เผยผลกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2020 ของ 6 ธนาคารไทย | Techsauce

เผยผลกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 2020 ของ 6 ธนาคารไทย

อย่างที่ทุกคนรู้ดีกันว่าเมื่อผ่านพ้นช่วงครึ่งปีแรกของทุกปี หลายๆ ธนาคารนั้นจะออกมารายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของแต่ละธนาคาร มาดูกันว่าในปีนี้ 6 ธนาคารของไทยนั้นมีผลกำไรสุทธิครึ่งปีแรกของปี 2020 อย่างไรกันบ้าง

ธนาคารกรุงเทพ

จากรายงานผลดำเนินงานช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารกรุงเทพนั้นมีกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 2563 อยู่ที่จำนวน 10,765 ล้านบาท ซึ่งได้รวมผลประกอบการของธนาคารเพอร์มาตาตั้งแต่วันที่ธนาคารเข้าถือหุ้น โดยกำไรสุทธิลดลงจากครึ่งแรกของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 18,375 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารมีการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อกันเงินสำรองสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่หดตัว

สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตา รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8  ตามการเติบโตของสินเชื่อ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารอยู่ที่ร้อยละ 2.31 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงส่วนใหญ่จากกำไรสุทธิจากเงินลงทุน และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลง สาเหตุหลักจากการเปลี่ยนแปลงการรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อตาม TFRS 9 สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอยู่ที่ร้อยละ 45.0 โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับครึ่งแรกของปี 2562 

โดยทางธนาคารนั้นมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,353,848 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 จากสิ้นปี 2562 หากไม่รวมธนาคารเพอร์มาตา เงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามประมาณการสินเชื่อที่คาดไว้ตั้งแต่ปลายปีก่อน สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ที่ร้อยละ 170.5

ธนาคารกรุงไทย

จากรายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารกรุงไทย มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 10,296 ล้านบาท ลด 33.5% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 15,471 ล้านบาท เป็นผลมาจากการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 23,235 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการขยายตัวของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.4 ช่วยลดผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 5 ครั้ง รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ NIM เท่ากับร้อยละ 3.15 ลดลงจากร้อยละ 3.54 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน  

สำหรับรายได้อื่นยังคงขยายตัวดี รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ลดลงถึงร้อยละ 13.2 โดยมี Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 40.72 ลดลงจากร้อยละ 46.76 ในช่วงเดียวกันของปี 2562 หากไม่รวมรายการพิเศษสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายและรายได้ดอกเบี้ยรับจากการขายทอดตลาด ทรัพย์สินหลักประกันจำนอง Cost to Income ratio ในครึ่งแรกของปี 2563 เท่ากับร้อยละ 43.11 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.77 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ 20,107 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 โดยมีสาเหตุหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้จากการดำเนินการอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น และจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 3,829 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 40.8 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1/2563

ธนาคารกรุงศรี 

จากรายงานผลการดำเนินงานสำหรับงวดครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารกรุงศรีมีกำไรสุทธิจำนวน 13,540 พันล้านบาท ลดลง 31.4% จากช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 19,747 ซึ่งมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นจำนวน 50% ของบริษัทเงินติดล้อ จำกัด ในช่วงเวลาครึ่งปีแรกของปีก่อน ซึ่งถ้าหากไม่รวมรายการพิเศษในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 กำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 นั้นจะลดลง 2.9% หรือเป็นจำนวน 0.4 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2562 โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าเผื่อการขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 4.3 พันล้านบาท เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวรุนแรง 

สำหรับเงินให้สินเชื่อนั้นเพิ่มขึ้น 2.0% หรือเป็นจำนวน 36.9 พันล้านบาท จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากมาตรการสนับสนุนเพื่อตอบสนองความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ขณะที่เงินรับฝากเพิ่มขึ้น 8.4% หรือจำนวน 131.8 พันล้านบาท จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สอดคล้องกับอุตสาหกรรมธนาคารทั้งระบบ ในส่วนของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) นั้นอยู่ที่ 3.74% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 เทียบกับ 3.69% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 เนื่องจากต้นทุนทางการเงินปรับลดลง  

โดยสำหรับในครึ่งปีแรกของปี 2563 ทางธนาคารนั้นมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนั้นลดลง 40.3% หรือเป็นจำนวน 10.7 พันล้านบาท เนื่องจากไม่มีการบันทึกกำไรจากการลงทุนเหมือนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 และการปรับลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางธุรกิจของลูกค้ารายย่อยที่ซบเซาตามสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว หากไม่รวมรายการพิเศษที่บันทึกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 11.7% หรือจำนวน 2.1 พันล้านบาท 

ธนาคารกสิกรไทย

รายงานผลการดำเนินในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารกสิกรไทย มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 9,550 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 10,423 ล้านบาท หรือ 52.18% โดยเป็นผลมาจากการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss) เพิ่มจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 16,937 ล้านบาท หรือ 111.97% 

โดยหากเป็นผลการดำเนินงาน สำหรับงวดครึ่งปีแรกปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดครึ่งปีแรกปี 2562 ก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 45,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 2,805 ล้านบาท หรือ 6.50% แต่ด้วยการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบจากความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ประกอบกับมาตรการของทางการที่ให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ยังคงต้องมีการติดตามดูแลคุณภาพหนี้อย่างใกล้ชิด ธนาคารและบริษัทย่อยจึงใช้หลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 4,142 ล้านบาท หรือ 8.12% ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ รวมทั้งการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9  ประกอบกับการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.34% 

นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 1,812 ล้านบาท หรือ 7.00% ส่วนใหญ่เกิดจากค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อลดลงจากการเปลี่ยนไปแสดงเป็นรายได้ดอกเบี้ย และรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง 

ธนาคารไทยพาณิชย์

รายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 17,611 ล้านบาท ลดลง 12.5% จากจํานวน 20,132 ล้านบาทในครึ่งปีแรกปี 2562 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของการตั้งสํารองที่เพิ่มขึ้นจาก ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง

อย่างไรก็ตาม กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองเพิ่มขึ้น 14.6 % จากปีก่อน จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่แข็งแกร่ง และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่ลดลงเนื่องจากในไตร มาส 1/2562 มีการบันทึกค่าใช้จ่ายครั้งเดียวในการตั้งสํารองผลประโยชน์พนักงานจากกฎหมายแรงงานใหม่

สําหรับงวดครึ่งปีแรกปี 2563 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงร้อยละ 1.4 จากปีก่อน เป็นจํานวน 49,555 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการลดลงอย่างมากของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินลงทุนภายหลังที่ธนาคารได้ขาย หุ้นของบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ซึ่งสุทธิกับต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวดีขึ้น และการปรับลดการ นําส่งค่าธรรมเนียมกองทุนฟื้นฟู

ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 จากปีก่อนเป็นจํานวน 24,363ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้ที่เกิดประจํา (recurring) ที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ค่าธรรมเนียมจาก bancassurance และค่าธรรมเนียมจากการบริหารความมั่งคั่ง (ธุรกิจกองทุนรวมและธุรกิจหลักทรัพย์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาส 1/2563 รวมทั้ง กําไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่า ยุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน และรายได้อื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น 

อย่างไรก็ตาม รายได้ที่เกิดประจํา (recurring) จากค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมทางการเงิน และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเช่ือลดลงจากปีก่อน การ ลดลงอย่างมากของค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเช่ือเป็นผลมาจากการใช้มาตรฐานการรายงานทาง การเงินฉบับท่ี 9 ตามท่ีกล่าวไว้ข้างต้น และการใช้จ่ายของบัตรเครดิตที่ลดลงตามการลดลงอย่างมากของ จํานวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในประเทศนับต้ังแต่เร่ิมวิกฤตการณ์โควิด-19

ธนาคารทหารไทย

ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของธนาคารทีเอ็มบี โดยกําไรสุทธิ หลังตั้งสํารองฯ และหักภาษี อยู่ที่ 7,258 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107.6 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่ 7.4 %

ขณะที่กําไรจากการดําเนินงานก่อนหักสํารองฯ สําหรับครึ่งปีแรกของปี 2563 อยู่ที่ 18,653 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 119.2 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) จากสภาพเศรษฐกิจที่ ไม่เอื้ออํานวยธนาคารยังคงความรอบคอบและได้ตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ ECL ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ 9,732 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 124.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารจะเห็นได้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงที่สามรถสะท้อนวิกฤตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,095 ล้านบาท ลดลง 25.7 % จากไตรมาสที่ 1  แต่เติบโต 61.4 % จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากลูกค้ารายย่อยเติบโตตามเป้าหมาย ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านสภาพคล่องของธนาคารหลังรวมกิจการกับธนาคารธนชาติ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...