ผสานโลกเทคฯ - ธุรกิจ ค้นพบงานที่ใช่ในบริษัทที่ชอบ อย่าง Accenture | Techsauce

ผสานโลกเทคฯ - ธุรกิจ ค้นพบงานที่ใช่ในบริษัทที่ชอบ อย่าง Accenture

คำถามหนึ่งในใจใครหลายคนที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยทำงาน หรือแม้กระทั่งคนที่ทำงานมาแล้วสักพัก คือ สิ่งที่เราเรียนมาจะปรับใช้กับการทำงานในชีวิตจริงได้มากน้อยแค่ไหน แท้จริงแล้วตนเองนั้นชอบอะไร หรือ จะต้องพัฒนาทักษะด้านไหน เพื่อให้ตอบโจทย์กับตลาด และโดดเด่นมากพอที่จะได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานกับบริษัทใหญ่ ๆ ท่ามกลางการแข่งขันที่มาตรฐานสูงขึ้นอยู่เสมอ

คุณดาวิน สมานนท์ ผู้จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ พัฒนาความรู้และประสบการณ์ จนค้นพบตัวตนที่ใช่กับบริษัทที่ชอบอย่าง Accenture ได้เล่าให้ Techsauce ฟัง ถึงการผสมผสานสิ่งที่เรียน กับสิ่งที่อยากพัฒนาเรียนรู้ต่อ สู่การทำงานกว่า 16 ปี

ในบทความนี้จะพาไปพบกับ เรื่องราวของคุณดาวิน ที่ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานและการค้นหาตัวเอง

จากการเรียนสายวิศวกรรมผสมผสานกับสายงานธุรกิจ

คุณดาวิน สมานนท์ ปัจจุบันเป็น กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริหารทางการเงินของบริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ซึ่งดูแลกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และด้านประกันภัย โดยร่วมงานกับบริษัท Accenture มาแล้วถึง 16 ปีเต็ม 


ย้อนกลับไปในช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา คุณดาวินเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ณ สหราชอาณาจักร สาเหตุที่เลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์เนื่องจากอยากลงมือปฎิบัติ พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไปพร้อม ๆ กับการเรียนทฤษฎี นอกจากนี้คุณดาวินยังชื่นชอบการทำงานเป็นกลุ่มมากกว่าการทำงานคนเดียวและเรียนคนเดียว จึงมองว่าการเรียนวิศวะฯ เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด เนื่องจากไม่ได้เรียนเฉพาะทฤษฎีเท่านั้น แต่ได้ปฎิบัติจริง และมีการทำงานเป็นกลุ่มค่อนข้างมากอีกด้วย

ก่อนจะร่วมงานกับบริษัท Accenture คุณดาวินมองงานไว้ 2 ประเภท คือ การทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทพลังงาน บริษัทน้ำมัน และการทำงานเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา (consulting) เนื่องจากคุณดาวินชื่นชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเลือกมองหาบริษัทที่ทำงานได้หลากหลาย อีกทั้งช่วงนั้นที่เรียนวิศวะฯ มาตลอด 4 ปี พบว่าได้เรียนเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมศาสตร์มามากแล้ว จึงมองหาสายงานด้านธุรกิจดูบ้าง และบริษัทการให้คำปรึกษาเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ เพราะได้ทำงานด้านเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการทำงานด้านธุรกิจ

จุดเริ่มต้นกับ Accenture เปิดหน้าต่างสู่หลายภาคธุรกิจ

เริ่มแรกที่คุณดาวินทำงานกับบริษัท Accenture  คุณดาวินเริ่มจากการทำงานด้านโทรคมนาคม (Telecom) เพราะเชื่อว่าการทำงานในตำแหน่งนี้จะได้ทำสิ่งใหม่ ๆ และได้เรียนรู้งานจากหลายอุตสาหกรรม พร้อมทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนต่างประเทศมาปรับกับความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยได้อีกด้วย

ทำให้ค้นพบว่าตนเองชื่นชอบการทำงานที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้จากหลายภาคธุรกิจ อย่าง Accenture ที่มุ่งเน้นการ add value ทำสิ่งที่เป็น frontier ของเทคโนโลยี และเปิดโอกาสให้คนในบริษัทได้ทำงานร่วมกับคนจากประเทศอื่น ทำให้ได้เห็นมิติมุมมองที่หลากหลาย ทั้งด้านวิชาการและกลยุทธ์การทำงาน มีโอกาสทำงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรง และรู้ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ จริง ๆ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนจบใหม่ที่ยังค้นหาสิ่งที่เหมาะกับตนเองอยู่ เพราะจะทำให้รู้และเข้าใจความชอบและความสามารถของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

แม้ว่าบริษัท Accenture จะเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี แต่คนที่จะมาร่วมงานนั้น ไม่จำเป็นจะต้องจบสายเทคโนโลยีโดยตรงหรือทำงานด้านนี้มาก่อนเท่านั้น เพราะพนักงานหลายคนก็จบมาจากหลากหลายสาขาวิชา ทั้งเศรษฐศาสตร์ บริหาร และบัญชี  แต่ปัจจัยสำคัญที่ทางบริษัทมองหาเป็นหลัก คือ คนที่มาร่วมงานจะต้องสามารถทำงานเป็นทีม (Team player) มีกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้า และตอบโจทย์ความต้องการนั้นได้

คุณดาวินกล่าวเสริมอีกว่า 

บริษัทที่ปรึกษาไม่ใช่แค่ order-taker หรือรับงานเข้ามาแล้วทำตามโจทย์อย่างเดียว ต้องมีการคุยกันว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุดหรือไม่

หลังจากรับงานลูกค้าแล้วจะมีการคุยกับทีมว่าเราควรจะทำไปตามที่ลูกค้าบอก หรือหลังจากคุยกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราอยากแนะนำวิธีการอื่น หรือแนะนำสิ่งใหม่ที่เราคิดว่าเหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด ทำให้การทำงานทุกขั้นตอนต้องใช้เวลา เราจึงอยากได้คนที่เป็น good team player ชื่นชอบการเรียนรู้หลายอย่าง อยากค้นหาสิ่งใหม่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ก้าว 1-16 ที่ต้องพัฒนาตลอดเวลา

ตลอด 16 ปีที่ทำงานกับบริษัท Accenture มีสิ่งที่สร้างความประทับใจกับคุณดาวินหลายประการ สำหรับสิ่งที่ประทับใจตั้งแต่การทำงานวันแรก คือ โครงสร้างองค์กรแบบแนวราบ หรือ Flat Organization ที่ทุกคนในองค์กรมีอิสระ มีสิทธิ์ และมีเสียงในการทำงานที่เท่าเทียมกัน ไม่มีการที่หัวหน้าจะมาออกคำสั่งแบบเบ็ดเสร็จ แต่จะเป็นการให้คำแนะนำซึ่งกันและกันมากกว่า ซึ่งในองค์กรก็มีตำแหน่งระดับ Entry ถึง Managing Director เพียง 5 - 6 ตำแหน่ง ทำให้ได้ทำงานใกล้ชิดกับคนที่เป็น senior มีการนั่งทำงานด้วยกัน เมื่อมีปัญหาก็สามารถพูดคุยโดยตรงกับหัวหน้าได้เลย ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็น ทำให้ได้เรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์โดยตรง อีกทั้งยังมีโอกาสทำงานกับคนจากหลากหลายประเทศ ทั้งจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกา นอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับหลากหลาย Partner อีกด้วย ซึ่งนับเป็นประสบการณ์ที่ประทับใจมากในการทำงาน

ในฐานะที่ทำบริษัทด้านการให้คำปรึกษา ทำให้ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ดังนั้นบริษัทจึงมีคอร์ส e-learning มากกว่า 24,000 คอร์สที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา เช่น blockchain data science เป็นต้น เพื่อให้พนักงานในบริษัทสามารถศึกษา เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ในทุก ๆ ปีทางบริษัทยังมี publication ด้านเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมได้ 

คุณดาวินอยากฝากทิ้งท้ายสำหรับคนที่อยากทำงานสายเทคโนโลยีและด้านการให้คำปรึกษาว่า อยากให้เป็นคนเปิดกว้างสำหรับสิ่งใหม่ ๆ ชอบทำงานใหม่ ๆ ซึ่งทัศนคตินี้ทำให้คุณดาวินมีความรู้ที่ก้าวกระโดด มีความรู้ในหลากหลายอุตสาหกรรม และควรเตรียมศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ดูว่าอุตสาหกรรมไหนเหมาะกับเรา

ฟัง Podcast ได้ที่





บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกทิศทางประกันภัยในยุคดิจิทัล | Exec Insight EP.74

Techsauce ได้พูดคุยกับ ดร.สุทธิพล อดีตเลขาธิการคปภ. ถึงการปรับตัวของธุรกิจประกันภัยในการนำเทคโนโลยีมาใช้...

Responsive image

นวัตกรรม อีกหนึ่งความหวังในการเติบโตของประเทศไทย | Exec Insight EP.73

Techsauce ได้รับโอกาสพิเศษในการพูดคุยกับ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA พูดคุยถึงแนวทางและภารกิจหลักในการผลักดันนวัตกรรม รวมถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการขยายเข้าไปใน...

Responsive image

ไปรษณีย์ไทย 140 ปี สู้สมรภูมิโลจิสติกส์อย่างไร ?

จากบริษัทที่เริ่มต้นจากการสื่อสารเมื่อ 140 ปีก่อน สู่บริษัทโลจิสติกส์ และเตรียมต่อยอดสู่ Tech Company ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมหาศาล ไปรษณีย์ไทย สู้ศึกโลจิสติกส์อย่างไร สงครามราคาจะ...