ทำความรู้จัก TransferWise FinTech Unicorn บริการโอนเงินข้ามประเทศ | Techsauce

ทำความรู้จัก TransferWise FinTech Unicorn บริการโอนเงินข้ามประเทศ

ถ้าพูดถึง FinTech ชื่อดังจากอังกฤษ TransferWise ต้องมีติดอันดับอยู่ในนั้น บริการโอนเงินข้ามประเทศเจาะกลุ่มคนทำงานต่างประเทศ กลุ่มนักศึกษา และธุรกิจ ที่ต้องการโอนเงินข้ามประเทศ

Transferwise ก่อตั้งในปี 2010 โดย Estonians Taavet Hinrikus ถ้ามาดูประวัติถือว่าน่าสนใจมาก เพราะเขาคือพนักงาน Skype คนแรกนี่เอง โดยร่วมสร้าง Skype มาตั้งแต่ปี 1997 จนกระทั่งปี 2008 รั้งตำแหน่งสุดท้ายคือ Director of Strategy

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา TransferWise ได้รับทุนระดับ Series D ที่เงิน 26ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย Baillie Gifford ซึ่งเป็น co-invest ร่วมกับนักลงทุนรายเดิมดังๆ หลายราย เอ่ยชื่อต้องร้อง อ๋อ อย่าง Andreessen Horowitz, Valar Ventures ของ Peter Thiel, นักลงทุนอย่าง Sir Richard Branson เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าพ่วงมาด้วยเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนมากมายอย่าง Virgin, Skype, Paypal เป็นต้น

รูปแบบการทำงาน

วิธีการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากเมื่อเข้าหน้าเว็บฯ ก็สามารถเลือกสกุลเงินปลายทางที่ต้องการโอนเงินไป จะโอนเข้าบัญชีตัวเอง หรือคนอื่นในต่างประเทศ โดย TransferWise จะทำการเก็บค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมนั้นๆ อีกที

Screen Shot 2559-08-16 at 12.35.18 PM

ปัจจุบันผู้ให้บริการโอนเงินข้ามประเทศมีดังนี้

TransferVolume

โดยผู้เล่นรายใหญ่ยังคงเป็น Western Union ตามมาด้วย UAE Exchange, Money Gram ในขณะที่ TranferWise เป็นกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ Startup ที่กำลังพยายามเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาด

ความแตกต่างหลักที่ TransferWise ต่างจากผู้เล่นแบบเดิมคือเส้นทางการชำระเงินนั้นแตกต่างกัน แทนที่การโอนเงินนั้นจะส่งตรงจากผู้ส่งไปยังผู้รับ

Transferwise-Process-Explained_1

transferwise

แต่กรณีนี้ TransferWise จะทำหน้าที่ redirect ไปยังผู้รับด้วยยอดเงินที่เท่ากัน (ไม่ได้ส่งให้ตรงๆ ดังภาพ) ด้วยการใช้ matching model และ mechanism ด้านในทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินและการโอนเงินข้ามประเทศได้

ด้วยวิธีนี้ทำให้  TransferWise สามารถแข่งขันกับ Western Union และผู้เล่นรูปแบบเดิมได้

สถิติเดือน พฤศจิกายน 2015 : เปรียบเทียบ Margin ของแต่ละบริษัทที่ได้จากการโอนเงินจากสหรัฐฯ ไปที่อินเดีย โดยการใช้ Saveonsend app

USA-to-India-1500-Bank-to-Bank-Nov-2015

ถ้ามองดูเผินๆ อาจคิดว่า TransferWise จะคล้ายกับ CurrentcyFair แต่ในความจริงแล้วมีความแตกต่างกันพอควร CurrentcyFair จะทำงานในลักษณะของการเป็นตลาดกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตรา (peer-to-peer currency exchange marketplace) โดยมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 0.15% ซึ่งเป็นมาตรฐานของ Peer-to-Peer Exchange Rate ในขณะที่ TransferWise จะคิดอยู่ที่ 0.5% และ 2.5% ขึ้นอยู่กับสกุลเงิน

TransferWise กับ Blockchain

Hinrikus เคยกล่าวกับ Forbes ว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ต้องจับตา และจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ยังเป็นรูปแบบของทฤษฎี ถ้าเอาแบบจับต้อง ใช้ได้จริง ตอนนี้ก็คือสิ่งที่ปัจจุบัน TransferWise ทำอยู่ ส่วนการจะไป Blockchain หรือไม่ในอนาคตอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อ ในขณะที่ WesternUnion กำลังเริ่มทดสอบแล้ว

TransferWise กับแถบเอเชีย

ถ้าดูจากสกุลเงินที่ TransferWise รับส่งออกนั้น จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมีคนที่เข้าไปทำงานในประเทศนั้นเยอะ อย่างในเอเชียก็สามารถส่งเงินออกได้จาก 2 ประเทศนี้คือ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ในขณะที่ขารับก็มีประเทศที่มีคนออกไปทำงานหรือศึกษาต่อเยอะ อย่าง จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ซึ่งเวียดนามเป็นประเทศล่าสุดที่พึ่งเปิดตัวไป โดยค่าธรรมเนียมการโอนแต่ละครั้งอยู่ที่ 1.5% ต่อ transaction หรืออยู่ที่ 95,000 ดองเวียดนาม สำหรับการโอนเงินที่ต่ำกว่า 6,300,000 ดองฯ

เวียดนามเป็นตลาดที่กำลังเติบโตและใช้บริการด้าน Remittance มากที่สุดประเทศหนึ่งในแถบนี้ ทำให้ก่อนหน้าที่ TransferWise จะเข้าก็มี WorldRemit ที่เปิดตลาด ให้คนเวียดนามส่งเงินกลับประเทศก่อน

ส่วนบริการด้านการส่งเงินออกจากบ้านเราเรื่องกฎระเบียบยังคลุมเครือ อีกอย่าง demand จริงๆ ที่โอนออกจากบ้านเรานั้นคือส่งไปประเทศเพื่อนบ้านเรามากกว่าอย่างพม่า ซึ่งเป็นตลาดใหญ่อยู่ มี Startup หลายรายในไทยกำลังจับตลาดนี้และนำ Blockchain มาประยุกต์ใช้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...