ย้อนเส้นทาง Music Streaming ในไทย ใครอยู่ ใครไป และใครจะปัง? | Techsauce

ย้อนเส้นทาง Music Streaming ในไทย ใครอยู่ ใครไป และใครจะปัง?

นับตั้งแต่ Steve Jobs ปฏิวัติวงการเพลงด้วยการสร้างสรรค์ iPod และร้านขายเพลงออนไลน์อย่าง iTunes Store การฟังเพลงก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น ถูกลิขสิทธิ์ และมีราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ จนรูปแบบการฟังเพลงพัฒนามาถึงยุคของ Music Streaming ลักษณะที่เหมือนการเช่าฟังเพลง ที่เราสามารถฟังเพลงออนไลน์ผ่านแอปฯบนมือถือแทบเล็ต หรือบนคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังมีการจัดแนวเพลง เรียงเพลย์ลิสต์ต่างๆ มีทั้งแบบให้ฟังฟรีแต่มีโฆษณาระหว่างเพลง และเหมาจ่ายรายเดือนแล้วฟังเท่าไหร่ก็ได้ พร้อมฟังแบบไม่อั้น และเมื่ออินเตอร์เน็ตบนมือถือมีความเร็วมากขึ้น เข้าสู่ยุค 3G 4G เทคโนโลยี Streaming ก็เปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมในการจ่ายเงินฟังเพลงของคนไทย

จุดเริ่มต้น Music Streaming ในไทย

Deezer

ปี 2012 Deezer จากฝรั่งเศส ได้เปิดตัวในฐานะผู้ให้บริการ Music Streaming เจ้าแรกในไทย นำเข้ามาโดยค่ายมือถืออย่าง dtac ในชื่อ dtac Deezer พร้อมเปิดแพ็คเกจให้ผู้ใช้งานเครือข่าย dtac สามารถฟังเพลงได้และเป็นแอปที่ได้รับความนิยมอย่างมากระยะหนึ่งในบ้านเรา แต่แล้วในปี 2015 dtac ก็ได้ถอดแพ็คเกจ dtac Deezer ออกไป

ปัจจุบัน Deezer ยังคงให้บริการในไทย โดยมีคลังเพลงมากกว่า 40 ล้านเพลงทั้งเพลงไทยและต่างประเทศมีคุณภาพเสียงชัดสุดที่ 320kbps และมีโหมด Radio Channel สำหรับฟังเพลงฮิต ๆ จากคลื่นวิทยุที่จัดอันดับไว้ให้ โดยแบ่งตามประเภทของเพลงอย่างชัดเจน รวมถึงให้เราสามารถสร้าง Playlist หรือเลือกฟังเพลงเองได้อีกด้วย และที่สำคัญยังสามารถฟังเพลงแบบออฟไลน์ได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้ Deezer เป็นแอพฯ ฟังเพลงออนไลน์แบบ Streaming ที่ใช้งานได้ทั้งบน PC และมือถือ  มีจุดเด่นตรงที่ Deezer มีคลังเพลงเก่าๆ ที่หาฟังยาก ไปจนถึงมีบริการเพลงของค่าย RS ให้คนในยุค 90s มีแนะนำแนวเพลงแปลกๆ ที่หาฟังได้ยาก เช่น เพลงในสไตล์ละติน, แอฟริกัน, บราซิลเลียน รวมถึง Original Soundtrack ที่มาจากเกมหรือภาพยนตร์ เป็นต้น

Deezer มีค่าบริการ 2 แบบได้แก่ ลูกค้าพรีเมียมจะมีค่าบริการ 155 บาทต่อเดือน และสามารถใช้งานได้ฟรีใน 30 วันแรก ส่วนลูกค้าครอบครัวค่าบริการอยู่ที่ 235 บาทต่อเดือน

KKbox

ปี 2013 KKbox  Music Streaming สัญชาติไต้หวันได้เข้ามาทำการตลาดในไทย โดย AIS ได้นำเข้ามาให้บริการ พร้อมร่วมมือกับค่ายใหญ่อย่าง GMM Grammy โดยจุดเด่นคือมีเพลงไทยมากกว่า 10 ล้านเพลง หลักๆคือเพลงจากค่าย Grammy  มีฟังก์ชั่นวิทยุให้ได้ฟังเพลงแนวคล้ายกันต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ และความสามารถฟังพร้อมกันที่ให้ฟังเพลงพร้อมกับเพื่อนได้ โดยคิดค่าบริการเดือนละ 89 บาท แต่ให้บริการเฉพาะผู้ใช้ AIS เท่านั้น

แต่ไม่นานนักในปี 2015 KKbox ก็ต้องประกาศยกเลิกการให้บริการในประเทศไทยโดยหมดสัญญากับ AIS พร้อมกับมีข่าวลือว่า AIS เตรียมมจับมือกับ Spotify

เปิดฉากผู้เล่นรายใหม่

ในครึ่งปีแรกของปี 2015 เป็นช่วงที่มี Music Streaming รายใหม่เข้ามาเปิดให้บริการในไทยหลายราย รวมทั้งการเปิดตัวของ Apple Music ที่สามารถสร้างฐานผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้เล่นบางรายอย่าง KKbox ต้องถอนตัวออกไป

Tidal

Tidal เข้ามารุกตลาดประเทศไทยในเมษายน 2015 โดยเป็นบริการ Music Streaming ที่ชูจุดขายหลักคือบริการคุณภาพเพลงที่สามารถฟังได้ระดับ Hi-Fi ไม่บีบอัด และมี MV ความละเอียดสูง อีกทั้งยังประกาศว่าตนเองนั้นเป็น "บริการเพลงออนไลน์ที่ศิลปินเป็นเจ้าของ" โดยจ่ายค่าตอบแทนที่ยุติธรรมกับศิลปิน มีระบบแนะนำศิลปินใหม่ๆ และมีบทสัมภาษณ์พิเศษจากศิลปิน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ ฟังเพลย์ลิสที่จัดโดยศิลปิน สามารถฟังแบบออฟไลน์ หรือค้นหาเพลงที่ได้ยินอยู่ในขณะนั้น เหมือน Shazam แต่ยังมีเพลงไทยน้อย ไม่มีค่าย RS และ Grammy ค่าบริการ 179 บาท สำหรับการฟังเพลงในระดับ High และ 358 บาท สำหรับการฟังเพลงแบบ Hifi

LINE Music

พฤษภาคม 2015 LINE ผู้นำด้านแพลตฟอร์มบนมือถือได้เปิดตัว LINE Music บริการ Music Streaming ที่มีจุดเด่นที่เป็นบริการสำหรับคนไทย ซึ่งเปิดบริการก่อนญี่ปุ่น โดยมีเพลงจากค่าย  Sony RS Spicy Disc และ BEC Tero ให้ฟังอย่างจุใจ โดยในตอนหลังในร่วมมือกับ Grammy  นำเพลง 50,000 เพลงมาใส่ในบน LINE Music แต่ยังคงมีเพลงต่างประเทศค่อนข้างน้อย โดยสามารถบันทึกเพลงฟังแบบ Offline ได้ นอกจากนี้ยังเป็นบริการที่เชื่อมโยงกับแอป LINE  ผู้ใช้ LINE Music สามารถแชร์เพลงให้เล่นใน LINE ได้ โดยผู้รับที่ไม่ได้เป็นสมาชิก LINE Music จะฟังเพลงได้เพียง 30 วินาที พร้อมคิดค่าบริการแสนถูกอยู่ที่ 60 บาทต่อเดือน แต่ในที่สุด LINE MUSIC ก็ไปไม่ถึงฝั่ง ประกาศปิดตัวลงในปี 2016

Apple Music

และในเดือนมิถุนายน 2015 ค่ายผู้ปฎิวัติวงการเพลงอย่าง Apple ก็เข้าสู่สนาม โดยเปิดตัว Apple Music ที่ถูกรวมเข้าไปอยู่ในแอป Music บนอุปกรณ์ iOS ทำให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์จากค่ายนี้ไม่ต้องทำการดาวน์โหลดแอปฯใดๆ และในตอนหลังก็เปิดให้  Android สามารถใช้งานได้ด้วย ความได้เปรียบของ Apple คือ มีฐานข้อมูลของนักดนตรี ศิลปิน มีจำนวนเพลงกว่าล้านเพลง พร้อม MV ให้ชม อีกทั้งยังมีอัลบั้มแบบเอ็กซ์คลูซีฟที่หาฟังได้เฉพาะที่ Apple Music เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น Taylor Swiftพร้อมกับมมีสถานีวิทยุสดของ Apple เอง มีการจัด Playlist และฟีเจอร์การฟังเพลงแบบออฟไลน์

พร้อมกันนี้ Apple Music ยังมีฟีเจอร์ติดตาม Post ของศิลปินที่เราสนใจ เรียกว่า Connect Post หากเราติดตามศิลปินคนใดอยู่ ก็จะได้รับการอัพเดทเหมือนบนฟีด Facebook ด้านคุณภาพเสียง Apple ไม่ได้บอกอย่างเป็นทางการว่ามีคุณภาพเท่าไหร่ แต่มีการคาดเดาว่าอยู่ที่ 256Kbps AAC ซึ่งเป็นคุณภาพเดียวกับการซื้อเพลงจาก iTunes สำหรับค่าบริการมี 3 แบบด้วยกัน 1. แบบบุคคล 129 บาทต่อเดือน 2. แบบครอบครัว 199 บาท/เดือน และแบบนักศึกษา 69 บาทต่อเดือน ทดลองใช้งานฟรี 3 เดือน

JOOX

ปี 2016 JOOX โดย Sanook.com ได้เข้ามาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยชูจุดเด่นของเพลงที่มีให้บริการมากกว่า 3.5 ล้านเพลงจากค่ายเพลงกว่า 100 ค่ายทั่วโลก รวมทั้งค่ายในไทยอย่าง Grammy,Small Room, Spicy Disc,BEC-Tero และอีกมาก มีเพลงไทยมากกว่าแอปฯอื่นๆ สามารถฟังเพลงเก่าๆย้อนหลังไปได้ทั้งในยุค 80s - 90s อีกทั้ยงยังให้บริการฟรี และยังสามารถฟังเพลงแบบออฟไลน์ได้ด้วย แต่หากต้องการฟังเพลงคุณภาพสูง หรือบางเพลงที่ไม่เปิดให้ฟังฟรี ต้องสมัครเป็นสมาชิก VIP แต่หากไม่ต้องการจ่ายเงินก็มีกิจกรรมที่แลกรับวัน VIP เช่นการแชร์เพลงเป็นต้น ฟังได้ทั้งบนมือถือ และ PC

นอกจากนี้ยัง MV มีการจัด Playlists จัดอันดับเพลงฮิต และยังมี JOOX Live ซึ่งบริการถ่ายทอดสดของศิลปิน ฟีเจอร์คาราโอเกะ พร้อมกับช่องของศิลปิน โดยเน้นศิลปินไทย ด้านคุณภาพเสียง JOOX สำหรับผู้ใช้ฟรีอยู่ที่ 128 kpbs ส่วนแบบ VIP อยู่ที่ 192kbps โดยการสมัครสมาชิก ถ้าเป็นรายสัปดาห์เริ่มต้น 69 บาท รายเดือน 129 บาท รายสามเดือน 349 บาท สมาชิกครึ่งปี 639 บาท และรายปี 1,099 บาท ขณะเดียวกัน JOOX ยังมีการจัดกิจกรรมนอกสถานที่บ่อยครั้ง ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถเข้ามาครองตลาด Music Streaming ในไทย

น้องใหม่ล่าสุด

Spotify

และในวันที่ 22 สิงหาคม 2017 ผู้เล่นรายล่าสุดก็ได้เข้าสู่สนามรบของ Music Streaming ในไทย นั่นก็คือ Spotify คู่แข่งที่น่ากลัว ที่มีฐานผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า Apple Music โดย Spotify  สามารถตอบโจทย์กลุ่มนักฟังเพลงได้เกือบทุกแนว โดยเฉพาะเพลงต่างประเทศ  ในกลุ่มเพลงจากศิลปินอินดี้ Spotify มีเครือข่ายที่กว้างขวาง

โดยจุดเด่นของ Spotify ที่หลายคนว่ากันคือ การจัด Playlist ที่ถูกใจคนฟัง โดยมีการเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการรายอื่นยังไม่มี โดยนำ  AI (Artificial Intelligence) มาวิเคราะห์พฤติกรรมของคนฟัง เพื่อที่จะนำเสนอเพลงที่ตรงใจ โดยการให้บริการนั้นคล้ายกับ Joox ที่เปิดให้ฟังฟรี แต่เป็นการฟังแบบสุ่ม (Shuffle) เท่านั้น ด้านคุณภาพเสียง Spotify นั้นมีคุณภาพเพลงที่สูงทีเดียว อยู่ 320Kbps ซึ่งสูงกว่า Apple Music และ Joox ค่าสมัครสมาชิกเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 129 บาทต่อเดือ แบบครอบครัวราคา 199 บาทต่อเดือน

การเข้ามาของ Spotify นั้นถูกกล่าวถึงไม่น้อย ว่านี่แหละ Music Streaming ที่จะมาล้ม JOOX ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า Spotify จะรุกตลาดไทยอย่างไรบ้าง

แม้ว่าคนไทยจะหันมาฟังด้านเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์กันมากขึ้น พร้อมกับมีอินเทอร์เน็ตที่ใช้ได้ Data ได้แบบต่อเนื่องยากจะหมด บริการ Music Streaming ซึ่งก็มีค่าบริการแบบรายเดือนที่ไม่แพงรวมทั้งฟรีจึงเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ในทางเดียวกันผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากเช่นกัน ว่าผู้ให้บริการไหนจะตรงใจและทำให้จ่ายน้อยและคุ้มที่สุด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...