Digital Ventures Accelerator หรือเรียกย่อๆ ว่า DVA เป็นโครงการ Accelerator ใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวและรับสมัคร Batch 0 ไปเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ช่วงก่อนเริ่มงาน Techsauce Summit พอดี และในช่วงนี้เชื่อว่าหลายๆ คนคงได้เห็นความคึกคักของ Digital Ventures กับการสนับสนุนกิจกรรม Startup ต่างๆ จนอดรู้สึกอยากรู้ไม่ได้ว่า แล้ว Accelerator ของที่นี่ มีแนวคิดการสนับสนุนเป็นอย่างไรบ้าง
วันนี้ทีมงานจึงได้มาพูดคุยกับคุณชาล เจริญพันธ์ Head of Accelerator และคุณกัน เจติยา งามเมฆินทร์ Accelerator Program Manager โดยพบว่าสามารถสรุปแนวคิดการทำงานของ DVA ได้ออกมาเป็น 10 ข้อ ดังนี้
มีคนเข้าใจผิดกันเยอะค่ะ ว่าที่นี่รับเฉพาะฟินเทคเท่านั้น ซึ่งความจริงไม่ได้จำกัดแค่ FinTech อย่างเดียว แม้ภาพลักษณ์ของ Digital Ventures จะเน้น FinTech เพราะเปิดตัวในฐานะ First FinTech Ecosystem Enabler “โดย DVA เราอยากจะช่วยวงการ Startup และตั้งเป้าว่าจะเป็น Accelerator ชั้นนำในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติด้วย” ระบุโดยคุณชาล
พอได้เข้าไปดูแบบฟอร์มรับสมัครของ DVA ก็เห็นตามนั้น ในช่องประเภทมีออปชันให้เลือกราวๆ 20 สาขา รวมถึงอื่นๆ ด้วย เรายิงคำถามต่อไปว่า หากรับทุกสาย อะไรอีกบ้างที่เป็นจุดเด่นที่น่าสนใจของ Digital Ventures สำหรับ Startup จากหลากหลายสาขา ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ
DVA สามารถช่วยเชื่อมต่อกับหน่วยธุรกิจต่างๆ ของ SCB เพื่อช่วยทำให้เขาเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ทำให้ธุรกิจเขาเติบโตมากขึ้น เพราะทั้งบุคคลทั่วไป บริษัทต่างๆ ต่างก็เป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว นอกจากนี้การสนับสนุนจาก Corporate ยังช่วยให้ Startup ได้รับความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นด้วย
นอกจาก Accelerator แล้ว Digital Ventures ก็ยังมีอีกสามภาคส่วนอย่าง Venture Capital (หน่วยงานลงทุนองค์กร), Digital Products (หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล) และ Discovery Lab (หน่วยงานแลปค้นหานวัตกรรมใหม่) ซึ่งล้วนมีความเชื่อมโยงกับ Tech Startup ทั้งสิ้น การมีทั้ง 3 ส่วนงานนี้ใน DV จึงเหมือนเป็น one stop ของเหล่า Startup เลยก็ว่าได้
10 Startup ที่ได้เข้าร่วมโครงการ จะได้เงินแบบไม่ต้องแลกหุ้นไปเลย 3 แสนบาท! ทำไม Accelerator ของที่นี่จึงชูเรื่องเงินเข้ามา คุณชาลเล่าว่า ตลาดการแข่งขันมันเปลี่ยนไปมาก เงินที่เคยพอสำหรับ Startup สามปีที่แล้ว มันไม่พอแล้วตอนนี้ หลังจากเฟ้นหา Startup ดีๆ ได้แล้ว เราต้องให้เงินเขามากพอด้วย ที่จะช่วยให้เขาพัฒนาไประดับต่อไป และอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องพะวงเรื่อง Raise fund รอบต่อไป
แน่นอนว่าให้เงินขนาดนี้ กรรมการก็จะต้องสแกนหาคนที่ตั้งใจจริงๆ ไม่ได้มาเล่นๆ โดยสรุปขั้นตอนการคัดเลือกเป็นดังนี้
คุณกันฝากบอกว่าเกณฑ์นึงคือ อยากได้ Startup ที่มองการณ์ไกล ไม่ใช่แค่มองจะโตในประเทศไทย แต่มุ่งโตระดับภูมิภาคหรือระดับโลก
นอกจากเรื่องทุนให้เปล่าแล้ว Startup นั้นยังมีโอกาสได้รับการลงทุนจาก SCB หรือ DV ด้วย สำหรับทีมที่สนใจ เงินลงทุนขั้นต่ำคือ 1 ล้านบาท และไม่มีลิมิตเพดาน ถ้า Startup น่าสนใจอาจได้รับเงินลงทุนหนักๆ ไปเลย 6 ล้านก็เป็นได้
“จากการร่วมมือกับ SCB และ ส่วนงาน Venture Capital ของ DV เรามี Relationship กับ Speakers ต่างๆ นักลงทุน รวมถึงพาร์ทเนอร์ระดับโลกหลายๆ ที่ ตอนนี้เรามีคุยกับ Accelerator ของประเทศอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ หรือแม้แต่ Y Combinator เอง ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ภายใต้การเจรจากันอยู่ค่ะ คือเราวางแผนระยะยาวให้ Startup โตได้จริงๆ” คุณกันได้ระบุไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้
ถามต่อไปว่า แล้วระหว่างโครงการจะมีอะไรบ้าง คุณชาลเล่าว่า “หลายคนมองว่าเข้า Accelerator ส่วนใหญ่ในโลก ให้ไม่กี่อย่าง ให้ Mentorship, Relationship และ Workspace แต่ทั้งหมดนี้ สถานที่อย่าง Co-working space ดีๆ ในโลกก็ให้ได้ถูกไหม ของ DVA มีครบทั้งหมด และเรายังเน้นเรื่อง Education ไปพร้อมๆ กับเน้นเรื่องการสร้างโปรดักส์และธุรกิจ เพราะวงการเราเพิ่งมีมาไม่นานเรื่อง Skill set เรื่อง Know-how ต่างๆ เนี่ย ส่วนใหญ่ไม่รู้ลึกจริงๆ รู้แค่ผิวเผิน เราอยากจะมั่นใจว่าเขารู้ลึกพอ Mentor ของเราจะเป็นแบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง กับ Startup เลย เพื่อที่จะปรับพื้นฐานเขาให้ดีก่อน พร้อมๆ กับ Speaker ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ช่วงสองเดือนหลัง เราจะจัดให้มีทำ Growth Hack กันจริงจัง”
จากจุดที่บอกว่าตลอด 2 เดือนจะช่วยเร่ง Growth Hack ให้ด้วย ทางคุณชาลและคุณกัน ได้เล่าต่อว่า DVA จะสรรหา Growth Hacker มืออาชีพมานั่งเป็นพนักงาน In-house ประจำของ DVA เลย ทำให้สามารถช่วยดูแลทุกทีมได้อย่างเต็มที่ เพิ่มเติมจาก Speaker ที่ปกติแล้วเป็นการบรรยายหรือให้คำแนะนำระยะสั้นเท่านั้น
สอบถามถึงเรื่อง Mentor ว่าทำไมยังไม่เห็นมีรายชื่อเปิดเผยออกมา ปรากฏว่าเหตุผลจริงๆ ก็คือ ที่นี่อยากให้ Startup แต่ละทีม เป็นฝ่ายเลือก Mentor ของตัวเอง!
“เพราะ Startup ที่เราเลือกเข้ามาไม่ใช่แค่มีไอเดีย แต่นี่เขามีโปรดักส์แล้ว หรืออาจมีลูกค้าแล้วด้วยซ้ำ ประเด็นคือเขาต้องการคนที่จะช่วยพาธุรกิจของเขาไปสู่เลเวลถัดไป ดังนั้น Mentor จะต้องมี Synergy อะไรบางอย่างในเชิงธุรกิจกับเขาด้วย ลองมาคุยกัน ให้รู้ความต้องการกันก่อน จากนั้นเราจะไปหา Mentor ที่เหมาะสมที่สุดมาให้ อาจจะไม่ใช่คนในวง Startup ก็ได้ เช่น สมมติเขาทำแอปเกี่ยวกับดนตรี ก็อาจจะต้องเอาคนในวงการดนตรีมา หรือทำ FinTech ก็อาจจะอยากได้ผู้บริหารของธนาคาร เป็นต้น” คุณชาลเล่าถึงจุดประสงค์ ส่วนคุณกันเสริมต่อว่า “10 ทีมสุดท้ายเรายังไม่รู้เลยว่าจะได้ใครมา เราอยากดูก่อนว่าแต่ละทีมต้องการ Mentor แบบไหน สมมติเป็น E-commerce เขาจะต้องการใคร หรือถ้าเป็น FinTech มันก็มีแยกย่อยหลายประเภทถูกไหม เราจะมีคุยกับทีมว่าตอนนี้ขาดอะไร ต้องการเพิ่มอะไร เราก็อยากจะตอบโจทย์แบบนั้นเพราะเขาต้องอยู่ด้วยกันยาว”
ก่อนหน้านี้ระหว่างเล่าถึงเรื่องเงินลงทุนที่ยืดหยุ่นตั้งแต่ 1 ล้านบาท ไปจนถึงไม่มีลิมิตเพดาน คุณชาลก็ได้เล่าเพิ่มเติมถึงความยืดหยุ่นของโปรแกรมการบ่มเพาะ เนื่องจากว่าบาง Startup เช่น FinTech หรือ Hardware อาจใช้เวลาในการ Launch มากกว่าประเภทอื่น DVA เลยเลือกที่จะยืดหยุ่น ให้คุณสร้างธุรกิจไป ที่นี่ก็ช่วยในระยะยาวให้ชัวร์ จะไม่รีบร้อนเพื่อเดโม
นอกจากนี้ที่นี่ยังมีแนวคิดเรื่องการเชื่อมต่อระหว่าง Batch ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง Batch 0 และ Batch 1 จะจัดให้เหลื่อมกันบ้าง เพื่อให้ได้รู้จักและเรียนรู้กันและกัน
ซึ่ง DVA Batch 0 นั้นเปิดรับสมัครถึงสิ้นเดือนนี้ (31 ส.ค.) เท่านั้น Startup ที่สนใจ กรอกใบสมัครได้เลยที่เว็บไซต์ www.dv.co.th
และสามารถอ่านบทสัมภาษณ์คุณชาลและคุณกัน ถึงการเข้ามาทำ Accelerator ที่ Digital Ventures แบบเต็มๆ ได้ที่นี่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด