‘Abnormal-New Abnormal-New Normal’ 3 ระยะที่โลกเผชิญในวิกฤติ COVID-19 | Techsauce

‘Abnormal-New Abnormal-New Normal’ 3 ระยะที่โลกเผชิญในวิกฤติ COVID-19

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกทำให้หลาย ๆ ประเทศนั้นเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลาย ๆ คนอาจจะยังสงสัยว่าตอนนี้สภาพเศรษฐกิจของเรานั้นอยู่ถึงจุดตกต่ำที่สุดแล้วหรือยัง? ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ New Normal แล้วหรือไม่? Techsauce จึงได้รวบรวมคำตอบมาให้ทุกท่านผ่านการพูดคุยกับ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ประธานทีมเศรษฐกิจและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Sea (Group) ที่มีบริษัทในเครืออย่าง Garena, Shopee และ AirPay ที่ได้วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการปรับตัวของ Tech Giant หลัง COVID-19 

ภาพรวมเศรษฐกิจภูมิภาค SEA “ขึ้น” หรือ “ลง”

ทางคุณสันติธารได้เผยว่า เศรษฐกิจในตอนนี้นั้นถือว่าถูกผลกระทบหนักมากในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งเร็ว ๆ นี้ตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 1 ได้ออกมาแล้ว ตัวเลขที่ออกมานั้นก็ค่อนข้างแย่กว่าที่นักวิเคราะห์หลาย ๆ คนคาดการณ์ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งก็ถือว่าแย่กว่าตอนนี้เกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งเสียอีก

ตัวเลข GDP ที่ออกมาในไตรมาสที่ 1 นี้ จะไม่ใช่ตัวเลขที่ต่ำที่สุด แต่จะอยู่ในไตรมาสที่ 2

ซึ่งคุณสันติธารได้ให้เหตุผลว่า เพราะว่าในไตรมาสที่ 1 จะมีแค่ประเทศจีนที่ทำมาตรการ Lockdown แต่ประเทศในอาเซียนในช่วงต้นปีนั้นยังไม่มีมาตรการใด ๆ และพึ่งเริ่มที่จะใช้มาตรการในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 และทำการ Lockdown ในต้นไตรมาสที่ 2 อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น ตัวเลขที่ต่ำที่สุดจะไปอยู่ในไตรมาสที่ 2 นั่นเอง ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจนั้นเริ่มเดินถอยหลังมาตั้งแต่ก่อนที่จะใช้มาตรการจริง ๆ เสียอีก

โดยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันของแต่ละประเทศในอาเซียนก็แตกต่างกันไป ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะต้องพิจารณาอยู่ 3 ปัจจัยก็คือ แต่ละประเทศมีการรับมือกับการระบาดอย่างไร, เศรษฐกิจนั้นพึ่งพาอุตสาหกรรมใด และมีนโยบายที่เข้ามาช่วยเหลือในภาคเศรษฐกิจอย่างไร 

  • สิงคโปร์ เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักจากการพึ่งพาการส่งออกเยอะค่อนข้างมาก เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ส่งผลค่อนข้างหนัก รวมถึงจากสถานการณ์การระบาดระลอก 2 ทำให้ต้องมีมาตรการ ‘Circuit Breaker’ ทำให้เศรษฐกิจนั้นถูกผลกระทบในระยะเวลายาวขึ้นไปอีก

  • มาเลเซีย ค่อนข้างคล้ายกับสิงคโปร์ตรงที่พึ่งพาการส่งออกค่อนข้างเยอะ และก็ส่งผลกระทบมากขึ้นไปอีกจากราคาน้ำมันตกต่ำ เนื่องจากประเทศนั้นพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมันค่อนข้างมาก

  • ฟิลลิปปินส์และอินโดเนเซีย มีมาตรการรับมือการระบาดนั้นไม่ดีอย่างเท่าที่ควร อย่างฟิลิปปินส์ที่ได้ทำมาตรการ Lockdown แต่ด้วยการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ภาค Logistic นั้นชะงักตัว ซึ่งทำให้เกิด Disruption ขนาดใหญ่ และในส่วนอินโดเนเซียที่เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียนนั้นมีการตอบโต้กับสถานการณ์ช้า ซึ่งทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อนั้นค่อนข้างสูง บวกกับการระบาดที่ทำให้ค่าเงินผันผวน ทำให้เศรษฐกิจนั้นถูกผลกระทบค่อนข้างหนัก

  • ไทย ต้องยอมรับว่าในเรื่องของสาธารณสุขของไทยนั้นค่อนข้างดี ในแง่การควบคุมการระบาดของไวรัส แต่ข้อเสียของไทยนั้นก็คือ ประเทศนั้นพึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก แต่ภาคการท่องเที่ยวนั้นจะกลับมาเปิดเป็นภาคสุดท้าย ซึ่งเศรษฐกิจของไทยอาจจะไม่ได้ฟื้นในเร็ว ๆ นี้ และภาคการเกษตรที่ถูกผลกระทบจากภัยแล้ง ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากขึ้นไปอีก

  • เวียดนาม เป็นประเทศที่ค่อนข้างมีมาตรการรับมือได้ดีตั้งแต่ต้น จึงเป็นประเทศที่ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในหมู่ประเทศอาเซียน

ช่วงใดคือ “จุดต่ำสุด” ของเศรษฐกิจ

คุณสันติธารเผยว่า จุดต่ำสุดจริง ๆ ในตัวเลข GDP จะอยู่ที่ไตรมาส 2 เนื่องจากการ Lockdown อย่างสมบูรณ์แบบนั้นอยู่ในไตรมาสนี้ แต่ถ้าในเรื่องของความรู้สึก ในไตรมาส 3 นั้นคนจะรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นแย่พอ ๆ กับไตรมาส 2 เนื่องจากในไตรมาส 2 นั้นบริษัทต่าง ๆ ยังมีความพยายามที่จะประคับประคองบริษัทไปก่อน ไม่ปลดพนักงานออก แต่ในไตรมาส 3 อาจจะเริ่มเห็นหลาย ๆ บริษัทนั้นไม่ไหวแล้ว เรื่องปัญหาหนี้ ๆ ต่าง มีการเลิกจ้างงานมากขึ้น ซึ่งในช่วงกลางปีนี้จะเป็นช่วงที่คิดว่าแย่ที่สุด

แต่ในส่วนของการฟื้นตัวนั้น คุณสันติธารได้เผยถึง 2 บริบทที่อาจจะเกิด คือ “U Shape” การฟื้นตัวจะค่อย ๆ ดีขึ้น ในกรณีที่มีการค่อย ๆ เปิดเมือง ยอมสละให้เศรษฐกิจฟื้นช้าเพื่อความปลอดภัย และแบบ “W Shape” การกลับมาเปิดเมืองแบบรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดละรอก 2 และอาจจะส่งผลให้เกิดการ Lockdown รอบใหม่

อย่างไรก็ตามแต่ ในสองบริบทนี้เราจะไม่ได้เห็นการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด และเราจะไม่เข้าสู่ New Normal จริง ๆ จนกว่าการพัฒนาวัคซีนนั้นจะสำเร็จ

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อ SEA Group

ครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น “มหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ” ไม่ว่าจะภาคส่วนใด ในตอนแรกก็อาจจะมีเรื่องของ Disruption ในเรื่องของ Supply Chain และ Logistic ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต แต่ในตอนนี้ที่เราเริ่มเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง ผู้คนนั้นขาดรายได้ และกำลังซื้อนั้นลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ Demand ของทั้งเศรษฐกิจ

             วิกฤตินี้เป็นวิกฤติที่ไม่มีใครรอด

แต่ละภาคอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป โดยภาคที่กระทบเยอะที่สุดจะเป็นธุรกิจในกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับลูกค้า ธุรกิจสถานบันเทิง และการท่องเที่ยว และภาคที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดก็จะเป็นกลุ่มธุรกิจจำพวก Healthcare และ From Home Economy หรือธุรกิจที่อำนวยสะดวกการอยู่บ้าน เช่น เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการทำ Video Conference, กลุ่มธุรกิจ Entertainment อย่าง ธุรกิจให้บริการหนัง เพลงและเกม, กลุ่ม E-Commerce อำนวยความสะดวกการซื้อ-ขายของผ่านช่องทางออนไลน์ และรวมถึงกลุ่ม E-Payment ที่ช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันมากขึ้น

ซึ่งธุรกิจของ SEA Group นั้นจะอยู่ในกลุ่ม E-Sport, E-Commerce และ E-Payment ซึ่งก็เป็น 3 ภาคธุรกิจที่ช่วยให้เศรษฐกิจนั้นยังเดินต่อไปได้ หลาย ๆ คนก็หันมาใช้เครื่องมือทางดิจิทัลกันมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นแค่ตัวเลือก แต่ในตอนนี้มันกลับกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งก็ทำให้เกิด “Adoption” ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นทางบริษัทก็ได้พยายามหาทางที่จะช่วยให้เศรษฐกิจนั้นยังขับเคลื่อนไปได้ผ่านแคมเปญต่าง ๆ 

โดยทาง Garena ได้ทำแคมเปญ “แบกหมอสู้โควิด” ที่ทำการระดมทุนผ่านการแข่งขัน E-Sport และยังได้ร่วมมือกับภาคการท่องเที่ยวจัดการแข่งขัน E-Sport สนับสนุนให้คนนั้นอยู่บ้าน รวมถึงการใช้ช่องทางเกมมาเป็นกระบอกเสียงกระจายเสียง เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ COVID-19

ในส่วนของ Shopee ได้มีการแบ่งความช่วยเหลือออกเป็นหลาย ๆ เฟส ซึ่งในเฟสแรกจะเน้นทางเรื่องสาธารณะสุข ทำอย่างไรให้คนเข้าถึงอุปกรณ์อนามัยจากที่บ้านได้ แต่ในตอนนี้ก็จะเริ่มเข้าสู่เฟสใหม่แล้ว ความช่วยเหลือก็จะไปเน้นทางด้าน SMEs มากขึ้น

“Abnormal-New Abnormal-New Normal” 3 เฟสในวิกฤติ COVID-19

ภายใต้วิกฤติ COVID-19 นี้เราจะเจอ 3 เฟสด้วยกัน คือ Abnormal, New Abnormal และ New Normal

  • Abnormal เป็นระยะก่อนหน้านี้ ที่เป็นวิกฤติที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ซึ่งในช่วงนี้เรื่องของสาธารณะสุขสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เน้นการหยุดการแพร่เชื้อ และยอมสละเรื่องของเศรษฐกิจไปก่อน โดยบริษัทในช่วงนี้จะเน้นเรื่องของการ “อยู่รอด” ทำอย่างไรให้รอดไปได้ก่อน

  • New Abnormal เป็นยุคเปลี่ยนผ่าน คือเรายังอยู่ในสถานการณ์ Abnomal อยู่ แต่ไม่เหมือนเดิม เป็นจุดที่เรากังวลเรื่องของเศรษฐกิจเท่ากับเรื่องของการระบาด และเป็นระยะที่รัฐบาลต่าง ๆ นั้นเริ่มคลายมาตรการ Lockdown ซึ่งเป็นการเปิดแบบค่อย ๆ เปิดไปที่ละภาคส่วน ทำให้ในช่วงนี้มีการทดลองค่อนข้างเยอะ รัฐบาลต้องมีการลองผิดลองถูก ในส่วนของบริษัทในระยะนี้คือต้อง “อยู่เป็น” เป็นช่วงที่บริษัทนั้นเริ่มกลับมาเปิด แต่ต้องไม่เหมือนเดิม ต้องเริ่มมีการบริหารความเสี่ยง ทำการทดลอง ค่อย ๆ ลงทุนและปรับตัวไป เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าสถานการณ์การระบาดในจะดีขึ้นหรือแย่ลง

  • New Normal เป็นระยะหลังการระบาด ซึ่งจะเป็นโลกแห่งการ “อยู่ยืน”

สามารถแบ่งออกมาเป็นระยะสั้น “อยู่ยืน” ระยะกลาง “อยู่เป็น” และระยะยาว “อยู่ยืน” ซึ่งเป็นยุทธ์ศาสตร์ที่บริษัทนั้นได้นำมาใช้

โดยทางคุณสันติธารได้ทิ้งท้าย ให้กำลังใจหลาย ๆ คนที่เผชิญวิกฤติในครั้งนี้อยู่ และเน้นย้ำถึงโอกาสในการสร้างคน สร้างบริษัท ค้าหาเป้าหมายและบทบาทของตัวเอง และเมื่อวิกฤติได้ผ่านพ้นไป จะทำให้เรานั้นก้าวและวิ่งไปข้างหน้าได้กว่าเดิม เราอาจจะเห็นบางคนนั้นโชคดีหรือประสบความสำเร็จ แต่จริง ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้มันเกิดจากการที่พวกเขานั้นเตรียมพร้อมและใช้เวลาของเขาให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาและเตรียมตัวเองให้พร้อม เมื่อวิกฤติได้ผ่านพ้นไป เราก็จะรู้ว่าใครนั้นโชคดีหรือโชคไม่ดี

   Luck is what happens when opportunity meets preparation





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...