3 ยักษ์ใหญ่ Telco ในประเทศไทย ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz | Techsauce

3 ยักษ์ใหญ่ Telco ในประเทศไทย ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz

ผู้ให้บริการเครือข่ายสำหรับโทรศัพท์มือถือหรือ Telco ในประเทศไทย 3 ราย ได้แก่ AIS, True และ dtac ประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz ส่วน กสทช. ขู่ตัดสิทธิ์ dtac อาจอดรับมาตรการเยียวยา ถ้าไม่เข้าร่วมการประมูลฯ

AIS true dtac logo

วันนี้ (15 มิถุนายน 2561) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เวอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ออกเอกสารแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ว่าไม่ร่วมการเข้าประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม 1800 MHz แล้ว

ส่วนบริษัท ทรู คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งไม่ร่วมเข้าการประมูลฯ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมาแล้ว

[gallery link="file" size="medium" ids="39019,39020,39021"]

ล่าสุด Manager Online รายงานว่า นายฐากร ตันทสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า กสทช. สามารถเตรียมการประมูล วันที่ 4 ส.ค. ซึ่งทันก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. แต่กลับไม่มีใครมายื่นซองเพื่อเข้าร่วมประมูล 1800 MHz แม้แต่ดีแทคเองซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด มีลูกค้าอยู่ในระบบ 4.7 แสนเลขหมาย ยังไม่สนใจ เพราะหวังเข้าสู่มาตรการเยียวยาคลื่น กสทช.

เมื่อช่วงเช้าตนจึงได้รายงาน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากอะไร การที่ดีแทคไม่ร่วมประมูล เพราะรอมาตรการเยียวยา กสทช. จึงต้องแก้ปัญหานี้

โดยจะนำเข้าที่ประชุม กสทช. ในวันที่ 27 มิ.ย. และเสนอให้รัฐบาลหาทางออก ทางไหนหาทางออกได้เร็วที่สุด ตนก็จะเลือกทางนั้น เพื่อให้มีการประมูลภายในปีนี้ ไม่เช่นนั้นก็ต้องรอไปถึงปีหน้า

"ใครที่ฝันไม่ไกล ระวังจะไปไม่ถึง บอกว่าคลื่นพอ เราจะทำให้ไม่พอเอง จะอ้างว่าราคาแพง เราก็บอกแล้วว่าลดราคาไม่ได้ เพราะมันเป็นราคาที่ เอไอเอส และ ทรูจ่ายเงินมา 75% แล้ว กสทช.ต้องจัดการเรื่องนี้ให้ได้ แต่หากให้แก้หลักเกณฑ์เป็น 9 ใบ ตรงนี้ทำได้" นายฐากร กล่าว

ด้าน พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช. ระบุว่า ในครั้งที่แล้วที่ กสทช.ออกมาตรการเยียวยา เพราะลูกค้าอยู่ในระบบ จำนวนมาก และ กสทช.จัดประมูลไม่ทัน เกรงว่าจะเกิดซิมดับและกระทบต่อผู้ใช้งาน แต่ครั้งนี้ ไม่ใช่ เพราะกสทช.จัดประมูลทัน ดีแทค จะมาหวังใช้คลื่นฟรีๆ ไม่ได้

ส่วนการยกเลิกมาตรการเยียวยา จะอยู่ที่อำนาจ ของ กสทช. หรือไม่ ต้องรอนำเข้าที่ประชุมก่อน

"หลังจากนี้เมื่อไม่มีผู้ประมูล กสทช.ต้องปรับหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ คาดว่าจะใช้เวลา 7-8 เดือน ถึงจะได้ประมูลอีกครั้ง แต่ยืนยันว่าไม่สามารถลดราคาได้ เอกชนไม่มีทางกดดันให้กสทช.ทำตามที่เอกชนต้องการได้" พล.อ. สุกิจ กล่าว

ข้อมูลและความเห็นอื่นๆ

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร dtac กล่าวว่า บริษัทได้พิจารณาไว้อย่างรอบคอบแล้วจะไม่มีการเข้าร่วมประมูล เพราะราคาเริ่มต้นประมูลสูง 37,457 ล้านบาท หาก กสทช. ปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ บริษัทจะนำไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง พร้อมยืนยันว่า ลูกค้าจะไม่ได้รับผลกระทบในกรณีที่ไม่มีคลื่น 1800 MHz เพราะดีแทค มีย่านคลื่นความถี่สูงอย่าง 2300 MHz มาให้บริการ ซึ่งมีปริมาณแบนด์วิดท์มากกว่าและให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าอยู่แล้ว

Photo: dtac

ขณะเดียวกัน ทางดีแทค หวังว่าจะได้รับความเท่าเทียมกันเหมือนกับตอนที่ กสทช. ให้ระยะเวลาเยียวยากับทางทรู และ DPC กว่า 26 เดือน หรือแม้แต่ในช่วงคลื่น 900 MHz หมดสัญญาสัมปทานก็ได้รับการเยียวยากว่า 9 เดือน

Photo: dtac

“แม้ว่าสถานการณ์บนคลื่นความถี่ 1800 MHz จะแตกต่างกัน จากกรณีที่ผ่านมาที่มีการประมูลล่าช้า แต่เป็นการจัดประมูลแล้วไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ทำให้เงื่อนไขบางอย่างในการเข้าสู่มาตรการเยียวยาเปลี่ยนไป ซึ่งทางดีแทค ก็มีการเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้แล้ว” นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร dtac กล่าว

ขณะที่ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวเช่นเดียวกันว่า หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลยังไม่เหมาะสมต่อการลงทุน

ส่วนนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า การประมูลคลื่น 1800 MHz ที่ล่มลง ส่งผลกระทบต่อการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทย เพราะปริมาณการใช้ Mobile Data ที่เพิ่มขึ้นจาก 8 GB/คน/เดือน รวมถึงทิศทางไปสู่ 5G ของไทยจะช้าลงไปอีก

อ้างอิงข้อมูลจาก dtac (1), (2), Manager Online และ โพสต์ทูเดย์

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

RML ตั้ง เบร็นตัน มอเรลโล นั่งเก้าอี้ CEO คนใหม่แห่งอสังหาชั้นนำฯ ลุยกลยุทธ์บุกตลาดโลก

บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรี่ และอัลตร้าลักชัวรี่ชั้นนำของไทย ประกาศแต่งตั้ง เบร็นตัน จัสติน มอเรล ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานเ...

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...