ปัจจุบันโลกเรากำลังขับเคลื่อนไปสู่เทคโนโลยี 5G โดยในบางประเทศเราเริ่มเห็นการใช้ในเชิงพาณิชย์กันแล้ว หนึ่งในนั้นคือ ‘จีน’ ที่มีค่าย Telecom รายใหญ่ระดับโลกอย่าง China Mobile ที่กำลังนำ 5G มาให้บริการทั่วประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ในประเทศไทยกลุ่มทรู ได้ร่วมงานใกล้ชิดกับ China Mobile ในการนำเทคโนโลยีมาให้คนไทยได้ใช้เช่นกัน โดยทรูได้พาสื่อรวมทั้ง Techsauce ร่วมทริปชม Case Study พร้อมทดสอบเทคโนโลยี 5G กันอีกด้วย
และในงานครั้งนี้ Techsauce ได้นั่งคุยกับดร. กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ถึงการทำให้ 5G เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และการเดินทางขับเคลื่อน 5G ของกลุ่มทรู
ดร. กิตติณัฐ ได้เล่าถึงความร่วมมือกับ China Mobile โดยเผยว่าการดูงานในครั้งนี้ ทางทรูได้มาอัพเดทสิ่งที่ China Mobile ได้เริ่มนำมาใช้งาน และได้เห็น Use Case ต่างๆของ 5G ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง เรียกว่าเป็นบทเรียนที่ดีที่ประเทศไทยและทรูจะได้เรียนรู้จาก China Mobile
สิ่งที่เห็นในวันนี้ ไม่ต่างจากที่คิดไว้ เพียงแค่เรายังไม่เคยเห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งเราได้เห็นว่า 5G จะเป็นประโยชน์กับ Verticle ต่างๆ เช่นในเรื่อง Smart City เราได้เห็นในเรื่องของ ระบบป้องกันของสาธารณะภัย , Smart Security การแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์และมีข้อมูลเจาะลึกในระดับบุคคล ซึ่งมีประโยชน์ต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของเมืองต่างๆ เราได้เห็น use case ในเรื่องของการบรรเทาหรือแก้ปัญหาสาธารณะภัยต่างๆ อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี
สาธารณสุขก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าในเรื่องของการแพทย์ บุคลากรมีค่อนข้างจำกัดไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยแต่เป็นทั่วโลก ดังนั้นในเรื่องของสาธารณสุข network ของ 5G จะเป็นประโยชน์อย่างไรที่ทำให้หมอเก่งๆ หรือ บุคลากรเก่งๆ ที่อยู่ในเมืองใหญ่ได้เข้าไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชนต่างๆทั่วประเทศได้ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการเอา 5G ไปใช้กับรถฉุกเฉินเพราะโรคบางประเภททุกนาทีนั้นมีค่า การที่หมอจากส่วนกลางได้เห็นภาพ X-ray หรืออะไรต่างๆ แบบเรียลไทม? แพทย์จะได้ให้คำแนะนำตต่อการรักษา ตรงนี้ 5G จะมีบทบาทสำคัญ
โมเดลการลงทุนของ China Mobile จะไม่เหมือนกับประเทศไทย ซึ่งเรื่องของคลื่นความถี่ ทาง China Mobile ไม่ได้ลงทุนเอง แต่มีรัฐบาลสนับสนุน เพราะต้องการขับเคลื่อนให้ 5G เป็น Infrastructure ของประเทศ ดังนั้นการลงทุนของเขาส่วนใหญ่จะลงทุนใน R&D ที่จะทำให้ 5G เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนในประเทศ
ที่ China Mobile ค่าคลื่นความถี่นั้นเป็นศูนย์ ผมคิดว่าในมุมของภาครัฐเองอาจจะต้องดูตัวอย่าง เพราะไม่งั้นกำลังเงินของเอกชนก็จะลงในเรื่องของค่า Lisence อย่างเดียว ซึ่งจริงๆแล้วมันควรไปลงในเรื่องของ R&D เราควรจะประสานทุกภาคส่วน ที่จะต้องเอา 5G มาสร้างประโยชน์ ไม่ว่าในด้านการศึกษา ,สาธารณสุข หรือ ความปลอดภัยของประเทศ และอื่นๆ ผมคิดว่าภาครัฐและเอกชนน่าลงทุนมากกว่าในเรื่องของ R&D
ผมคิด ว่าเรื่อง 5G มันเป็นเรื่องของ นโยบายชาติ อันนี้ภาครัฐต้องเป็นคนกำหนดนโยบาย หากเป็นนโยบายภาครัฐ แล้วเอกชนมุ่งเ้นการสร้าง Use Case หรือการสร้างประโยชน์บนคลื่นความถี่ หรือบนเทคโนโลยี 5G พวกนี้ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุด
ผมคิดว่าในประเทศต่างๆรัฐบาลมีบทบาทสำคัญอยู่แล้วในการขับเคลื่อน ในฝั่งยุโรป หรือแม้กระทั่ง ประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอื่นๆ ผมคิดว่ารัฐบาลมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการเอา 5G มาเพื่อ การพัฒนาประเทศ ผมคิดว่าประเทศไทยเองก็น่าจะมีความตระหนักเรื่องนี้แล้วครับ ผมคิดว่าภาครัฐก็เข้าใจดีถึงข้อจำกัดของการลงทุนของภาคเอกชน และคิดว่าเราคงต้องทำงานร่วมกัน
จริงๆแล้วการโครงส้รางพื้นฐาน Mobile Operator ไม่ใช่เป็นผู้ลงทุนหรอก บางทีมันเป็นเม็ดเงินของการลงทุนของประเทศ มันเป็นต้นทุนของทุกคน มันเป็นต้นทุนของคนไทย เราจะเอาสิ่งเหล่านี้เกิดประโยชน์ในเรื่องของ ชีวิตประจำวันเรา ได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้มันต้องร่วมกัน อันนี้ผมคิดว่า โอเปเรเตอ ไม่เพียงพอ ต้องเป็น โอเปอเรเตอกับ ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมต่างๆ , ภาครัฐ รวมไปถึง นักวิจัย ด้วย
จะเริ่มทำตามเมืองใหญ่ เจาะบึกไปในปัญหาที่เทคโนโลยีไม่สามารถช่วยแก้ได้ในอดีต ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกๆอุตสาหกรรม มองอยู่แล้วบ้างว่าเทคโนโลยีบางอย่างยังไม่ตอบโจทย์ แล้ว 5G มีโอกาสที่จะเข้าไปตอบโจทย์ อันนี้ผมคิดว่าเป็นแนวคิดที่เรียกว่าภาคของ Vertical ต่างๆ ที่พยายามคิด on top ไปสิ่งที่เทคโนโลยีปัจจุบันนี้สามารถทำได้
5G เป็นเรื่องที่ทำลำพังไม่ได้ Provider ในเรื่องของอุปกรณ์อาจจะนำไปก่อน ตามมาด้วย โอเปอเรเตอร์ ภาครัฐ รวมทั้งภาคอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Handset อุปกรณ์ IOT ต่างๆ ซึ่งจะถูกแบ่งออกไปตามประเภทอุตสาหกรรม เช่น ถ้าเราเป็นผู้อยู่อาศัยตามบ้าน เราจะมีอุปกรณ์ IoT อย่างไรบ้าง อาจมี Home Monitoring , HealthTech ในการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน , ระบบ Tracking ความปลอดภัย น้ำท่วม น้ำรั่ว น้ำไหล เหล่านี้จะมีเรื่องของอุปกรณ์เข้ามาค่อนข้างเยอะ
ด้าน Smart Farming ก็ชัดเจน ภาคอุปกรณ์ก็เข้ามาเยอะ ถ้าเรื่องอุปกรณ์นี่จะรวมไปถึงเทคโนโลยีด้วย เช่นวันนี้ที่ไปดู อุปกรณ์และเทคโนโลยี เขาจะพูดถึง AI , Big DATA และ Farming นั่นหมายถึงว่า แค่เอาอุปกรณ์อย่างเช่น กล้อง HD ไปติดตั้งในระบบฟาร์มมันสามารถที่จะอ่านออกได้เลยว่า พืช ใบไม้ สี ความเคลื่อนไหว ความสมบูร์ณของใบ ว่าเวลานี้พืชต้องการน้ำ ต้องการอากาศ แดด หรือปุ๋ย
เพราะบางครั้งเกษตกรไม่สามารถมอนิเตอร์ได้ตลอดเวลา การใส่ปุ๋ยก็ไม่ได้รู้ demand จริงๆ ของตัวพืชพันธุ์ต่างๆ ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้อาจเข้าไปช่วยได้ ทำให้เราตอบโจทย์ได้ ประสิทธิภาพของการทำฟาร์มมันก็จะเกิด productivity ก็จะตามมา อันนี้ก็จะกลายเป็นความยั่งยืนของประเทศที่ทำพวกเกษตรกรรม
ที่เห็นตอนนี้มันจะเป็นลักษณะของ Solution แต่ถามว่าคนทั่วไปใช้ไหม จะบอกว่าไม่เกี่ยวก็ไม่ใช่ ผมยกตัวอย่างเช่น เรื่องของสาธารณสุข การทำ Telemedicine มีการรักษา Remote Consulting หรืออะไรต่างๆ ทางการแพทย์ อีกหน่อยผู้บริโภคก็ต้องใช้ ทั้งยังมีเรื่องการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน ผมคิดว่าอุปกรณ์ IOT มีหลายอย่างที่เป็น Tracking ทั้งที่ติดตัวผู้สูงอายุ และ Sensor ติดไว้ในบ้าน ทั้งนี้เพื่อเอื้อต่อการดูแลผู้สูงอายุ แบบนี้ผู้บริโภคก็อาจจะได้ใช้ จะบอกว่าเป็น Vertical อย่างเดียวก็ไม่ใช่ มันขึ้นอยู่กับว่า นักวิจัยที่เรากำลังจะร่วมกันคิดค้น และดูตัวอย่างในประเทศที่สำเร็จแล้ว รวมไปถึง คิดค้นตามลักษณะความต้องการของประเทศของเรา
ประเทศไทยผมว่ามันก็มี use case ที่แตกต่างกันไป เราอาจห่วงเรื่องระดับของน้ำ หรือเรื่องน้ำท่วม เราอาจจะมี sensor ที่ไปติดตามต้นน้ำทั่วประเทศเลย ว่าน้ำมาจากภาคเหนือ มาจากแม่น้ำสายต่างๆ ระดับน้ำนั้นเป็นอย่างไร และมันอาจไปสู่การควบคุมการปล่อยและกักน้ำของทั้งประเทศในอนาคต
ผมคิดว่าเสียงตอบรับของภาคเอกชน ที่เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ค่อนข้างดี แต่ละภาคส่วนองค์กรใหญ่ๆ ก็มีการตั้งทีมงานต่างๆ มาทำงาน บางองค์กรก็ตั้งทีมงานมาทำงานร่วมกับทาง True เหมือนกัน ในการที่มา Explore กันดู Oppotunity ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อตอบโจทย์ในธุรกิจของเขาและธุรกิจใหม่ที่เขาจะก้าวไปสู่ด้วย อันนี้เราก็เห็นแนวโน้ม เห็นความสนใจจากหลายๆ ภาคส่วนเหมือนกัน
ปัจจุบันบริษัทใหญ่อยากใช้เทคโนโลยีกับการสร้าง New S-Curve หรือแก้ Pain Point ด้วยเทคโนโลยีที่ปัจจุบันแก้ไม่ได้ อันนี้ต่างหากที่เขากำลังร่วมกับเราเพื่อพัฒนาดูว่ามี use case ไหนบ้างที่ 5G ตอบโจทย์ได้ดีกวว่า 4G แต่ส่วนใหญ่ที่คุย 4G มันตอบได้ แต่วันนี้ที่มาเห็น มันได้ไอเดียมากขึ้นเยอะเลย ทางบริษัทเหล่านั้นก็ยินดีที่จะลงทุนทำกับ True เพื่อพัฒนา Solution เพื่อให้ตอบโจทย์ Pain Point เขา และสร้าง New S-Curve สำคัญ เพื่อไม่ให้ถูก Disrupt
ภารกิจการเยือนจีนครั้งนี้นอกจากจะได้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G ที่จะมาแก้ไขปัญหาต่างๆที่เทคโนโลยีปัจจุบันอาจจจะยังทำได้ไม่ดีพอแล้ว เรายังได้เห็นความร่วมมือสำคัญระหว่าง China Mobile และทรู ที่จะทำให้คนไทยได้ใช้ 5G ในอนาคตอันใกล้ โดย Use Case สำคัญๆ Techsauce จะสรุปให้ผู้อ่านได้ติดตามในบทความถัดไป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด