Corporate Transformation แบบไทย ๆ EP.2 ‘The Trap’ กับดักทางนวัตกรรมที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ไปไม่ถึงดาวดวง | Techsauce

Corporate Transformation แบบไทย ๆ EP.2 ‘The Trap’ กับดักทางนวัตกรรมที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ไปไม่ถึงดาวดวง

สรุปประเด็นสำคัญจาก Techsauce Clubhouse ในตอน Corporate Transformation แบบไทย ๆ EP.2 - ‘The Trap’ กับดักทางนวัตกรรมที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ไปไม่ถึงดาวดวง ซึ่งมีคุณอาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer จากบริษัท SCG Cement-Building Materials ร่วมพูดคุยกับคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย 

กับดักที่ทำให้การ Transformation ขององค์กรไปไม่ถึงฝัน

ในด้านของคุณสมคิดมากับ 4 คำถามที่มองว่าเป็นสิ่งที่คาใจผู้บริหารและเป็นกับดักในการ Transform องค์กร

  • เชื่อหรือไม่: คำถามนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองว่าจะมีความเชื่อว่าการทำ Digital Transformation จะมาเปลี่ยนรูปแบบดั้งเดิมของธุรกิจไปโดยสิ้นเชิง เช่น จะเชื่อหรือไม่ว่าธนาคารจะถูกแทนที่ด้วย Fintech จากบริษัทเทคยักษ์ใหญ่

  • ไปทางไหน: คือการที่องค์กรรู้ว่าจะต้องถูก Disrupt แต่ยังไม่รู้ว่าจะนำองค์กรไปทางไหน จะต้องสร้างใหม่ หรือจะอิงแบบเดิมขององค์กร แต่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ใครจะช่วย: องค์กรต้องจะมองว่ามีความน่าสนใจอย่างไร ที่จะดึกดูดคนอื่น ๆ เข้ามาช่วยพัฒนา Innovation หรือจะไปเป็น Partner กับใคร เช่น ธนาคารควรจะดึงใครเข้ามาช่วยดูเรื่องการพัฒนา AI หรือ Blockchain

  • ซวยไหมกู ? : คำถามนี้จะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรไม่สามารถตอบคำถามทั้ง 3 ด้านบนได้ไม่ชัดเจน เพราะจะมีความเป็นไปได้ไหมที่องค์กรจะโดน Disrupt

ส่วนทางคุณอาร์ทมีมุมมองเพิ่มเติมจากคุณสมคิดว่ายังมีอีก 3 ปัจจัยที่เป็นกับดักขององค์กรใหญ่ ๆ หรือองค์กรที่อยู่มานานแล้ว และส่งผลให้องค์กรเล็ก ๆ ใหม่ ๆ สามารถทำ Transformation และไปได้เร็วกว่า

  • One-to-End Culture: จะเป็นมุมมองขององค์กรใหญ่ ๆ หรือองค์กรที่อยู่มานาน ซึ่งจะไม่เน้นไปที่การ Innovate สิ่งใหม่ แต่จะเป็นการเข้ามารับช่วงต่อ และจะมี Incremental Mindset มากกว่า

  • Employee Mindset: การที่พนักงานทุกคนตั้งแต่ระดับสูงลงมาถึงระดับล่างมี Mindset แบบนี้จะเป็นอีกกับดักหนึ่งขององค์กร (ยกเว้นธุรกิจครอบครัวและ Startup ที่จะไม่มี Mindset แบบนี้)

  • Self-disrupt Concerns: องค์กรเก่า ๆ มักจะกังวลว่าถ้าทำสิ่งใหม่แล้วจะมา Disrupt รูปแบบเดิมขององค์กร

นอกจากนี้คุณอาร์ทยังเห็นว่าองค์กรในไทยมีองค์กรอยู่ 2 แบบ คือ

  • Kingdom: จะมีผู้บริหารเป็น King เพียงคนเดียว พนักงานคนอื่น ๆ คือคนที่เดินตามเพียงอย่างเดียว และถึงแม้ว่าพนักงานจะมีความเห็นที่แตกต่างจากผู้บริหาร แต่จะทำได้เพียงปฏิบัติตามเท่านั้น ซึ่งถ้าผู้บริหารเก่ง องค์กรก็จะไปได้เร็ว

  • Federation: ทุกอย่างในองค์กรจะบริหารผ่านคณะบริหาร ซึ่งจะต้องมีการ Discuss ลงความเห็นตลอด และถ้าคณะบริหารมี Employee Mindset องค์กรก็จะเดินได้ช้า

 People management หนึ่งในกับดักที่สำคัญ ?

ในมุมมองของคุณอาร์ท มองว่า องค์กรก็คือ ‘คน’ ที่ทำงานอยู่ร่วมกันในบริษัทเดียวกันในช่วงนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นตั้งแต่ระดับสูงลงมาถึงระดับล่าง และถ้าจะเริ่ม Transformation องค์กรให้สำเร็จจะต้องเริ่มมาจากคน ซึ่งถ้าคนมี Mindset ที่จะขับเคลื่อนองค์กร การ Transformation ก็จะไม่สำเร็จ

ในด้านของคุณสมคิด มองว่า ความสำเร็จต้องเริ่มมาจากผู้นำ และผู้นำจะต้องมีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจน โดยจะอยู่ที่มุมมองผู้บริหารว่าจะเลือกเชื่อไปทิศทางไหน และสุดท้ายองค์กรจะเดินไปทางนั้น เช่น ถ้าผู้บริหารมีความเชื่อว่าในอนาคต Cryptocurrency จะมาแทนที่ระบบธนาคารแบบเดิม แบบนี้องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่รับเอาความรู้เรื่อง Cryptocurrency เข้ามาในองค์กร แต่ถ้าผู้บริหารมองว่า Cryptocurrency เป็นแค่เรื่องที่เข้ามาชั่วคราว องค์กรก็จะพัฒนาไปด้านอื่นมากกว่า แต่ก็ยังรับเอาความรู้เรื่อง Cryptocurrency เข้ามาบ้างเพื่อให้องค์กรตามทันเหตุการณ์ใหม่ ๆ

องค์กร Spin off vs องค์กรแม่ ไปด้วยกันอย่างไรให้รอด?

จากมุมของคุณอาร์ทได้ให้ข้อดี-ข้อเสียขององค์กรที่ Spin off ออกมาว่า

  • ข้อดี: การ Spin off ออกมาจะทำให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้แน่นอน และจะไม่โดน Immune System ขององค์กรแม่ฆ่าแน่นอน

  • ข้อเสีย: ขาย้อนกลับนำนวัตกรรมไปใช้กับองค์กรแม่ หรือทำให้องค์กรแม่เข้าใจจะยากมาก

สำหรับองค์กร Spin off ที่ทำ Innovation ที่เป็น Incremental สำหรับแค่ปรับปรุง Core business จะไม่ถือเป็นกับดักหรือมีแรงต้านมากมาย เพราะผู้บริหารจะมีความพร้อม และมีความรู้ด้านนี้อยู่แล้ว เพียงแค่มา Align ไปกับ OKR ของบริษัทเท่านั้น

แต่ถ้ามองไปที่ Innovation ใหม่เลย อย่างเช่น Cryptocurrency อาจจะส่งผลให้เกิดแรงต้านขึ้นมา และอาจจะเกิดการ Disrupt ตัวเองด้วย ดังนั้น มันจะต้องอาศัย Mindset ของทุกคนในองค์กร ทั้งระดับผู้บริหาร ระดับ Manager และระดับ Team ที่จะไม่เป้นกับดักไปเอง

คุณอาร์ทยังมองว่า สำหรับองค์กรใหญ่ ๆ ที่มี One-to-end culture ซึ่งมีกับดักหลายอย่างในการ Transformation องค์กร เช่น ผู้บริหารที่มีการตั้ง OKR แบบ Operation excellence และมี Mindset แบบ Incremental growth ซึ่งจะมีการโตแบบช้า ๆ แต่จะโตอย่างมั่นคง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่จะเลือกว่าจะบริหารแบบเดิมที่มี Incremental และ Employee mindset หรือจะเปลี่ยนไปบริหารแบบใหม่เพื่อสร้าง Legacy แต่มักจะมีความเสี่ยงกว่าแบบเดิม ซึ่งทำให้ผู้บริหารไม่กล้าตัดสินใจเปลี่ยนการบริหารไปแบบใหม่

นอกจากนี้ผู้บริหารในองค์กรเล็กที่แยกออกมาและองค์กรใหญ่จะต้องมีการ Buy-in กันและกันกับไอเดียที่มีความจำเป็นและจะส่งผลดีกับองค์กร อีกทั้งจะต้องมีการร่วมงานกันของคนจากทั้งสององค์กรเพื่อสานสัมพันธ์และติดตามการทำงานซึ่งกันและกัน

ในด้านของคุณสมคิดมองว่า องค์กรแม่จะต้องคอยช่วยสนับสนุนองค์กร Spin off เพื่อให้องค์กรเล็กไปเสริมองค์กรใหญ่ในเรื่องของ Innovation กับ Mindset ที่แตกต่างออกไป และผู้บริหารในระดับสูงจะต้องเปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่เพื่อให้พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ 

อีกทั้งทั้งสององค์กรจะต้องใช้ Strength ที่มีเข้ามาทำงานร่วมกัน นั่นหมายความว่า องค์กรแม่จะมาครอบงำองค์กรเล็กไม่ได้ และจะต้องมีการสนับสนุน Resource อย่างเช่น การส่งคนที่เห็นภาพเดียวกับคนในองค์กรที่ Spin off เข้ามาช่วยงานในส่วนของการบริหาร และสนับสนุนให้องค์กรเล็กผลิตนวัตกรรมต่อไป

อยาก Transformation ให้รอดต้องทำอย่างไร?

จากด้านของคุณสมคิด ได้แนะนำมา 4 ปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้บริหาร ถ้าอยากจะทำการ Transformation องค์กรให้สำเร็จ

  • ผู้บริหารจะต้องมีความเชื่อชัดเจนว่าจะมีสิ่งที่เจ้ามา Disrupt องค์กร และจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปของรูปแบบขององค์กรมากน้อยแค่ไหน เช่น Nokia ในอดีตที่ไม่เชื่อว่า Apple จะเข้ามา Disrupt ถ้าตอนนั้น Nokia มีความเชื่อก็อาจจะหา Resource ที่เอามาพัฒนาโปรดักส์ให้ช่วยองค์กรได้

  • ผู้บริหารจะต้องมองว่าควรจะให้ความสำคัญกับทีมให้ไปกับโลกปัจจุบัน หรือโลกอนาคตมากกว่ากัน ซึ่งมองว่ายังมีผู้บริหารหลายคนที่ไม่กล้าทุ่มให้กับอนาคตที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในองค์กรใหญ่ที่จะเปลี่ยนได้ยากกว่าองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก

  • องค์กรจะต้องมีความสามารถในการดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยจะต้องมี Mission หรือเรื่องเล่าที่น่าสนใจในการดึงคนมาร่วมงาน

  • องค์กรจะต้องคอยติดตามลูกค้า และสรรหาวิธีใหม่ ๆ ที่ลูกค้าสนใจ

  • ผู้บริหารควรเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ จากคนที่มีความเห็นแตกต่างไปจากเรา เพื่อให้เข้าใจมุมมองใหม่ ๆ มากขึ้น

ในส่วนของคุณอาร์ท เห็นว่า ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จในการนำองค์กรไปให้ประสบความสำเร็จ (ในกรณีที่จะเริ่มต้นใหม่ให้องค์กร) ควรจะมีคุณลักษณะ ดังนี้

  • ต้องสร้าง Zero-to-one culture ให้ได้

  • ต้องเปลี่ยน Operation excellence เป็น Innovation excellence 

  • ต้องสร้าง Mindset ใหม่ให้องค์กร และต้องเปลี่ยน Employee mindset ออกไปและสร้าง Entrepreneur mindset แทน

  • พยายามเข้าใจลูกค้าที่มีความต้องการใหม่ ๆ 

  • ต้องกล้าเสี่ยงในการทำสิ่งใหม่ ๆ ให้สำเร็จในเวลาที่ไม่นานเกินไป

  • ต้องทำใจว่าการ Disrupt จะต้องเกิดขึ้นในองค์กรอย่างแน่นอน เพราะถ้าไม่เกิดเท่ากับว่าไม่เกิดการ Tranform และจะต้องคิดล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรถ้าองค์กรโดน Disrupt

การรับมือกับคนในองค์กรที่มองไม่เห็นโอกาสในการถูก Disruption

ในกรณีที่องค์กรแม่จะสร้าง Sense of Urgency ให้กลุ่มผู้บริหารระดับ C-level และ SVP เข้าใจว่าตอนนี้องค์กรมีโอกาสจะถูก Disrupt นั้น ในมุมมองของคุณสมคิดเห็นว่า การจะทำให้พวกเขาเห็นแบบนี้ Sense of Urgency จะต้องเป็นสิ่งที่กระทบกับตัวพวกเขาเองโดยตรง พวกเขาถึงจะเห็นถึงสัญญาณดังกล่าว

ในฟากของคุณอาร์ทได้ให้ความคิดเห็นไว้ 3 ข้อในการที่จะทำให้คนในองค์กรตระหนักถึงข้อนี้ได้ 

  • องค์กรต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่าจะเกิดการ Disrupt ในองค์กร แต่จะไม่สามารถคาดหวังให้ทุกคนมา Transform องค์กรได้ในระยะเวลาสั้น ๆ จะต้องให้เวลาพวกเขาในการปรับตัวด้วยเช่นกัน

  • องค์กรอาจจะต้องสร้างแคมเปญในองค์กร โดยเลือกกลุ่ม Early adopter ขึ้นมาทำ หรือทดลองทำ เพื่อให้คนอื่นมาทำตามในอนาคต

  • ผู้บริหารจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจะทำการสนับสนุนจริง ๆ และจะต้องเปิดให้ลองถูกลองผิด

สำหรับใครที่สนใจในเรื่องนี้ ทางคุณอาร์ทได้แนะนำหนังสือที่มีประโยชน์ในการทำ Transformation และการปรับตัวขององค์กร 

  • Outward Mindset: สอนให้เข้าใจและ Convince คนอื่นได้

  • The Innovator’s dilemma: การ Transformation และ Self-disruption

  • Zone to Win: การแบ่ง Zone ในการทำ Transformation

  • The lean startup: หลักการต่าง ๆ ของ Startup

  • Start with Why: เริ่มต้นด้วย Why ก่อนจะทำ Transformation ถ้า Why ใหญ่พอก็จะสำเร็จ





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Krungthai-AXA Life ยกระดับบริการประกันไปอีกขั้น ดึงโซลูชัน AppMan OCR+ เปลี่ยนไฟล์เอกสารเป็น Big Data

ธุรกิจประกันชีวิตได้เผชิญกับความท้าทายในรอบหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น วิกฤติโควิด-19 สถานการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งการใช้จ่ายและไลฟ์สไตล์...

Responsive image

ถกประเด็น 'Tech ที่เข้าตา-น่าลงทุน' จากงาน 'Technology Investment: The Game Changer'

รวมความเห็น เทรนด์ และประสบการณ์บางส่วนด้านการลงทุนด้านเทคโนโลยี จากผู้นำทางความคิด ผู้บริหารระดับสูง ที่มาร่วมพูดคุยกันว่า เทคโนโลยีใดน่าสนใจและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมได้ ...

Responsive image

มอง ‘เกษตรกรรม’ อย่างที่มันเป็น และเหตุผลสำคัญที่ต้องเพิ่ม ‘คนสร้าง AgriTech’

ชีวิตเกษตรกรดีขึ้นเพราะ 'เทคโนโลยี' ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจปัญหาในภาคเกษตร และความสำคัญของการพัฒนา AgriTech หรือ เทคโนโลยีด้านการเกษตร ที่ต้องเริ่มจาก 'คน' ผ่านบทสัมภาษณ์ คุณสรรเ...