เปิดรายชื่อ 8 ประเทศประสบความสำเร็จในการก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions | Techsauce

เปิดรายชื่อ 8 ประเทศประสบความสำเร็จในการก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions

Net Zero ถือเป็น Priority หลักของแทบทุกประเทศ และนาทีนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการดำเนินการระดับโลก ต่างมุ่งเน้นที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะบรรลุ "เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์" หรือ "Net Zero"

Net Zero

จากข้อมูล Systems Change Lab โดย World Resources Institute บ่งชี้ว่า ในปี 2019 ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จนทำให้เศรษฐกิจโลกต้องหยุดชะงัก ทั่วโลกได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ถึง 58.5 กิกะตัน และในปัจจุบันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาที่ 190 ประเทศได้ยอมรับข้อตกลงปารีสในปี 2015 

ส่งผลให้หลายประเทศพัฒนาแผนดำเนินการระยะยาว เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคพลังงาน ไฟฟ้าและความร้อน อุตสาหกรรม การขนส่ง และการเกษตร

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปรู้จักกับ 8 ประเทศ ที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการ "ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์" ซึ่งถือเป็นประเทศต้นแบบที่จะฉายภาพให้นานาประเทศได้เห็นว่ากลไกการดำเนินงานสำคัญเป็นอย่างไร ไฉนบรรดา 8 ประเทศเหล่านี้จึงสามารถบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ได้ ?

1.ภูฏาน

 ถูกเรียกว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยประเทศยึด 4 เสาหลัก คือ 1.การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบยั่งยืน 2.การส่งเสริมและรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม 3.การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แวดล้อม  และ 4.การบริหารอย่างมีธรรมาภิบาล

 โดยเป็นประเทศที่ “ไม่เพียงแค่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 0...แต่ติดลบ...” ซึ่งมีสีเขียวทั้งประเทศ” ที่นี่มีป่าปกคลุม 72% ของพื้นที่ประเทศ โดยรัฐธรรมนูญกำหนดว่าประเทศจะต้องมีพื้นที่ป่าไม่น้อยกว่า 60% ของพื้นที่ประเทศตลอดเวลา ทั้งนี้มีการปล่อยคาร์บอนเพียงปีละ 1.5 ล้านตัน แต่พื้นที่ป่าสามารถดูดคาร์บอนได้ถึงปีละ 6 ล้านตัน ต้นไม้เหล่านี้จึงทำหน้าที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าที่ชาวภูฏานปล่อยหลายเท่าตัว 

ทั้งนี้ภูฏานพัฒนาประเทศภายใต้กรอบการสร้าง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ GNH (Gross National Happiness) เป็นสำคัญเหนือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวม” หรือ GDP โดยใช้ 4 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังข้างต้น และมี 9 แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาในแบบฉบับ “ภูฎาน โมเดล” (4 Pillars and 9 Domains)

2. คอโมโรส (Comoros)

หมู่เกาะภูเขาไฟขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประชากร 800,000 คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามชายฝั่ง ด้วยอัตราส่วน 400 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

หมู่เกาะภูเขาไฟขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยมีประชากร เพียง 800,000 คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในแถบชายฝั่ง มีการปล่อยมลพิษต่ำจากการเกษตร การประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจทั้งประเทศ ประกอบกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเกือบหนึ่งในสี่ของผืนดิน ช่วยสนับสนุนสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

Net Zero

3. กาบอง (Gabon)

หนึ่งในหกประเทศที่ตั้งอยู่ในป่าฝนคองตามแนวเส้นศูนย์สูตรในแอฟริกากลาง พื้นที่กว่า 88% เนื่องจากความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการไม่ตัดไม้ทำลายป่าและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กาบองตั้งอยู่ในลุ่มน้ำคองโกซึ่งเป็นหนึ่งใน 'แหล่งกักเก็บคาร์บอน' ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กาบองปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อย ครั้งหนึ่ง UN จึงยกให้ประเทศกาบองเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม

4. กายอานา (Guyana)

กายอานาเป็นอีกประเทศที่อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ล้อมรอบด้วยป่าฝนอเมซอน หลังจากบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์แล้ว ประเทศนี้มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซลงอีก 70% ภายในปี 2030 

อย่างไรก็ตาม กายอานาเองได้กลายเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหม่ของโลกในปี 2019 ซึ่งนับว่ามีความท้าทายมากขึ้นในฐานะผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

5. มาดากัสการ์ (Madagascar)

เกาะมาดากัสการ์ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา พึ่งพาการเกษตรและการประมงซึ่งเป็นผลผลิตทางเศรษฐกิจหลัก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่ก็มีการตัดไม้ทำลายป่าขนาดใหญ่ ทำให้หนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าของทั้งประเทศหายไปตั้งแต่ปี 2000 ตามรายงานของ Global Forest Watch 

นอกจากนี้ หากอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป มาดากัสการ์จะกลายเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิภายในปี 2030

6. นีวเว (Niue)

นีวเวเป็นเกาะปะการังเล็กๆ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ และเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรในท้องถิ่นราว 2,000 คน และยังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ มีส่วนปล่อยมลพิษน้อยกว่า 0.0001% เมื่อเทียบกับการปล่อยมลพิษทั้งโลก

โดยส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพ การประมง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลัก อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของเกาะนีวเวมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความเป็นกรดของมหาสมุทร และพายุไซโคลน ตัวอย่างเช่น เดือนมกราคม ปี 2004 เมืองหลวงของนีวเวได้ถูกทำลายโดยพายุไซโคลนเฮตะ ระดับ 5 

7. ปานามา (Panama)

จากการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ปานามาได้ร่วมมือกับประเทศซูรินาม (ซูรินาเม) หรือสาธารณรัฐซูรินาม (ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ดัตช์เกียนา) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ติดกับประเทศกายอานา บราซิล และเฟรนช์เกียนา (จังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส) และภูฏาน (Bhutan) ในการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นลบ (Carbon-Negative) โดยได้เรียกร้องให้มีการสนับสนุนทางการค้า การกำหนดราคาคาร์บอน และการค้าขายคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นธรรม และกระตุ้นให้หลายประเทศมาร่วมสร้างแหล่งดูดซับคาร์บอนทางธรรมชาติไปด้วยกัน เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero  

ด้วยจำนวนประชากร 4.5 ล้านคน พื้นที่ประมาณ 65% ของพื้นที่ปานามาถูกปกคลุมด้วยป่าฝน และรัฐบาลมีแผนที่จะปลูกป่าในพื้นที่ 50,000 เฮกตาร์ ภายในปี 2050 เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon Sink)

8. ซูรินาม หรือ ซูรินาเม (Suriname)

ซูรินาม (ซูรินาเม) หรือสาธารณรัฐซูรินาม (ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ดัตช์เกียนา) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ติดกับประเทศกายอานา บราซิล และเฟรนช์เกียนา (จังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส) ซูรินามเป็นประเทศขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ 163,820 ตารางกิโลเมตร โดยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นและเนินเขา ส่วนแถบชายฝั่งมีพื้นที่ราบลุ่มและหนองน้ำ ปัจจุบัน ประเทศซูรินามมีประชากรอยู่ประมาณ 586,634 คน

ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ซูรินามก็เป็นประเทศ carbon negative มาตั้งแต่ปี 2014 โดยซูรินามเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยมีป่าไม้ปกคลุมถึง 93% ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนชั้นเลิศ ที่มีส่วนในการดูดซับคาร์บอนกว่าหลายล้านตันทุกปี ในระหว่างที่ซูรินามมีการปล่อยคาร์บอนเพียง 0.01% ของสัดส่วนการปล่อยทั่วโลก

 อีกทั้งยังมีเป้าหมายให้พลังงานกว่า 35% มาจากแหล่งพลังงานสะอาดภายในปี 2030 นอกจากนี้ ซูรินามยังตั้งใจที่จะพัฒนาแนวทางสำหรับการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนภายใต้ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภาคเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ก็เป็นภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมามากถึง 40% และสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนำไปสู่การสร้างความร่วมมือด้านคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยรักษาระบบนิเวศของป่าไม้

รวบรวมข้อมูลจาก  World Economic Forum, Environman

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CPFC จับมือ IKEA และ Decathlon เปิดร้านสะดวกซื้อรูปแบบใหม่ สาขาแรกที่เชียงใหม่ เปิดบริการมีนาคม 2568

6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ CPFC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเครือซีพี กรุ๊ป ได้แก่ CP AXTRA, CP ALL และ TRUE พร้อมจับมือกับแบ...

Responsive image

สรุปกลยุทธ์ ttb ปี 2567 เดินหน้า Transformation จัดเต็มจนปัง มุ่งสู่ยั่งยืน

ttb ทรานสฟอร์มองค์กรด้วยแนวคิด Data-driven Organization โดยนำ Data และ AI มาใช้ในการพัฒนาองค์กร พัฒนาโซลูชันทางการเงิน และการให้บริการแบบเฉพาะบุคคล ผลลัพธ์และความคืบหน้าเป็นอย่างไร...

Responsive image

KBTG จับมือ 3 มหา’ลัยชั้นนำ สร้าง Co-Master's Degree ปั้น ป.โท เก่ง AI ออกสู่ตลาด

หลักสูตรการศึกษามาใหม่! ที่ KBTG จับมือ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU)...