หัวใจสำคัญของการสร้างและพัฒนานวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

หัวใจสำคัญของการสร้างและพัฒนานวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

Innovation is communication.

หัวใจสำคัญของการสร้างนวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

หากผู้สร้างนวัตกรรมไม่สามารถสื่อสารให้คนในทีมเข้าใจความหมายของตัวชี้วัดได้อย่างตรงกัน ก็จะเป็นการยากที่โครงการนั้นจะมีความคืบหน้า

นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องเกิดจาก Startup เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในขณะที่องค์กรกำลังคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อปกป้องอนาคตในระยะยาว ทีมนวัตกรรมกลับพบอุปสรรคในการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างไม่จบสิ้น เนื่องจากอุปสรรคสำคัญของการสร้างนวัตกรรมคือ 'งบประมาณ' หากผู้สร้างนวัตกรรมไม่สามารถอธิบายตัวชี้วัดต่างๆ ว่าจะสามารถคำนวณรวมกันเป็นดัชนี (KPI) ของการสร้างนวัตกรรมในบริษัทได้อย่างไร ก็จะยากต่อความสามารถในการนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายของระดับความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบริษัทมากเท่านั้น

Dan Toma ผู้เขียน The Corporate Startup อีกทั้งมีประสบการณ์ทำงานพัฒนากลยุทธ์กับหลายองค์กรใหญ่ พูดในงาน Innov8rs Bangkok ถึงอุปสรรคหลักๆ ของการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นอยู่ที่วิธีการสื่อสารตัวชี้วัดนวัตกรรม

อุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรมคือ 'การสื่อสาร'

'การสื่อสารภาษาเดียวกัน' คือหัวใจสำคัญของการสร้างนวัตกรรม หากทีมนวัตกรรมสามารถอธิบายตัวชี้วัดที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการคิดค้นในแต่ละโครงการ ก็จะสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดย Dan ได้ยกอุปสรรคต่อการสื่อสาร ก็เนื่องจากมุมมองของฝ่ายการเงินกับทีมนวัตกรรมนั้นไม่ตรงกัน

1. สินทรัพท์ที่มีค่าที่สุด ไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายผู้อนุมัติงบประมาณมองว่ามีค่า 

อย่างกรณี Airbnb ผู้ให้บริการเช่าที่พัก แต่ไม่มีห้องเป็นของตัวเอง มีมูลค่าสูงถึง 31 พันล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับ Hilton ที่เป็นเจ้าของห้องกว่า 895,000 ห้อง แต่กลับมีมูลค่าเพียง 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น คนเป็นสินทรัพท์ที่มีค่าที่สุดในองค์กรก็จริง แต่ก็ต่อเมื่อคุณอยู่ในสโมสรอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

2. รายงานงบประมาณนวัตกรรมแสดงเฉพาะ 'ปัจจัยนำเข้ากระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม' และ 'คุณภาพของนวัตกรรมเท่านั้น' 

3. การบัญชีสามารถตรวจสอบเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น วิธีที่มักนำมาใช้ในการลดต้นทุน อย่างเช่น Lean startup, Design thinking, Agile development

Dan Toma ผู้เขียน The Corporate Startup

3 มุมมองที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนนวัตกรรม

การทำความเข้าใจมุมมองของแต่ละฝ่ายที่ใช้ในการลงทุนนวัตกรรมนั้นก็สำคัญเช่นกัน โดย Dan ได้ยก 3 มุมมองที่แต่ละฝ่ายใช้ในการตัดสินใจลงทุนนวัตกรรมว่ามีดังนี้

1) มุมมองด้านกลยุทธ์ (ผู้บริหารและนักลงทุน)

  • ผลการดำเนินงาน (Portfolio performance & distribution)
  • ความเสี่ยงการเกิด disruption ต่อบริษัท
  • การพัฒนาในด้านระบบนิเวศ (ต้นทุนนวัตกรรม, เวลาในการเข้าสู่ตลาด)
  • การเติบโตของสินทรัพท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

2) มุมมองด้านการจัดการนวัตกรรม (ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง)

  • การลงทุนและการตัดสินใจในการส่งออกนวัตกรรม
  • การจัดการปัญหาได้อย่างถูกที่ถูกเวลา
  • การบริหารจัดการความเสี่ยง

3) มุมมองเกี่ยวกับกลยุทธ์และการปฏิบัติ (เจ้าของผลิตภัณฑ์ หัวหน้าทีม และอื่นๆ)

  • คนในทีมได้ทำงานในส่วนที่จำเป็นหรือไม่
  • มีความคืบหน้าในการทำงานนั้นหรือไม่

คำแนะนำต่อทีมนวัตกรรมในการสื่อสารความความคืบหน้าของแต่ละโครงการ

1) ทดลองทำซ้ำๆ ในโปรเจคขนาดเล็กเพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุน

เพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุนในแต่ละนวัตกรรม Dan แนะนำว่าให้ลงทุนในโปรเจคที่ไม่ใหญ่มากหลายๆ ครั้ง เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ซ้ำ ๆ ในขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้จากการทดลองไปด้วย

2) ตัวชี้วัดต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนานวัตกรรม

ต้องปรับตัวชี้วัดให้เหมาะกับแต่ละขั้นของการพัฒนานวัตกรรม Startup ที่อยู่ระดับ Early stage จะมี KPI ต่างจากโปรเจคที่ในระดับใหญ่ที่พัฒนาแล้ว

3) จัดโปรแกรมฝึกอบรมการจัดการเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตัวชี้วัดตรงกัน

Dan แนะนำว่าให้ทำการจัด 'โปรแกรมฝึกอบรมการจัดการ' เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจความหมายตัวชี้วัดที่สามารถนำมาประเมินกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ทุกฝ่ายควรพูดและเข้าใจภาษาเดียวกันว่าทำไมถึงต้องมีการใช้เงินลงทุนในแต่ละส่วนมากกว่าส่วนอื่น ทำไมพนักงานบางคนถึงต้องทำงานนอกออฟฟิศพูดคุยกับลูกค้า แทนที่จะนั่งหน้าจอคอมพ์ที่ทำงาน เป็นต้น

นอกจากนี้เขายังพบว่า ยิ่งคนในทีมมีความหลากหลาย และมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันมากเท่าไรยิ่งดี บริษัทที่มีคนจากแต่ละแผนก ทั้งผู้จัดการ ทีมการตลาด ทีมสร้างนวัตกรรม ไปจนกระทั่งทีมกฎหมาย ได้มานั่งทำงานในที่เดียวกัน จะมีแนวโน้มในการปฏิบัติงานรวดเร็วกว่า เพราะมันง่ายที่จะได้รับฟีดแบคเรื่องต่างๆ ทันที อย่างเช่น หากทีมเซลเสนอหัวข้อที่จะคุยกับลูกค้า ก็จะมีผู้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในบริบทนั้นมาก่อนได้เสนอไอเดียที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรขึ้นมา เพราะพวกเขามีประสบการณ์หรือได้ยินจากที่อื่นๆ มาก่อน เป็นต้น

การเปิดโอกาสให้คนในทีมได้ทำงานในโปรเจคที่หลากหลาย ไม่ได้ทำให้เป้าหมายการสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนไป กลับกันมันเป็นการช่วยป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามาตีตลาดต่างหาก

ส่วนใหญ่เวลาได้ยินปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากองค์กรไม่มีการกำกับดูแลที่ชัดเจนในเรื่องนวัตกรรม ทำไมถึงต้องทำโปรเจคนี้ ทำไมถึงต้องลงทุนในฝั่ง 'Cost Center' (แผนกนวัตกรรม หรือ แผนก R&D) ไม่ใช่ฝั่ง 'Revenue Center' ดังนั้นการสื่อสารทุกอย่างต้องชัดเจน

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...