Corporate Transformation แบบไทย ๆ EP.1 - The Untold ปูพื้นภาพรวม | Techsauce

Corporate Transformation แบบไทย ๆ EP.1 - The Untold ปูพื้นภาพรวม

สรุปประเด็นสำคัญจาก Techsauce Clubhouse ในตอน Corporate Transformation แบบไทย ๆ EP.1 - The Untold ซึ่งมีคุณอาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer จากบริษัท SCG Cement-Building Materials เป็น Speaker

วางเป้าหมายที่จับต้องได้และเป็นระบบ

  1. เปลี่ยน Vision ของบริษัท เปลี่ยนจากบริษัทผลิตวัสดุก่อสร้าง กลายเป็น Experience Company กล่าวคือเปลี่ยนจากบริษัทผลิตสินค้า มาเอาลูกค้าเป็นหัวใจของการออกแบบสินค้าและบริการ จึงเป็นที่มาของคำมั่นสัญญาใหม่ “Passion for Better” ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้มากกว่าเพียงแค่การซื้อวัสดุก่อสร้าง

  2. ปรับโมเดลธุรกิจ เปลี่ยนจาก Business-to-Business (B2B) กลายเป็น Business-to-Business-to-Consumer (B2B2C) เปลี่ยนจากโมเดลดีลเลอร์ เป็นค้าปลีกมากขึ้น 

  3. นำเครื่องมือทางดิจิทัลมาใช้ควบคู่กับการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ให้มีประสิทธิภาพ 

ที่สำคัญไปกว่านั้น การ digital transformation ต้องอยู่บนพื้นฐานของ แกนหลักเดิมของบริษัท ถ้าเราเข้าไปพัฒนาผิดที่ผิดทาง สุดท้ายผลออกมาก็อาจทำให้ธุรกิจไม่ดีตามที่คาดไว้ 

เริ่มต้นจากคนก่อนเป็นอันดับแรก 

ส่วนใหญ่แล้ว บุคลากรในองค์กรจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

1) Early Adoptors คนที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เร็ว 

2) Followers รอดูก่อนว่าเทคโนโลยีนั้นจะใช้ได้ผลหรือไม่ หากได้ผลก็จะติดตาม 

3) Laggards กลุ่มคนที่ยังยึดติดกับวิถีการทำงานดั้งเดิม 

เมื่อเราเข้ามาทรานฟอร์มบริษัท หลักการสำคัญของคุณอาร์ตจะไม่บังคับให้ทุกคนต้องทำงาน ๆ หนึ่ง แต่จะหันมาใช้หลักการ “ใช้คนให้ถูกกับงาน” (Put the right man on the right job)  เช่นถ้า Early Adoptors เก่งเรื่องนวัตกรรม ก็จะไปดูแลในส่วนของพอร์ตโฟลิโอแกนนวัตกรรมใหม่ไป ในส่วนของธุรกิจเดิมที่ยืนมาแข็งแกร่งดีแล้วก็เป็นหน้าที่ของ Laggards ทั้งนี้เราต้องมีความเข้าอกเข้าใจ (empathy) พนักงานด้วยว่าสุดท้ายแล้วทุกคนต้องการอะไร

นำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการทรานฟอร์ม

วิธีที่คุณอาร์ตแนะนำเพื่อทรานฟอร์มธุรกิจใหม่ให้ดีขึ้น เราต้องนำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการทรานฟอร์ม โดยคุณอาร์ตก็เริ่มต้นจากการปรับแกนธุรกิจ Core Innovation ในพอร์ตโฟลิโอของบริษัท กล่าวคือนำนวัตกรรมมาต่อยอดธุรกิจเดิม แล้วจากนั้นก็เพิ่มความหลากหลายของธุรกิจด้วยสินค้าหรือบริการรูปแบบใหม่ผ่านแกน Adjacent Innovation และนำไปสู่สิ่งสุดท้าย New Innovation กล่าวคือสร้างธุรกิจใหม่ด้วยนวัตกรรมใหม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นกิจการต้องพิจารณาก่อนว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร เสี่ยงต่อดิสรัปชันมากแค่ไหน แล้วค่อยขยายแกนธุรกิจในแต่ละด้านตามความเหมาะสม 

ตัวอย่างเช่นในกรณีของบริษัท SCG Cement-Building Materials คุณอาร์ตมองว่าผลการดำเนินงานบริษัทยังอยู่ในระดับดี ไม่โดนดิสรัปชันเท่าอุตสาหกรรมอื่น จึงจะเพิ่มนวัตกรรมใหม่ ๆ มาผสมกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งสินค้าเดิมอย่างปูนซีเมนต์เป็นตัวชูโรง มียอดขายที่สูงมาก ๆ  แต่ก็มีความเสี่ยงภายนอกจากคู่แข่งประเทศจีนอย่างแน่นอน สิ่งที่คุณอาร์ตเลือกทำใน Core Innovation คือออกเทคโนโลยี Smart Dispatching มาช่วยจ่ายสินค้าปูนซีเมนต์ให้ลูกค้าอัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้ารวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น จะเห็นได้ว่าสินค้าเดิมยังเป็นปูนซีเมนต์อยู่ แต่การนำเทคโนโลยีมาเสริมให้สะดวกสบายมากขึ้น 

เช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องมือใหม่เพื่อขยายแกน Core Innovation และ Adjacent Innovation ในการรับลูกค้ากลุ่มใหม่ และ อำนวยความสะดวกลูกค้ากลุ่มเดิม คุณกรณ์จึงหันมาพัฒนาระบบ O2O (Offline to Online) ให้แข็งแกร่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราใกล้ชิดกับลูกค้าตามโมเดล B2B2C มากขึ้น เพราะคุณอาร์ทพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคจะอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่าการเดินเข้าร้านค้าแล้ว แม้ว่าจะเป็นสินค้าเดิม ลูกค้ากลุ่มเดิม แต่เราก็มอบประสบการณ์ใหม่เพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้า ทำให้คนเข้าถึงแบรนด์ได้ดีขึ้น

นอกเหนือจากนี้ ในด้านแกนของ Adjacent Innovation ที่เน้นสินค้าบริการใหม่สำหรับลูกค้าที่มีอยู่เดิม คุณอาร์ตเริ่มต้นทำ Designer Platform เพื่อทำความเข้าใจเส้นทางผู้บริโภคกตั้งแต่ต้นจนจบ (Customer Journey) ก่อนหน้านี้ SCG จะเน้นรวบรวมข้อมูลสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าอย่างเดียว แต่ไม่เคยมองไปถึงขนาดที่ว่าลูกค้านำสินค้าไปทำอะไร หลังจากที่ตามหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการก็ได้คำตอบมาว่าความฝันของพวกเขาคือการสร้างบ้านและมีชีวิตที่อยู่ในบ้านอย่างมีความสุข จึงนำมาสู่บริการใหม่ SCG จะหาสถาปนิกหรือนักตกแต่งภายในมาออกแบบบ้านให้ตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น และได้พัฒนา Pro Shop สำหรับคนที่นิยมสร้างบ้านผ่านการออกแบบด้วยตนเองแบบ DIY ตอบโจทย์ลูกค้ารุ่นใหม่ให้หันมาใช้สินค้าและบริการของ SCG มากขึ้น

สามเสาหลักความสำเร็จของนวัตกรรมใหม่

นวัตกรรมใหม่จะประสบความสำเร็จได้ต้องประกอบด้วยสามสิ่งที่เรียกว่า Innovation Trinity ได้แก่

1. Desirability กล่าวคือลูกค้าต้องอยากได้ อยากจ่ายเพื่อมาใช้งาน โดยเราจะดูจากกระบวนการ Design Thinking  

2. Practicality ต้นทุนไม่สูง มีศักยภาพที่จะทำได้ เราจะใช้เครื่องมือ Business Model Canvas

3. Feasibility ทำแล้วต้องได้กำไร ในจุดนี้เราจะใช้โมเดลที่เรียกว่า Lean Startup แต่กรณีของสินค้าที่มีอยู่เดิม เราสามารถข้ามขั้นตอนมาที่ Feasibility ได้เลย เช่น เพิ่มช่องทางในการเข้าหาลูกค้ากลุ่มใหม่ หรือเพิ่มกำไร

สามารถดาวโหลดเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ที่ Techsauce Clubhouse


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปประเด็นจาก KBTG Roundtable ย้ำ ยุค AI ต้องมี Best Human ในลูป

ในงาน KBTG Roundtable นำทัพโดย คุณกระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ร่วมด้วยคณะผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ได้พาเราย้อนกลับไปสำร...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...

Responsive image

มอง ‘เกษตรกรรม’ อย่างที่มันเป็น และเหตุผลสำคัญที่ต้องเพิ่ม ‘คนสร้าง AgriTech’

ชีวิตเกษตรกรดีขึ้นเพราะ 'เทคโนโลยี' ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจปัญหาในภาคเกษตร และความสำคัญของการพัฒนา AgriTech หรือ เทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่ต้องเริ่มจาก 'คน' ผ่านบทสัมภาษณ์ คุณสรรเ...