ในสถานการณ์ตึงเครียดภายใต้การระบาดของไวรัส COVID-19 นี้อาจจะสร้างปัญหาที่ปวดหัวให้กับผู้ประกอบการหลาย ๆ รายที่กำลังเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ นี่คือ 8 ภาพยนตร์และสารคดีจาก Netflix ที่จะสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ เป็นเครื่องเตือนใจ และให้ความผ่อนคลายกับผู้ประกอบการหลาย ๆ คนในช่วงนี้
สารคดี ‘FYRE: The Greatest Party That Never Happened’ ที่สร้างโดย Netflix ได้แสดงให้เห็นถึงหายนะของผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุดในยุค Millennial นี้ โดยเป็นสารคดีที่เกี่ยวกับการจัดเทศกาลดนตรีสุดหรูหราที่สุดท้ายแล้วกับกลายมาเป็นเทศกาลดนตรีที่สุดยุ่งเหยิง และได้รับการขนานนามจากผู้เข้าร่วมงานว่าเป็น ‘เทศกาลสุดห่วย’ ซึ่งเทศกาล FYRE ได้ใช้กลยุทธ์ในการโฆษณางานจาก influencer มากกว่า 400 คน มูลค่ามากกว่า 1 แสนเหรียญ หรือ 3 ล้านบาท ในการขายบัตรมากกว่า 5,000 ใบ ที่ทำให้ผู้ร่วมงานนั้นยอมที่จะบินไปยังเกาะส่วนตัวสุดหรู แต่ในความจริงแล้วผู้ร่วมงานกลับได้พบกับชายหาดที่เต็มไปด้วยโคลน เต็นท์ที่ใช้สำหรับภัยพิบัติพัง ๆ และไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เลย
จากความวุ่นวายภายในงาน สุดท้ายแล้วเจ้าของเทศกาลก็โดนหมายฟ้องและเข้าคุกจากคดีฉ้อโกง ที่ฟ้องโดยผู้เข้าร่วมงานและชาวท้องถิ่นที่อาศัยอยู่บนเกาะ ซึ่งสุดท้ายแล้วนี่ก็แสดงให้เห็นว่าจากเทศกาลเพลงสุดหรูหราแห่งปีกลายมาเป็นเทศกาลเพลง ‘สุดแย่’ แห่งปี ทำให้เราต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบและอิทธิพลของ influencer ในโลกออนไลน์ และข้อควรระวังต่อสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อความเชื่อของเรา
เมื่อการผสมผสานกันของแพสชันและความคิดสร้างสรรค์นั้นทำให้ธุรกิจนั้นเติบโตอย่างก้าวไกล จิโร่ โอโนะ (Jiro Ono) ชายวัย 85 ปี ผู้ที่มากับจรรยาบรรณที่ยึดมั่นและความมุ่งมั่นที่จะทำงานของเขาให้ออกมาสมบูรณ์แบบ ที่ถูกขนานนามว่าเป็นเชฟซูชิที่ฝีมือดีที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ จากความมุมานะตลอดชีวิตของเขา ร้านอาหารของเขานั้นได้รับดาวมิชลิน 3 ดวงกว่า 12 ปี ซึ่งภายในสารคดีนี้จะเน้นไปถึงการคิดค้นและการทำงานอย่างไร้ข้อผิดพลาดมาตลอดชีวิตของจิโร่ รวมถึงเบื้องหลังความสำเร็จและการบริหารจัดการร้านอาหารสุดเอ็กคลูซีฟของเขา
Breaking Bad อาจะเป็นหนังในดวงใจของใครหลาย ๆ คนที่ในตอนนี้มีถึง 5 Seasons ด้วยกัน ซึ่งภายในเรื่องได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครจากการเป็นครูสอนที่โรงเรียนผู้ที่เผชิญกับโรคมะเร็งร้าย ไปเป็นพ่อค้ายารายสำคัญ
วอลเตอร์ (Walter) หรือนามแฝงของเขา ไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg) ได้ทำการคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาที่ได้การยอมรับในวงกว้างและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา โดยอิทธิพลของวอลเตอร์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากความมุ่งมั่น การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการกำจัดคู่แข่ง และการปกป้องคู่ค้าของเขา โดยสิ่งที่เราจะได้จากการดูหนังเรื่องนี้คือการที่ผู้ประกอบการควรที่จะทำการรีเสิร์ช เรียนรู้ และสามารถที่จะคำนวนความเสี่ยงได้ รวมถึงการลดอัตราความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน
สารคดี Dirty Money นี้ได้เปิดโปงการฉ้อโกงจากอภิมหาเศรษฐีหลาย ๆ ราย ซึ่งได้แสดงให้ถึงระบบทุนนิยมในปัจจุบัน และยังเป็นภาพยนต์ที่ให้ข้อคิดผู้ประกอบการในเรื่องของการขีดเส้นแบ่งระหว่าง ‘การคว้าโอกาส’ และ ‘การเอารัดเอาเปรียบ’ รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงการที่บริษัทนั้นใช้วิธีในหาผลประโยชน์บนความยากลำบากของคนที่ด้อยกว่า และยังได้ให้ตัวอย่างเคสของบริษัทใหญ่ ๆ ระดับโลก เช่น การฟอกเงินจาก HSBC, การโกงเงินกว่าพันล้านดอลลาร์ของ Volkswagen และผู้ที่เป็นเหยื่อของโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐฯ และจาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขยของเขา
สารคดีของ Netflix เรื่องนี้ถูกกำกับโดย Davis Guggenheim ผู้ชนะ Academy Award ซึ่งได้ติดตามชีวิตของบิล เกตส์ (Bill Gates) เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ว่าเขาสามารถที่จะก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก และผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลกเป็นคนที่สองได้อย่างไร
โดยการกำกับจาก Guggenheim จะมุ่งเน้นไปที่บทเรียนของผู้ประกอบการที่สำคัญที่สุด เช่น การขับเคลื่อนและความมุ่งมั่นอย่างไม่มีสิ้นสุดสำหรับการคิดค้นและการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ การสนับสนุนทางสังคม และยังมีข้อความพิเศษจากบิล เกตส์ ผู้ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้แก่ทุกท่าน ซึ่งคีย์สำคัญจากสารคดีนี้คือการสอนให้เรานั้นไม่ควรที่จะหยุดใฝ่หาความรู้และไม่ควรที่จะหยุดเรียนรู้ ควรที่จะศึกษาหาความรู้อยู่ตลอด เพื่อที่จะพัฒนาตนเองและพัฒนาธุรกิจของคุณให้เติบโตไปข้างหน้า
The Big Short เป็นหนังอีกเรื่องที่ได้รางวัลออสการ์ในปี 2015 ซึ่งเป็นนิยายที่ขายดีที่สุดของ Michael Lewis โดยหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตของเจ้าหน้าที่การเงินอเมริกันที่ได้หาประโยชน์ระหว่างวิกฤติล่มสลายของเครดิตและฟองสบู่ในช่วงปี 2008 เป็นผลมาจากการล้มละลายของ Lehman Brothers ซึ่งภายในหนังเรื่องนี้ยังได้ทำให้เห็นถึงการที่ตัวละครหลักได้ใช้กลยุทธ์ในการพิจารณาความเสี่ยง การคว้าโอกาสสำคัญ ซึ่งที่สิ่งสำคัญจากเรื่องนี้การคว้าหาโอกาสในเวลาที่เราสามารถทำได้ แต่ก็ต้องรู้และยอมรับผลที่จะตามมาจากการกระทำของตนเองด้วย
Yes Man ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลาย ๆ ท่านอาจคุ้นชื่อหรือคุ้นตามาบ้างแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจใครหลาย ๆ คนว่า ถึงแม้ว่าบริษัทของคุณจะจ้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดมาแล้ว แต่สภาพแวดล้อมการทำงานที่คอยขัดขวางการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและความคิดสร้างสรรค์นั้น จะคอยดึงบริษัทของคุณไว้ที่เดิม ภาพยนต์เรื่องนี้ทำให้เห็นว่าเมื่อคุณ ‘เซย์เยส’ หรือตอบ ‘ตกลง’ กับทุกสิ่ง อาจจะทำให้คุณนั้นพบกับความเสี่ยง และสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งจะสร้างความไม่สบายใจให้กับเราเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ยังได้ให้ข้อคิดในการบาลานซ์โอกาสกับความเสี่ยง ที่เตือนให้ทุกคนนั้นไม่ใช้ชีวิตที่เคร่งเครียดเกินไปและตอบรับกับทุกสิ่ง รวมถึงการทำ ‘risk-taking’ เมื่อเราได้คิดและพิจารณาผลกระทบในระยะยาวอย่างถี่ถ้วนแล้ว
สารคดี American Factory กำกับโดย Higher Ground Production และสนับสนุนโดย Netflix นั้นได้รับรางวัลออสการ์ ภายในสารคดีนั้นแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์และความขัดแย้งกันในวัฒนธรรมของการทำงาน รวมถึงผลที่ตามมาของลัทธิทุนนิยมแบบสุดโต่ง เริ่มในปี 2007 มหาเศรษฐีชาวจีนอย่าง Cao ได้เปิดโรงงานทำกระจกรถยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งได้จ้างพนักงชาวอเมริกันเพิ่มกว่า 2,000 คนมาทำงานกับชาวจีนกว่า 100 คน ซึ่งภายในสารคดีได้แสดงการเหยียดเชื้อชาติ และการขาดความเข้าใจในวัฒนธรรมของชาติตรงข้าม สารคดีเรื่องนี้ยังได้เตือนใจผู้ประกอบการถึงเรื่องของต้นทุนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับตัวเข้าสู่ยุคที่ผู้คนนั้นหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และที่สำคัญก็คือเรื่องการเตรียมความพร้อมของบริษัทต่อการขัดแย้งทางวัฒนธรรมในองค์กรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อต้องการทำบริษัทที่มีพนักงานจากหลากหลายเชื้อชาติ
อ้างอิง: HiveLife
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด