เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล | Techsauce

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

IKEA บริษัทเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังจากสวีเดนเคยเกือบเจ๊ง เพราะคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไปซื้อของออนไลน์ แต่สุดท้ายก็กลับมาโตได้อย่างสง่างาม ด้วยยอดขายทั่วโลกทะลุ 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 7.3% ในปีที่ผ่านมา บริษัททำได้ยังไง? 

Juan Alcacer และ Cynthia Montgomery ศาสตราจารย์จาก Harvard Business School ได้ศึกษากลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ วิธีเอาตัวรอดของ IKEA 

IKEA วางตัวเป็นบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่ขายของถูกและคุณภาพดีมาตั้งแต่ปี 1976 ซึ่ง Ingvar Kamprad ผู้ก่อตั้ง IKEA ได้จัดทำเอกสารที่เรียกว่า The Testament of a Furniture Dealer เป็นหนึ่งในเอกสารที่เขียนอธิบายถึง ‘ตัวตนของ IKEA’ ไว้อย่างชัดเจน อาทิ สิ่งที่ทำ, สิ่งที่ขาย, ขายให้ใคร, รวมถึงนโยบายการกำหนดราคาสินค้า เป็นต้น

สิ่งที่ IKEA ให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ ‘ตัวตนและเอกลักษณ์ของแบรนด์’ แต่เมื่อปี 2017-2018 บริษัทต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ถึง 2 เหตุการณ์ คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เน้นซื้อของออนไลน์มากขึ้น และการเสียชีวิจของ Kamprad ผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งทำให้แนวทางในการดำเนินธุรกิจเริ่มไขว้เขวและสั่นคลอน จนเกิดคำถามว่า…

ลูกค้าต้องการอะไรจากความเป็น IKEA? ซึ่งเป็นประโยคที่จุดประกายให้ผู้บริหารระดับสูงของ IKEA ณ เวลานั้นตัดสินใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงและก้าวออกจาก Comfort Zone ปรับให้รูปแบบร้านเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยแนวคิด ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’

  • ปรับ: ปรับปรุงบริการของบริษัทให้ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น  ปรับปรุงเว็บไซต์ พัฒนาแอปพลิเคชันช้อปปิ้ง หรือเพิ่มบริการจัดส่งถึงบ้าน เป็นต้น
  • ไม่เปลี่ยน: ยึดมั่นในตัวตนและเอกลักษณ์ของแบรนด์ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งไหนที่ทำให้ผู้คนยังคงรัก IKEA เช่น โรงอาหารราคาถูก มีทบอลแสนอร่อย การเดินดูโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์เพลิน ๆ เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะยังคงเก็บเอาไว้

กลยุทธ์นี้จึงทำให้การปรับรูปแบบธุรกิจในครั้งนี้เป็นเพียงแค่การเพิ่มบริการให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่เท่านั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวตนและเอกลักษณ์ของ IKEA เลยแม้แต่น้อย 

IKEA ยังคงมีหน้าร้านอยู่ทั่วโลกเหมือนเดิม ไม่ได้ Transform องค์กรมาเป็นร้านค้าออนไลน์อย่างเต็มตัว เพราะทุกคนที่ยังคงซื้อของจาก IKEA ไม่ได้มองเพียงแค่สินค้าราคาถูก คุณภาพดี แต่ยังซื้อเพราะประสบการณ์ลูกค้าที่ได้จากการมายังโชว์รูมของบริษัท ดังนั้น บริการออนไลน์ที่เพิ่มเข้ามาจึงเป็น Just an Option ที่บริษัทปรับตัวเพื่ออุดรอยรั่วธุรกิจของตนเอง

อ้างอิง: hbr.org

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปประเด็นจาก KBTG Roundtable ย้ำ ยุค AI ต้องมี Best Human ในลูป

ในงาน KBTG Roundtable นำทัพโดย คุณกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ร่วมด้วยคณะผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ได้พาเราย้อนกลับไปสำร...

Responsive image

มอง ‘เกษตรกรรม’ อย่างที่มันเป็น และเหตุผลสำคัญที่ต้องเพิ่ม ‘คนสร้าง AgriTech’

ชีวิตเกษตรกรดีขึ้นเพราะ 'เทคโนโลยี' ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจปัญหาในภาคเกษตร และความสำคัญของการพัฒนา AgriTech หรือ เทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่ต้องเริ่มจาก 'คน' ผ่านบทสัมภาษณ์ คุณสรรเ...

Responsive image

จากร้านขายมือถือสู่ Ecosystem แห่งอนาคต กับ Jaymart Group ด้วยแนวคิด ‘ใจ’

เชื่อว่าคนไทยไม่ว่าจะเกิดใน Gen ไหน คงไม่มีใครไม่รู้จัก Jaymart กับภาพลักษณ์ที่เป็นผู้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริมมือถือ รวมไปถึงสินค้า IoT ปัจจุบันมีมากกว่า 300 สาขาทั่วประเ...