ่ายเงินเดือนเพิ่มให้ 41% ด้านคนทำงานเร่งพัฒนาทักษะ หวังสร้างงาน สร้างอาชีพให้ดีขึ้น...