Zilingo ระดมทุน 226 ล้านเหรียญ เสริมระบบ Digital Supply Chain ในอุตสาหกรรมแฟชัน | Techsauce

Zilingo ระดมทุน 226 ล้านเหรียญ เสริมระบบ Digital Supply Chain ในอุตสาหกรรมแฟชัน

Zilingo ขึ้นแท่นเตรียมเป็น unicorn ตัวต่อไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังประกาศว่าได้รับเงินระดมทุนในรอบ Series D ไป 226 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะเป็น startup ที่เพิ่งมีอายุเพียง 3 ปีครึ่งเท่านั้น โดย Zilingo ตั้งเป้าพิชิตการยกระดับระบบ supply chain ของวงการแฟชันในแถบเอเชียให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น

การระดมทุนรอบใหม่นี้ทำให้ Zilingo ได้รับเงินทุนรวมแล้วกว่า 308 ล้านเหรียญ นับจากการระดมทุนครั้งแรกในปี 2015 โดยในรอบ Series D นี้ประกอบไปด้วยนักลงทุนหน้าเดิมอย่าง Sequoia India, Temasek, Burda and Sofina และ Myntra รวมถึงมีนักลงทุนหน้าใหม่อย่าง EDBI ของ Economic Development Board ประเทศสิงคโปร์ร่วมด้วย

มีการพูดกันว่า Zilingo มีสิทธิเป็น Unicorn ตัวต่อไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงมาก เนื่องจากหลังการระดมทุนในรอบใหม่นี้ มูลค่าบริษัทก็พุ่งจนเกือบแตะที่ 1 พันล้านเหรียญเข้าไปทุกที โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงการที่ Zilingo สามารถระดมทุนระดับ Series D ได้รวดเร็วเช่นนี้

นอกจากนี้ การที่ Zilingo ได้รับเงินลงทุนสูงกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ปัจจุบัน Zilingo กลายเป็นหนึ่งใน startup ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสาเหตุหลักที่ผลักดันให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงปีที่แล้ว คือการขยายธุรกิจสู่บริการ B2B เพิ่มเติมจากธุรกิจ e-commerce ดั้งเดิมของตน

Ankiti Bose และ Dhruv Kapoor ผู้เป็น CEO และ CTO ของ Zilingo ร่วมกันสร้างแพลตฟอร์ม E-commerce ที่รวบรวมร้านค้าแฟชันขนาดเล็กในท้องถนนกรุงเทพและจาร์กาตา โดยช่วงแรกโฟกัสไปที่บริการต่อผู้บริโภค แต่หลังจากนั้น Zilingo ได้ขยับตัวครั้งใหญ่ ปรับโมเด็ลธุรกิจสู่ B2B ในด้าน supply chain โดยการทำให้ระบบหลังบ้านของร้านค้าเปลี่ยนไปสู่ระบบแบบดิจิทัล

Bose กล่าวว่า รายได้ของ Zilingo เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากธุจกิจ B2B ที่คิดเป็น 75% ของรายได้ และแม้ว่าปัจจุบัน Zilingo จะยังไม่ทำกำไร แต่ Bose ก็มั่นใจว่าธุรกิจ B2B จะช่วยนำทางไปสู่การทำกำไรในอนาคต จากบทบาทการช่วยเหลือบริษัท e-commerce ต่างๆ ที่แข่งขันในตลาด

เทคโนโลยีล้าหลังในระบบ supply chain

Zilingo หมายมั่นปั้นมือกับธุรกิจ Supply chain มาระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มขยายตัวสู่ธุรกิจนี้อย่างเต็มตัว

เริ่มแรก Zilingo มีแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ช่วยให้ผู้ขายสามารถจัดการธุรกิจขายของออนไลน์ ซึ่งรวมถึงระบบบริหารจัดการคลังสินค้า และระบบติดตามการขาย แต่ไม่นานนัก Zilingo ก็เพิ่มการบริการที่กว้างมากขึ้น เช่น บริการการเงิน บริการจัดหาสินค้า และแม้แต่ ‘Style hunter’ ที่คอยช่วยอัพเดทเทรนด์แฟชั่น นอกจากนี้ Zilingo ยังขยายกลุ่มเป้าหมายจากร้านค้าขนาดเล็กในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปสู่ร้านค้าและแบรนด์ขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นของยุโรปและอเมริกาที่ต้องการเข้าถึงกำลังการผลิตในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดการผลิตขนาดใหญ่และมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เป้าหมายต่อไปของ Zilingo คือการให้บริการ ข้อมูลเชิงลึกและเครือข่ายสำหรับแบรนด์สินค้าต่างๆ อย่างที่ Zara เคยทำได้

สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Zilingo ตั้งเป้าช่วยร้านค้าขนาดเล็ก, SME และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ในการหาสินค้ามาขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของ Zilingo ขณะที่ในยุโรปและอเมริกา Zilingo พยายามเข้าหาร้านค้าขนาดเล็กที่ต้องการมีหน้าร้านออนไลน์และมองหาช่องทางซื้อสินค้าราคาส่งจากเอเชีย ซึ่งนอกจากการช่วยเลือกสินค้ามาขายแล้ว Zilingo ก็ยังช่วยร้านค้าสร้างแบรนด์ของตัวเองด้วยระบบ supply chain อีกด้วย

Bose กล่าวว่า “พวกระบบในโรงงานผลิตไม่ค่อยได้รับการพัฒนาเท่าไหร่ เนื่องจากพนักงานในโรงงานส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ๆ พวกเขาไม่ใช้แม้แต่ Excel ดังนั้นเราจึงเลือกโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยเพิ่มกำลังการผลิต ช่วยบริหารเงินเดือน รวมถึงช่วยด้านการเงินต่างๆ”

Kapoor ผู้ร่วมก่อตั้งเสริมว่า ระบบ supply chain ในอุตสาหกรรมแฟชันกำลังถูกทำลายด้วยเทคโนโลยีที่ล้าหลัง

“เราจำเป็นต้องสร้าง product ที่ใช้เทคโนโลยีอย่าง machine learning และ data science เข้ามาช่วย SME ขณะเดียวกันก็ต้องทำระบบให้ใช้งานสะดวกและง่ายต่อการสเกล" Kapoor มั่นใจว่าความคิดนี้จะช่วยพัฒนาระบบ supply chain ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เส้นทางก่อนหน้านี้ของ Zilingo คือการเผชิญหน้ากับคู่แข่งใหญ่ๆ อย่าง Lazada, Shopee และ Tokopedia แต่การขยับโมเด็ลธุรกิจสู่การโฟกัสที่ supply chain นั่น ช่วยปรับบทบาทของ Zilingo ให้เป็นผู้บริการที่ส่งเสริมทั้งระบบแทน ทำให้ Zilingo ไม่ต้องต่อสู้กับสงคราม E-commerce ที่มีการแข่งขันด้านราคาและกลยุทธ์กันแทบตลอดเวลา จนในที่สุด Zilingo ก็กลายเป็นหนึ่งใน startup ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแม้ว่าเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจสู่อเมริกาอาจไม่ง่ายนัก แต่นั่นก็ทำให้ Zilingo เป็น startup ที่น่าจับตาที่สุดในปี 2019 ไปแล้ว

อ้างอิงภาพและเนื้อหา TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...

Responsive image

ใครคือ SIAM AI CLOUD ? บริษัทเทคไทยที่ NVIDIA เลือก ด้วยอายุจดทะเบียนเพียง 10 เดือนกับ 19 วัน

บทความนี้จะพาไปสำรวจเบื้องหลังความสำเร็จของ SIAM AI CLOUD ทำไมไทยที่ก่อตั้งมาไม่ถึงปีถึงสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนในวงการเทคโนโลยีจนดึงตัวแม่ทัพใหญ่ของ NVIDIA มาไทยได้ !...