พาฟังประเด็นนวัตกรรมอาหารเพื่อมนุษยชาติ งาน Food Innopolis 2019 พาครัวไทยสู่ครัวโลก | Techsauce

พาฟังประเด็นนวัตกรรมอาหารเพื่อมนุษยชาติ งาน Food Innopolis 2019 พาครัวไทยสู่ครัวโลก

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 14 ของโลก โดยสามารถผลิตวัตถุดิบอาหารเพื่อป้อนโลกถึง 80% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 30 พันล้านเหรียญ รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญของการก่อตั้งเมืองนวัตกรรมแห่งอาหาร หรือ ‘Food Innopolis’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มงบค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ดึงดูดให้หน่วยงานวิจัยภาครัฐและเอกชนต่างประเทศเข้ามาลงทุนวิจัยในไทย เพื่อให้การสนับสนุน และเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ Startups ธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) บริษัทข้ามชาติที่อยู่ในวงจรห่วงโซ่อาหาร การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของอุตสาหกรรมอาหารในการเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ และการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารโลก

เพื่อเตรียมการสู่อนาคตและสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่กําหนดให้อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งใน ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมืองนวัตกรรมอาหาร สังกัดสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสมาคมการ จัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้จัดงานประชุมนานาชาติ Food Innopolis International Symposium 2019 ขึ้นเป็นครั้ง 2 เมื่อวันที่ 9 – 14 พฤศจิกายน 2562 ตอกย้ำความสําคัญของนวัตกรรมอาหาร กระบวนการการเกษตรอุตสาหกรรม และกระบวนการการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

โดยปีนี้มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ท่าน จากประเทศไทยและจากทั่วโลก เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและถ่ายทอดประสบการณ์ ภายใต้แนวคิด “FROM TRADITION TO INNOVATION – The Art & Science of Food”

ผศดรอัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รักษาการผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ กํากับดูแลและบริหารงานเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า “ปัจจุบันอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอาหารในประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 8.4 และมีสัดส่วนแรงงานสูงถึง 40 ล้านคน จากจํานวน ประชากรในประเทศไทย 69 ล้านคน นวัตกรรมที่เข้ามาและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงมีความสําคัญและเกี่ยวข้องกับทุกวงการ ในการนี้อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรจําเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนยุคใหม่ ที่ต้องการอาหารสะอาด สะดวก และรวดเร็ว จํานวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนที่มีคุณภาพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นเรื่องสําคัญที่ทุกฝ่ายต้องมาหารือและร่วมกันเพื่อมองหาทางออกที่ดีที่สุด ถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่สําหรับอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่จะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรองรับโลกในอนาคต”

ด้าน มร.แบรดลีย์ คริท ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัย Future 50 Research, Institute for the Future (IFTF), U.S.A ได้คาดการณ์ภาพอนาคตของอาหารว่า สิ่งที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารในอนาคตมี 2 ประการใหญ่ๆ ประการแรก การนําอาหารเข้าสู่ระบบดิจิทัลจะก่อให้เกิดสงครามทรัพย์สินทางปัญญา มีผลต่อการส่งเสริมการสร้างสรรค์ และเปลี่ยนแปลงลักษณะของนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไป ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกําลัง การเพิ่มแรงกดดันต่อแรงงานภาคเกษตร และการเพาะปลูกพืชแบบดั้งเดิม รวมถึงสร้างความเสี่ยงมหาศาลพร้อมแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบกับอีกหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความอดอยาก สงคราม และสภาพการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาต่างๆ ทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในกรรมวิธีการผลิต การบรรจุหีบห่อ และการจําหน่ายอาหาร รวมทั้งจําเป็นต้องมีกระบวนการแนวใหม่ในการสร้างนวัตกรรม

“เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภูมิศาสตร์ทางอาหารใหม่ ไปจนถึงการยกระดับแพลตฟอร์มการผลิตอาหาร และดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ ซึ่งนี่จะช่วยแก้ปัญหาความอดอยาก ปัญหาด้านสุขภาพ วิกฤติสภาพอากาศ อีกทั้งประเด็นความท้าทายอื่นๆ ที่โลกต้องเผชิญ” 

ทางด้าน เอราน โกรนิช (Eran Gronich) ซีอีโอ บริษัท Flying Sparks ให้เหตุผลว่าแมลงเป็นโปรตีนทางเลือกที่ยั่งยืนและจำเป็นอันเนื่องมาจาก ประการแรก การทำฟาร์มปศุสัตว์กำลังทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยใช้พื้นที่เกษตรกรรมมากถึง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของมลภาวะก๊าซมีเทน อีกทั้งเป็นการใช้แหล่งน้ำ ดินจำนวนมหาศาล และก่อให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก ประการที่สอง โปรตีนที่ได้จากสัตว์เป็นอันตรายกับสุขภาพ เนื่องจากระดับฮอร์โมน การใช้ยาปฏิชีวนะ และย่าฆ่าแมลงต่างๆ รวมถึงการทำประมงเกินขนาดกำลังส่งผลกระทบทำลายมหาสมุทรอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการบริโภคโปรตีนทางเลือกจากแมลงนับว่าเป็นอีกทางออกของอาหารในอนาคต

Thai Union เป็นธุรกิจของคนไทยที่ส่งออกปลาทูน่าเป็นอันดับ 1 ของโลก รวมถึงเป็นผู้แปรรูปปลาทูน่าในปริมาณสูงสุด และผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งปริมาณสูงสุดแก่สหรัฐอเมริกา ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชนกล่าวว่า ไทยยูเนี่ยนได้มีการนำ Deep Tech ที่ต้องใช้นวัตกรรมที่มีรากฐานจากการวิจัย ตั้งแต่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน มากกว่าการปรุงกลิ่น สี หรือรส แต่ยังครอบคลุมจุดอื่นๆ อีกทั้งการอัพเกรดกระบวนการอุตสาหกรรมของไทย

โดยโปรตีนทดแทนเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งทัศนคติที่เปลี่ยนไปประกอบด้วยนักลงทุนที่ให้ความสำคัญมากขึ้น โดยคนอเมริกันกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ ให้ความเห็นว่าอาหารที่ทำด้วยพืชมีคุณค่าทางโภชณาการมากกว่าอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ อีก 76 เปอร์เซ็นต์ ให้ความเห็นว่าอาหารที่ทำจากพืชนั้นดีต่อสุขภาพ

รูปแบบการทาน Flexitarian diet นั้นเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเทรนด์อาหารในอนาคต ถือเป็นอีกวิธีการลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา โดยหลักแล้วเป็นการทานมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น มีแนวโน้มที่เหมาะสมและเติบโต อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากผู้หญิงเป็นหลัก

คุณวรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า ว่า “TMA ในฐานะที่ผลักดันเรื่องการยกระดับขีดความสามารถของประเทศมาตลอดระยะเวลา 2 ปี ตระหนักดีว่าอุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ (Strategic Sector) สําคัญของไทย เพราะเราเป็นประเทศที่มีพื้นฐานอยู่บนเกษตรอุตสาหกรรม และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่มีความเป็นมายาวนานและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก จึงได้เข้ามาร่วมริเริ่มจัดการสัมมนาระดับนานาชาติ ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและต่างประเทศด้านนวัตกรรมอาหาร ทั้งด้านเทคนิคและการบริหารจัดการเข้ามานําเสนอมุมมองและกระบวนการ ในงานนี้ได้มีผู้เข้าร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ จากอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทําการประสานนโยบายเข้ากับการขับเคลื่อนธุรกิจ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม” 

เกี่ยวกับ Food Innopolis

Food Innopolis หรือเมืองนวัตกรรมอาหาร เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารแห่งหนึ่งของโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารของไทยเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการวิจัย และบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Food Innopolis ยังมีบริการในรูปแบบ Service Platform เพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมอาหารสําหรับบริษัทเอกชน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือจากเครือข่ายที่เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอาหารของ Food Innopolis จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...