สรุปผล Young-D Startup Ideation Contest เวทีโชว์ไอเดียนวัตกรรมสู่ธุรกิจที่ช่วยประเทศได้จริง | Techsauce

สรุปผล Young-D Startup Ideation Contest เวทีโชว์ไอเดียนวัตกรรมสู่ธุรกิจที่ช่วยประเทศได้จริง

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการแข่ง Pitching ที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับ Young-D Startup Ideation Contest การแข่งประชันไอเดียของ Startup ที่จัดโดย บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด และได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ โดยได้รับสมัคร Startup จากสถาบันการศึกษาในเครือข่าย U.REKA โครงการผลักดันการค้นคว้า Deep Tech มาร่วมแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายในงาน Money Expo 2019

แม้ว่าการแข่งขันนี้จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ก็ได้รับความสนใจจาก Startup ไม่น้อย ซึ่งแต่ละทีมได้นำนวัตกรรมที่พัฒนาจากเทคโนโลยีชั้นสูงมานำเสนอได้อย่างน่าสนใจ สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าชมงาน Money Expo 2019 ที่แวะเวียนมาชมและร่วมลุ้นว่า Startup รายใดบ้างที่จะคว้ารางวัลมูลค่ารวม 100,000 บาท

สำหรับผู้ชนะการแข่งขัน Young-D Startup Ideation Contest มีดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ - Space Walker จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Startup ด้าน HealthTech ผู้พัฒนาเครื่องมือช่วยฝึกกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - Greenery จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Startup ด้าน AgriTech ผู้พัฒนาภาชนะเลี้ยงต้นกล้าที่ลดการใช้น้ำและปุ๋ย พร้อมกับย่อยสลายได้ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 - Maker Playground จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Startup ด้าน EdTech/IoT Solution ผู้พัฒนา Coding Platform สำเร็จรูป สำหรับสร้าง Internet of Things Device ด้วย UI แบบ Diagram ที่ใช้งานง่าย

พูดคุยกับผู้บริหาร SCB และ Digital Ventures ผู้ผลักดันให้เกิด Young-D Startup Ideation Contest

หลังจากที่ได้ผู้ชนะทั้ง 3 ทีมแล้ว Techsauce ได้รับเกียรติให้พูดคุยกับคุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร, ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ ถึงความสำเร็จของ Young-D Startup Ideation Contest ที่ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองการสนับสนุน Deep Tech ของธนาคารไทยพาณิชย์ด้วย

คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร, ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์

บทบาทของ SCB ในการสนับสนุนเยาวชนผ่านการแข่งขันต่างๆ

คุณสุธีรพันธุ์ : ต้องเกริ่นก่อนว่าปัจจุบันภาคธุรกิจมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์จึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจผ่านการสนับสนุนกิจกรรมมากมาย เริ่มตั้งแต่ Accelerator โดยเริ่มที่ Digital Ventures Accelerator แต่สุดท้ายเราก็พบว่า Accelator ไม่ได้ตอบโจทย์เรา เราต้องการความลึกซึ้งมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการสนับสนุน U.REKA โครงการส่งเสริมภาคการศึกษาเพื่อค้นคว้า Deep Technology เพื่อพัฒนาภาคธุรกิจ

จุดสำคัญคือ U.REKA เป็นโครงการที่ต้องมีผู้ร่วมทีมวุฒิการศึกษาระดับ Ph.D แต่คราวนี้เราอยากจะสนับสนุนกลุ่มที่ Junior ลงมาหน่อย เลยเป็นที่มาของ Young-D Startup Ideation Contest

ทาง SCB มีแผนจะต่อยอดไอเดียจาก Young-D Startup Ideation Contest อย่างไรบ้าง

คุณสุธีรพันธุ์ : ในด้าน Digital ธนาคารไทยพาณิชย์มีอีกเป้าหมายที่ชัดเจนมากคือการเป็น Infrastructure ให้แก่คู่ค้า เรามองว่าบทบาทของธนาคารจะเปลี่ยนจากเรื่องของการเงินเป็นการให้บริการด้านเทคโนโลยีมากขึ้น แน่นอนว่าเรายังให้บริการทางการเงินอยู่ แต่ก็ต้องสามารถนำเสนอเทคโนโลยีแก่ลูกค้าได้ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องเข้าไปช่วยแก้ปัญหาบางอย่างไปจนถึงต่อยอดธุรกิจของลูกค้าให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทั้งภาคการเกษตร ภาคค้าปลีก หรือภาคบริการ ตัวอย่างการต่อยอดของเราก็มีเยอะ เช่น B2P ที่ร่วมมือกับทาง SCG

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เราจึงมีแผนสำหรับทุกทีมที่มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เราพร้อมที่จะจับคู่พวกเขากับ Partner และคู่ค้าของเรา ซึ่งน้องๆ หลายทีมมีศักยภาพที่จะสร้าง Infrasturcture ร่วมกับ SCB ได้

มุมมองของ SCB ต่อ Startup และผู้ประกอบการรุ่นใหม่

คุณสุธีรพันธุ์ : ในแง่ของ Startup Ecosystem ต้องกล่าวว่าประเทศไทยโตขึ้นมาก แต่เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียหรือเวียดนามอัตราการเติบโตของเราอาจจะยังไม่เท่าเค้าซึ่งก็มาจากหลายปัจจัย แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เรามองว่าการพัฒนาของเราต้องเป็นไปในเชิงลึกมากขึ้น ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึง Digital Ventures เข้าหาต้นน้ำของนวัตกรรมซึ่งคือภาคการศึกษา การร่วมมือกับภาคการศึกษาทำให้เราเห็นปัญหาว่าเราขาดพันธมิตร จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกับภาคเอกชนมากมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกับภาคการศึกษาของเราผ่านการสนับสนุนโครงการ U.REKA ยังถือว่าใหม่มาก เราได้จัดโครงการนี้เป็นปีที่ 2 ได้มีความร่วมมือกับภาคการศึกษาเพิ่มขึ้นจากมหาวิทยาลัย 7 แห่ง เป็น 10 แห่ง ซึ่งความมุ่งหวังของเราในระยะแรกนั้น เราหวังเพียงกระตุ้นความรับรู้ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาต้องถือว่าน่าพอใจไม่น้อยครับ

อีกหนึ่งคนที่พลาดไม่ได้คือ บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นผู้จัดงานนี้ขึ้นมา ซึ่ง Techsauce ได้รับเกียรติพูดคุยกับ คุณธีรวิทย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ Team Lead, Discovery Lab and Digital Products บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ที่จะมาเล่าถึงวัตถุประสงค์ของการแข่งขันครั้งนี้โดยเฉพาะ

คุณธีรวิทย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ Team Lead, Discovery Lab and Digital Products บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด

ที่มาและวัตถุประสงค์ของการทำโครงการ Young-D Startup Ideation Contest

คุณธีรวิทย์ : สำหรับ Young-D Startup Ideation Contest เป็นโครงการเฉพาะกิจที่ต่อยอดจาก U.REKA โดยเปิดโอกาสให้น้องนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาต่อยอด Deep Tech ที่ตัวเองค้นคว้าให้กลายเป็น Business โดยมี SCB คอยช่วยบ่มเพาะทักษะและแนวคิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ

เราเลือกจัดที่งาน Money Expo 2019 ในรูปแบบของเวทีเปิด เพื่อให้ทีมมีโอกาสโชว์ไอเดียสู่สายตาผู้เข้าร่วมงาน Money Expo ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดี

ดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้อะไรจากการจัดโครงการดังกล่าว และจะสามารถต่อยอดในเชิงรูปธรรมให้กับธนาคารไทยพาณิชย์อย่างไร

คุณธีรวิทย์ : สิ่งที่ได้คือเราได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ นอกเหนือจากที่เกิดขึ้นในโครงการ U.REKA ซึ่งส่วนนั้นจะเป็นโครงการบ่มเพาะจากแกนเทคโนโลยีชั้นสูงซึ่งต้องใช้เวลานาน แต่ Young-D Startup Ideation Contest เราได้เห็นถึงไอเดียธุรกิจที่มาจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยทุกทีมที่เข้ามายังคงอยู่ในขั้น Ideation ที่รอการต่อยอดเชิงธุรกิจ ความตั้งใจของเราจึงเป็นการสนับสนุนให้พวกเขาดำเนินธุรกิจ และสามารถเข้ามาร่วมต่อยอดกับ​ Partner ของธนาคารได้

โครงการนี้ดีต่อ startup และคนรุ่นใหม่อย่างไร

คุณธีรวิทย์ : แบ่งสิ่งที่จะได้ออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ ได้พื้นที่โชว์ Product หรือ Service รวมถึงโชว์ทักษะของทีมซึ่งทำให้มีโอกาสเป็นที่รับรู้​ ได้​ Connection กับผู้ที่สนใจ Product ของน้องๆ และได้โอกาสต่อยอดกับเครือข่ายของ​ SCB ทั้งคู่ค้าและ Partner

พูดคุยกับ Startup ผู้ชนะเลิศ Young-D Startup Ideation Contest

หลังจากที่เราได้พูดคุยกับผู้บริหารซึ่งช่วยให้งานนี้เกิดขึ้นแล้ว เราก็ขอมาคุยกับผู้คว้ารางวัลชนะเลิศอย่างทีม Space Walker จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าพวกเขารู้สึกย่างไรกับงานนี้และมีความคิดต่อยอดไอเดียได้อย่างไร

Space Walker จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทำไมถึงสนใจเข้าร่วมแข่งขัน Young-D Startup Ideation Contest

Space Walker : ทางทีมได้รับการแนะนำจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้นำนวัตกรรมมาเสนอ ทางทีมเองก็มีความพร้อมและสนใจอยู่แล้วจึงเข้าร่วม Ideation Contest ครั้งนี้

คิดว่า Key Success ที่ทำให้เราชนะมาจากอะไร

Space Walker : คิดว่ามาจากการที่เราเป็นผู้พัฒนาด้านการช่วยเหลือผู้ต้องการรับกายภาพรายแรกๆ ของไทย และการแก้ปัญหาของเราส่ง Impact ให้กับสังคมโดยรวม คือ Product ของเราผลิตในประเทศไทย มีราคาที่ถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่า ช่วยให้นักายภาพมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น รวมถึงครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยจะมีค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมากด้วย

จาก Idea ที่ Pitch ในวันนี้ มีความคิดอยากต่อยอดอย่างไรบ้าง

Space Walker : ต้องกล่าวก่อนว่าในตอนนี้เราได้ผลิตและจำหน่ายเครื่องช่วยกายภาพด้วยการเดินมาแล้ว 4 เดือน ซึ่งได้รับเสียงตอบรับดี ทำให้ในขั้นต่อไป เรามองว่าจะวางตัวเป็น Solution สำหรับผู้ป่วย Stroke แบบครบวงจร เราตั้งใจจะ Partner กับโรงพยาบาลซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามมาตรฐานราชการของประเทศไทย และมีแผนพัฒนาธุรกิจของอุปกรณ์ชนิดนี้ในรูปแบบการเช่า โดยทางเราจะสนับสนุน Knowledge ด้านกายภาพและ Service ให้กับผู้รับบริการร่วมด้วย ซึ่งเรามองว่าตลาดผู้เช่ามีแนวโน้มที่ดี เพราะเครื่องของเราไม่จำเป็นต้องอยู่กับผู้ป่วยไปตลอด เมื่อรักษาหายก็สามารถส่งคืนได้

ในฐานะที่เป็น Startup ด้าน HealthTech มีมุมมองต่อตลาด HealthTech ในประเทศไทยอย่างไร

Space Walker : เราขอตอบในส่วนของ Assistive Device ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรามุ่งเน้น ซึ่งต้องบอกว่าคนไทยต้องการอุปกรณ์เหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก เราประเมินว่ามีผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ที่ต้องการรับการรักษาจากอุปกรณ์ของเราที่ราวๆ 600,000 คน พร้อมกันนี้ยังมีผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่ต้องการรถเข็น ไม้พยุง และอื่นๆ อีกรวมกันน่าจะถึง 1,000,000 คนเลยทีเดียว จึงถือว่าโอกาสด้าน HeathTech ในประเทศไทยยังมีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

คิดว่าโครงการ Young-D Startup Ideation Contest เปิดโอกาสให้ Startup และคนรุ่นใหม่อย่างไร

Space Walker : โครงการ Young-D Startup Ideation Contest ถือเป็นเวทีที่ดีสำหรับ Startup ระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะในขั้น Ideation ที่ยังไม่มีเวทีแบบนี้ให้ได้ลองสนามมากนัก อีกทั้งคณะกรรมการเองที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจยังให้คำแนะนำอย่างเต็มที่ซึ่งช่วยให้เรามีไอเดียในการปรับปรุงธุรกิจได้จริง

เห็นว่ามีผู้ชมงาน Money Expo แวะเวียนมาถามนอกรอบด้วย ได้คุยอะไรกันบ้าง

Space Walker : เขาสนใจอุปกรณ์ของเรา ก็เข้ามาสอบถามพูดคุยแล้วก็ทำการซื้อไปเลยครับ อันนี้เป็นอีกหนึ่งข้อดีของการ Pitch แบบ Public ที่เราจะได้เจอผู้คนหลากหลายและอาจเป็นลูกค้าของเราได้เลย

บทความนี้เป็น Advertorial

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...