US vs China : ศึกษาขุมกำลังจีน ผ่านมุมมองนักลงทุน | Techsauce

US vs China : ศึกษาขุมกำลังจีน ผ่านมุมมองนักลงทุน

อีกหนึ่ง session ในงาน Techsauce Global Summit 2019 ที่ฮอตฮิตไม่แพ้หัวข้ออื่นก็คือ session ‘The Race of Superpowers: US Versus China’ บน main stage วันที่สอง ที่พูดคุยถึงศึกด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระหว่างสองมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่กำลังร้อนระอุในขณะนี้

โดยมี Dr. Gang LU ผู้ร่วมก่อตั้ง Technode เป็นผู้ดำเนินการพูดคุย ร่วมกับ panelist สองท่าน คือ Riddhiman Das นักลงทุนใน Ant Financial (Alibaba) และ Joe Chang, partner ของ 8 Roads ในมุมมองของนักลงทุนต่อสถานการณ์ Trade war และร่วมถกถึงข้อได้เปรียบของจีนในศึกครั้งนี้

อนาคตอันไม่แน่นอน

Riddhiman Das เปิดประเด็นว่า Trade war ที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างจีนและอเมริกา เป็นปัญหาด้าน policy ที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดภาวะความไม่มั่นคงขึ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อมั่นว่าแม้สถานการณ์นี้จะยังคงดำเนินต่อไปอีกสักพักใหญ่ สุดท้ายเราก็น่าจะได้เห็นเส้นทางที่ชัดเจนขึ้นในอนาคตอันใกล้

Joe Chang เสริมว่า "ความไม่มั่นคง" ในอีกนัยหนึ่ง ถือเป็นความท้าทายที่ต้องข้ามผ่านสำหรับผู้ประกอบการ ส่วนตัวเองในฐานะ Venture Capitalist ที่ต้องมองความเป็นไปได้ในระยะยาว เขาเห็นว่าข้อดีของ Trade war คือ การช่วยพัฒนาขีดความสามารถและนวัตกรรมทั้งในอเมริกาและจีนให้เติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุน

พลังของจีนคือกำลังคนและข้อมูล

จีนมีขุมกำลังที่ทำให้ได้เปรียบมาก นั่นก็คือ ความหัวกะทิของคนที่เป็น Tech Talent ในประเทศและความขยันขันแข็งที่ฝังรากในวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยผลักดันให้จีนกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม Tech ในเกือบทุกด้าน

Joe กล่าวว่า ด้วยจำนวนข้อมูลมหาศาลที่จีนเก็บรวบรวมได้ ยิ่งทำให้อัลกอริทึ่มสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เขายกตัวอย่าง การทดสอบรถยนต์ไร้คนขับในเมืองกวางโจว ที่ให้ผลลัพท์ดีกว่าการทดสอบในลักษณะเดียวกันที่เมือง Fremont รัฐ California เนื่องด้วยความแตกต่างด้านการจราจรและจำนวนข้อมูลที่มี

‘5G’ คือ อีกหนึ่งประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึง เนื่องจากมหาอำนาจทั้งสองประเทศต่างแข่งขันกันพัฒนา 5G โดยทั้งสองเห็นตรงกันว่า 5G จะทำให้เกิด use case และนวัตกรรมใหม่ๆ ตามมาอีกมาก

Riddhiman กล่าวว่า IoT (Internet of Things) จะเกิดขึ้นได้จริงด้วยเทคโนโลยี 5G เช่น การนำ IoT มาช่วยเชื่อมต่อการซื้อสินค้าออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน

'Facial biometric' หรือการจำจดไบโอแมทริกซ์ทางใบหน้า คืออีกหนึ่งจุดแข็งของบริษัทสัญชาติจีน โดย Riddhiman กล่าวว่า จีนเป็นเพียงประเทศเดียวให้ขณะนี้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมให้สามารถจดจำ facial biometrics ได้อย่างแม่นยำ สืบเนื่องจากจำนวนข้อมูลมหาศาลที่จีนรวบรวมจากลูกค้าที่ใช้บริการต่างๆ

มุ่งเป้าขยายสู่ตลาดเอเชีย

เป้าหมายแรกของบริษัทสัญชาติจีนส่วนใหญ่ เมื่อมองหาทางขยายสู่ต่างประเทศ มักจะหนีไม่พ้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโซนเอเชีย เพราะมีรากวัฒนธรรมที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับสังคมจีนเมื่อเทียบกับประเทศจากฝั่งตะวันตก รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคก็มีความคล้ายกันในแง่ของความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ และเปิดกว้างสำหรับการทดลองสิ่งใหม่

อย่างไรก็ตาม Riddhiman ชี้ว่า ความท้าทายประการแรกที่บริษัทต่างชาติต้องเจอ ในการขยายสู่ตลาดเอเชีย ก็คือ การปรับเทคโนโลยีให้สอดรับกับผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เขายกตัวอย่าง WeChat และ Whatsapp ที่ขยายไปสู่ตลาดอินเดียว่า เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมาก Whatsapp จึงพัฒนาเทคโนโลยีช่วยย่อไฟล์ที่ส่งผ่าน app ให้เล็กลงก่อน เพื่อตอบสนองความต้องการและความถี่ในการส่งข้อมูลให้รวดเร็ว ขณะที่ WeChat ยังส่งข้อมูลได้ช้ากว่า จึงยังไม่สามารถครองใจผู้ใช้งานในอินเดียได้

มุมมองนักลงทุน

ทั้งสองท่านได้แชร์มุมมองในฐานะนักลงทุนเป็นการปิดท้ายว่า สิ่งที่พวกเขามองหาใน startup ก่อนจะตัดสินใจลงทุนด้วยก็คือ ‘ทีม’ เพราะทุกคนสามารถมีไอเดียเจ๋งๆ ได้ แต่มันต้องอาศัยความสามารถของทีมในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและพัฒนา business plan ให้เกิดขึ้นจริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...