เป็นที่ทราบกันดีกว่าเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในผู้นำที่พยายามผลักดันเรื่องของโครงสร้างอินเทอร์เน็ตมาโดยตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ยุคของ 3G SK Telecom เป็นผู้ให้บริการ 3G ด้วยมาตรฐาน CDMA-based 1xEV-DO รายแรกของโลก และตามด้วยการพยายามผลักดัน Mobile WiMAX ให้เป็นมาตรฐาน 4G แม้ 2 มาตรฐานดังกล่าว ไม่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกในระยะเวลาต่อมาก็ตาม แต่ถือว่าเป็นประเทศที่มีความพยายามเป็นอย่างสูงกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างมาตรฐานเอง
แม้ครั้งนี้ไม่ใช่การสร้างมาตรฐานใหม่ แต่เป็นการเปิดตัวเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT ครอบคลุมทั่วประเทศรายแรกของโลก ด้วยการจับมือระหว่าง SK Telecom และ Samsung กับบริการ LoRaWAN ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก LoRa Alliance
LoRaWAN™ ย่อมาจาก Low Power Wide Area Network (LPWAN) ที่ใช้ควบคุม สั่งการ และเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ผ่าน LoRa protocol จากเดิมที่แต่ละอุปกรณ์จะเชื่อมกันนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อน ผ่านการเชื่อมโยงรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น Mobile Data (เชื่อมต่อระยะไกลได้ แต่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสูง), WiFi, Bluetooth (มีข้อจำกัดด้านระยะทาง) และทั้ง 3 อย่างกินพลังงานสูงในการขับเคลื่อนอุปกรณ์อยู่ตลอด ลองนึกสภาพพวกอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ต้องอยู่ในที่ห่างไกล ข้อจำกัดเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคพอสมควร LoraWAN จึงออกมาแก้ปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ อันได้แก่
โดยตอนนี้ทาง SK Telecom เปิดตัว LoRaWAN (ชื่อเดียวกับมาตรฐาน) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 90% ของประเทศ เริ่มต้นที่ 350 วอน (10 บาท) จนถึง 2000 วอน (60 บาท) เรียกว่าถูกมาก ดูรูปแบบการใช้บริการแต่ละแพ็กเกจได้ดังรูป
ที่มาตาราง Telecoms.com
นี่เป็นเพียงแค่การปูโครงสร้างพื้นฐานก่อน แต่หลังจากนี้ SK Telecom กล่าวว่าจะสร้างโครงสร้างให้กับระบบ advanced metering เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมอนิเตอร์และควบคุมอุปกรณ์มิเตอร์ต่างๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และนำมาใช้กับ Smart City ที่กำลังฮอตฮิตเวลานี้ ในฟากผู้พัฒนาก็จะเปิด IoT platform ให้ต่อยอดเกิดบริการใหม่ๆ ได้อีก โดย SK Telecom จะทุ่มเงินกว่า 100 พันล้านวอน (เกือบๆ 3 พ้นล้านบาท) ภายในปี 2017
เกาหลีใต้ไม่ได้ให้ความสำคัญในระดับของบริการ (application layer) แต่ลงลึกไปถึงระดับโครงสร้าง ที่ทะลุลงลึกไปว่า การจะทำบริการให้ดีนั้น มันต้องเริ่มจากการแก้ปัญหาตั้งแต่พื้นฐาน
LoRaWAN น่าจะเป็นนวัตกรรมด้านโครงข่ายที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เสมือนกระดูกสันหลังให้กับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะสาย Sensor เพื่อผลักดันให้บริการเหล่านี้สู่ Mass วงกว้างได้ เพราะก่อนหน้านี้การอิมพลีเม้นต์โครงการ จะมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นด้วย Protocol การสื่อสารที่มีข้อจำกัดทั้งราคา ระยะทาง และการใช้พลังงานที่สูงเกินไป เมื่อโครงข่ายถูก Disrupt แล้ว จะเกิดการต่อยอดด้านแอปพลิชั่น และบริการอื่นๆ สาย IoT ตามมาอีกมาก เฉกเช่นเดียวกับเมื่อยุคของการส่งผ่าน Data ที่ถูก Disrupt มาเรื่อยๆ ในด้านโครงข่าย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จนเมื่อความเร็วและคุณภาพมากพอก็จะเกิดบริการใหม่ๆ ตามมา ตอนนี้นอกจากเกาหลีใต้จะเป็นแม่แบบของ Smart City ให้กับหลายๆ ประเทศแล้ว ดูท่าทางจะได้เป็นแม่แบบให้กับประเทศที่ต้องการอิมพลีเม้นต์ LoRaWAN ไปในตัว
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด