หลายองค์กรมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในองค์กรมากขึ้น ซึ่งได้นำเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) หรือที่มักจะเรียกกันว่า Digital Workforce (แรงงานเสมือน) เข้ามาใช้งานร่วมกับทีมต่างๆ สถานการณ์ COVID-19 ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้มีการนำ RPA เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานตั้งแต่ในปี 2563 เป็นต้นมา บางองค์กรนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน และเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่น โรงพยาบาลมีการนำ RPA มาช่วยในเรื่องการตรวจสอบข้อมูลของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การส่งต่อและแชร์ข้อมูลที่จำเป็น เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นต้วช่วยสำคัญที่ช่วยบรรเทาความรุนแรงจากการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทำให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้บางองค์กรยังมีการนำมาปรับใช้ช่วยลดความเสี่ยงให้กับพนักงานในองค์กร ทำให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ (Work from home) และยังสามารถช่วยงานจัดการข้อมูลในองค์กรณ์ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านบัญชีการเงิน, งานด้านทรัพยากรบุคคล, งานด้านไอทีหรืองานประเภทที่ต้องทำซ้ำๆ เป็นประจำ มีปริมาณมาก และงานที่มีเงื่อนไขการทำงานที่ชัดเจน
RPA เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานได้เสมือนมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน และการบริการลูกค้า รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดย RPA สามารถทำงานได้ตามเงื่อนไข ตามขั้นตอนที่กำหนด และในบางกระบวนการมีการผสมผสานเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการอัตโนมัติ เช่น
การนำเทคโนโลยี Optical Character Recognition (OCR) เข้ามาใช้งานร่วมกับ RPA ช่วยในด้านการแปลงข้อมูลจากภาพหรือข้อมูล Unstructured ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Data เพื่อส่งข้อมูลดังกล่าวให้ RPA นำไปประมวณผลและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ตัวอย่างกระบวนการ OCR ใช้งานร่วมกับ RPA เช่น การนำ OCR มาช่วยในการอ่านข้อมูลใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ที่ได้รับจากลูกค้า ซึ่งมีรูปแบบเอกสารที่หลากหลาย ทำให้พนักงานต้องใช้เวลากับงานส่วนนี้มากเกินความจำเป็น เมื่อนำ OCR เข้ามาแสกนข้อมูลจากภาพเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบ ข้อมูล Digital และนำข้อมูลไปดำเนินการสร้างเอกสารใบสั่งขาย (Sales Order) ได้ทันที, การนำ OCR มาช่วยในการอ่านข้อมูล ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เพื่อให้ RPA นำข้อมูลไปทำการตรวจสอบว่า รายละเอียดใน Invoice มีความถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หรือ การนำ OCR มาช่วยในการอ่านบิลค่าโทรศัพท์ (Phone Bill) ที่พนักงานขอเบิก เพื่อนำข้อมูลไปดำเนินการตรวจสอบยอดเงินที่สามารถเบิกได้ ก่อนจะดำเนินการในขั้นตอนการทำจ่ายได้ เป็นต้น
การนำเทคโนโลยี Chatbot เข้ามาทำหน้าที่รับข้อมูลการสั่งซื้อจากที่ลูกค้าที่มาจากช่องทางที่หลากหลาย และนำข้อมูลที่ได้รับ ส่งให้กับระบบ RPA เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปดำเนินการต่อ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการจัดทำเอกสารใบสั่งขาย ขั้นตอนการทำสรุปรายการนำส่ง รวมถึงขั้นตอนรายงานต่างๆ และการส่งแจ้งเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ทำให้เกิดขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ขึ้นอย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้ผสมผสานกับ RPA เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือตรวจจับการทุจริต (Fraud Detection) และคาดการณ์ตลาด เรียกได้ว่า RPA เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้องค์กรได้รับประโยชน์ทั้งด้าน ความรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ รวมไปถึงช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น การที่ธุรกิจจะยังดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การมีแรงงานเสมือน (Digital Worker) มาทำงานร่วมกับมนุษย์ (Human) ถือเป็นทางรอด ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ RPA ดูข้อมูลได้ที่ https://zygencenter.com/robotic-process-automation/
รับโปรโมชั่นฟรี One Day Process Discovery Workshop การคัดเลือกกระบวนที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของท่านนำ RPA ไปใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://zygencenter.com/rpa-online-workshop/
ท่านสามารถกรอก Promotion Code เพื่อรับสิทธิพิเศษ TSCDC21 ในการลงทะเบียนครั้งนี้
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด