'ทิม พิธา' กับบทบาทใหม่ หน้าที่การสร้าง 'ประชารัฐ' ในประเทศไทย | Techsauce

'ทิม พิธา' กับบทบาทใหม่ หน้าที่การสร้าง 'ประชารัฐ' ในประเทศไทย

ในปีที่แล้ว Techsauce ได้รายงานข่าวหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้อ่านจำนวนมาก นั่นคือข่าวการก้าวสู่ผู้บริหาร Grab ประเทศไทยของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือ ทิม และสำหรับบทความนี้ เราได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์แบบ Exclusive กับคุณทิม พิธา กับบทบาทใหม่ Executive Director ของ Grab ประเทศไทย เพื่อตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้เกี่ยวกับการมาร่วมงานกับ Grab

ก่อนหน้านี้ทำอะไรบ้างแล้วมาร่วมงานกับ Grab ได้อย่างไร?

คุณทิม : ย้อนไปเมื่อช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลกเช่นทุกวันนี้ และแน่นอนว่าสิ่งที่ทุกคนเห็นคือการขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาก็สามารถเปลี่ยนโลกเราเป็นโลกใบใหม่ได้แค่ภายใน 10 ปี ทำให้ผมได้เปิดโลกทัศน์ ได้เห็นการทำงานหรือการพัฒนาประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องไปด้วยกันได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งคำนั้นคือคำว่า “ประชารัฐ” ซึ่งประเทศไทยจะต้องมี 2 อย่างคือ High Tech และ High Touch จึงจะมีการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

พอเรียนจากอเมริกาจบมาก็เริ่มต้นด้วย High Touch ก่อน ผมก็มารับธุรกิจที่บ้านเกี่ยวกับธุรกิจเกษตร แต่พอเวลาผ่านมาคำว่า High tech มันมาเปลี่ยนโลกเรา การที่มันเป็นคลื่นสึนามิดิจิทัลเนี่ย มันเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราของสังคมเราเนี่ยมันมีความน่าสนใจอยู่

“ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีจะทำให้โลกนี้ดีขึ้น คำว่า Technology for equality หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม น่าจะเป็นสิ่งที่สังคมพึงกระทำ”

เราอยากจะรู้จัก High tech ว่าอะไรคือ Artificial Intelligence, Machine Learning, Big Data หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่มาลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยได้ ผมก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประเทศด้วย เป็นภารกิจหลักที่เข้ามารับตำแหน่งในครั้งนี้

เทคโนโลยีจะเข้ามาสร้างความเท่าเทียมได้อย่างไร?

คุณทิม: ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ผู้พิการทางสายตา และผู้สูงอายุ เพราะในสมัยก่อนการเดินทางยังไม่สะดวกเท่าทุกวันนี้ ไม่ปลอดภัย การจะเรียก Taxi สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากถนนนั้นทำได้ยาก เมื่อมี Grab Taxi มันเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ นี่เป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ เรื่องที่สองคือเรื่องของระบบทุนนิยม

Grab ช่วยให้คนขับแท็กซี่เข้าสู่ระบบทุนนิยมได้อย่างไร?

คุณทิม: คนขับ Taxi ไม่ว่าจะทำงานได้เงินเท่าไหร่ แต่เขาไม่ได้เข้าสู่ระบบเงินเดือน ไม่มี Statement รายได้ การกู้เงินธนาคาร เขาต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่าคนที่เป็นพนักงานประจำ เราจึงต้องนำเขาเข้าสู่ระบบ

Grab Taxi: คนที่มีอาชีพขับ Grab ไม่ต้องเสี่ยงว่าออกจากบ้านแล้วจะไม่มีผู้โดยสาร เราเห็นงาน เงิน รายได้แต่ละเดือน มีการบันทึกรายได้ต่อวันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มีการอบรมเรื่องกฎระเบียบการขนส่งทางบก มียูนิฟอร์มที่เป็นภาพลักษณ์ของประเทศ และเป็นภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย

คุณทิม : ในมุมมองของเรา เราคิดว่าเป็นการพัฒนาความเป็นมืออาชีพให้กับเขา พอผ่านไป 6 เดือน ระบบใน Grab จะมีระบบบันทึกรายรับที่เขาได้ ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานที่นำเขาเข้าไปสู่ระบบทุนนิยมได้หรือ Financial Inclusion

มีระบบบันทึกรายได้ที่สามารถดูย้อนหลังได้ เป็นการเปลี่ยนจากระบบเงินสดเป็นระบบที่มีหลักฐานซึ่งสอดคล้องกับสังคมไร้เงินสดหรือ cashless society ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามจะผลักดัน

"ผมเข้าใจว่านี่คือความตั้งใจของโครงการประชารัฐ, สังคมไร้เงินสด, พร้อมเพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผมก็พร้อมที่จะตอบรับและพาไปเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมๆ กัน ไม่มีใครตามอยู่ข้างหลัง เราพร้อมที่จะไปด้วยกันทุกๆคน"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เมื่อ Fashion กำลังทำร้ายโลก #WEARวนไป เลยต้องมา

เมื่อ Fast Fashion สุดปังกำลังปั่นป่วนโลก ธุรกิจที่ตอบโจทย์และต้องการสร้างแรงบันดาลใจแบบ #WEARวนไป จึงเกิดขึ้น...

Responsive image

ทำความรู้จักกับ EVMTrace จาก SCB 10X ทีมไทยหนึ่งเดียวผู้ชนะจากการแข่งขัน ETHGlobal Hack 2024

ทำความรู้จักกับ EVMTrace จาก SCB 10X ที่ไปคว้าชัยชนะ จากการแข่งขัน ETHGlobal Hack 2024...

Responsive image

ทางออกของคนขี้เกียจขับรถ รถยนต์ยุคใหม่ที่ไร้คนขับ!?

รถยนต์ไร้คนขับที่ไม่ได้เป็นเรื่องเหนือจินตนาการ ในเมื่อปัจจุบันรถยนต์ไร้คนขับพร้อมให้บริการแล้ว!? แล้วคำถามต่อไปคืออนาคตของอาชีพคนขับรถยนต์ หรือการซื้อรถยนต์ในอนาคตจะยังคงสดใสเหมือ...