อว. เผยผลการพัฒนาวิทยาการของประเทศในปี 2563 พร้อมเเผนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมไทย | Techsauce

อว. เผยผลการพัฒนาวิทยาการของประเทศในปี 2563 พร้อมเเผนพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมไทย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดแถลงข่าวสรุปผลงาน ปี 2563 กล่าวว่า ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งความสำเร็จในการนำวิทยาการต่าง ๆ มาพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะความสำเร็จของการเเพทย์ไทยที่สามารถรับมือการเเพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีติดอันดันต้นๆ ของโลก และผลงานด้านเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาจนสามารถนำมาใช้รับมือกับสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี นอกจากนี้ภายในงานได้กล่าวถึงแผนการพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมโอกาสที่ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศได้สำเร็จ

โดยในปีนี้ อว. ได้เผยถึงความสำเร็จและสิ่งที่น่าภูมิใจของการเเพทย์ไทย คือ 

ประเทศไทย เป็นประเทศที่จัดการด้านการรับมือโควิด-19 ดีที่สุดในโลก และเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งคือประเทศไทยสามารถคิดค้นและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ได้ถึง 2 ตัวได้แก่ วัคซีน mRNA เทคโนโลยีใหม่ยังไม่เคยใช้ในมนุษย์ใช้แบบเดียวกันกับบริษัทยายักษ์ใหญ่ต่างชาติ ไฟเซอร์ และบริษัท โมเดอร์นา ซึ่งขณะนี้เราจะเริ่มสามารถที่ทดลองในมนุษย์ในอีกไม่กี่เดือนนี้ และ ล่าสุดคือการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จแล้วในระดับห้องปฏิบัติการ โดย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามนโยบายของ อว. พร้อมก้าวไปอีกขั้นในการผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ำลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา อว. พร้อมให้การสนับสนุนการช่วยเหลือในทุกด้าน อาทิ การประสานหลอมรวมระหว่างอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว และจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา  อว.ได้มีการสนับสนุนการวิจัยด้านยา ชุดตรวจและวัคซีนรวมทั้งยังได้สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามให้กับศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ปลัด อว.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในการให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขจากโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยในสังกัด อว.กว่า 20 แห่งทั่วประเทศ ในการทำงานร่วมกับสาธารณสุขทุกแห่งเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์มาตั้งแต่การระบาดช่วงที่แล้วและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทั้งในส่วนของบุคลากร เจ้าหน้าที่ แพทย์และพยาบาล อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ พร้อมปฏิบัติหน้าที่รองรับผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ สิ่งสำคัญคือนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่าเราทำได้ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนป้องกันโรคจากไวรัสโควิด-19 โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามนโยบายของ อว. ซึ่งได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จแล้วในระดับห้องปฏิบัติการ และพร้อมก้าวไปอีกขั้นในการผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ำลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย”

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ : นวัตกรรมชุด PPE Disposable Coverall Level 4 รุ่นเราชนะ สำหรับปฎิบัติงานในสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส นวัตกรรมชุด PPE (Isolation Grown) รุ่นเราสู้ สำหรับปฏิบัติงานในสภาวะเสี่ยงน้อยถึงปานกลางหรือการทำหัตถการที่มีเลือดกระเด็นใส่น้อย ชนิดใช้ซ้ำได้ครั้งแรกของโลกที่สามารถซักและใช้ซ้ำได้ไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง โดยนวัตกรรมทั้งหมดเป็นผลิตด้วยการรีไซเคิลจากขวด PET

โครงการวิจัยชุดนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อการป้องกัน ตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาการติดเชื้อโควิด-19 โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) : ได้แก่ หน้ากากอนามัย WIN-Masks ที่ทำจากผ้าเคลือบสารนาโนป้องกันไวรัส สามารถซักได้ 30 ครั้ง ซึ่งได้ผลิตและแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์กว่า 2 แสนชิ้นทั่วประเทศ นวัตกรรม AI อัจฉริยะ สำหรับการวินิจฉัย วิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์ทรวงอกในการตรวจคัดกรอง โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ

โอกาสและแผนพัฒนานวัตกรรมของประเทศไทย

รมว.อว.กล่าวว่า เทคโนโลยีอวกาศ ภายในอีก 4-5 ปี จากนี้ไป ประเทศไทยจะทำดาวเทียมระดับ 50-100 กิโลกรัม และหลังจากนั้นอีก 3 ปี จะมีการพัฒนาดาวเทียมที่โคจรรอบโลกเป็นยานอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์ ยานอวกาศดังกล่าวจะถูกเร่งความเร็วเพื่อเพิ่มวงโคจรไปจนกระทั่งถึงดวงจันทร์ ซึ่งใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ปี และเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ ส่วนหนึ่งของการขยายความสามารถทางอวกาศเพราะปัจจุบันโลกกำลังพูดถึงเศรษฐกิจอวกาศ และจะเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ประเทศไทยกำลังจะสร้างวิธีคิดใหม่ ว่าเราสามารถทำได้  ถือเป็นความสำเร็จของวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ คาดว่าจะใช้งบประมาณเพียง 3,000 ล้านบาทเท่านั้น

“ในทุกปัญหาและวิกฤติย่อมก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำประเทศฝ่าวิกฤติ ทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น และกระทรวง อว.ยังคงเดินหน้าในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำพาประเทศไทยก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง” ศ.ดร.เอนก กล่าว

ข้อมูลจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...