สวทช. เป็นเสมือน Accelerator องค์ความรู้ด้านเทคฯ และวิทยาศาสตร์ จากภาครัฐมาโดยตลอด ได้สร้างผลงานวิจัยจากห้องแล็บที่ทรงคุณประโยชน์อย่างนับไม่ถ้วน เพียงแต่องค์ความรู้เหล่านั้น จะเข้าถึงคนหมู่มากได้ ก็ต่อเมื่อมีกระบวนการ Industrialized ให้ทันต่อความต้องการของตลาด ในครั้งนี้ สวทช. จึง Spin-off สร้างหน่วย Startup เพื่อก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจ ส่งเสริมคนที่มีศักยภาพ และงานวิจัยที่น่าต่อยอด จากงานแถลงข่าว สวทช. ขยายงานวิจัยสู่โมเดลธุรกิจใหม่ “9 Deep-tech Startups”
ภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นการเปิดตัว 9 โมเดลธุรกิจ จาก 7 บริษัท และ 2 ผลงานที่อยู่ระหว่างการจดทะเบียน โดย ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และเป็นผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. ได้กล่าวแสดงความสำคัญของ 9 โมเดลธุรกิจนี้ และโมเดลอื่นๆ ในอนาคต จะช่วยขับเคลื่อน การเป็นผู้ประกอบการด้านเทฯ สู่การยกระดับฐานเศรษฐกิจบนหลักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) นำพาไทยเป็นประเทศรายได้สูง
ในช่วงถัดมา ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. ได้อธิบายที่มาของโมเดลธุรกิจ ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฝ่าฟันอุปสรรคในองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งมักจะเป็นกำแพงความรู้สำหรับคนไทยที่เกิดจากความไม่เข้าใจ แต่อันที่จริงเราหลีกหนีการใช้ความรู้เรื่องคณิต วิทย์ในชีวิตประจำวันไม่ได้ ถ้าเราขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจได้จากการจัดการองค์ความรู้ และเมื่อองค์ความรู้หลายประเภทผสมผสานกัน ย่อมทำให้เกิดโอกาศใหม่ๆ ตามมา เป็น องค์ความรู้ + สหสาขาวิชาชีพ = New Opportunity
ทั้งนี้ ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกิดจากการวิจัยตามโจทย์แล้วถ่ายทอดสิทธิ (Licensing) แบบเดิม ยังเปรียบเสมือน Raw Material ที่ต้องใส่องค์ความรู้ด้าน Design + Engineering + Manufacturing เกิดเป็น Process และออกมาเป็น Product ในท้ายที่สุด การที่ต้องรอหลายขั้นตอนอาจไม่ทันต่อกระแสธุรกิจ ทำให้ผลงานที่มีประโยชน์เหล่านั้นอาจเข้าไม่ถึงคนในวงกว้าง
กลไกของ NSTDA Startup จึงเข้ามาช่วยเร่งให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม(RDI) ให้เร็วขึ้น สู่การปั้นโมเดลธุรกิจจากงานวิจัยของสวทช. นำไปสู่การพัฒนา Business Plan ที่เป็นรูปธรรม เป็นหน่วย Startup ซึ่งตอบสนองกับ Market Size ที่กำลังโตอย่างรวดเร็ว
1) บริษัท ไบโอเทค โกลเบิ้ล อินโนเวชั่น จำกัด (BGIC) เป็นแพลตฟอร์มด้าน Biotechnology และ Life Science ที่ครบวงจรรายแรกของประเทศ ตามแนวคิด Integrated Bio Business Platform in Asean มีบริการ Innovation, Incubation และ In-Market Platform เกิดจาดความร่วมมือระหว่างนักวิจัย สวทช. ร่วมกับ กลุ่มนักธุรกิจไทยและต่างประเทศ (KINGEN Biotech)
2) บริษัท เอไอไนน์ จำกัด (AI9) แพลตฟอร์ม AI ไทยรายแรกที่ให้บริการการถอดเสียงการประชุมโดยใช้ AI ด้าน NLP ในแนว Speech-to-text (เสียง เป็น ข้อความ) หรือ text-to-speech (การอ่านข้อความเป็นเสียง) ในชื่อบริการ VATAYA และมีบริการ CUICUI SURVEY การสำรวจความคิดเห็นด้วย Sentiment Analysis และ Voicebot ผู้ช่วยส่วนตัว การใช้ AI เข้าช่วยนี้สามารถแก้ปัญหาคนไม่พอในหน่วยงาน หรือจากปัญหาจำนวนงานซ้ำซ้อนที่ล้นมือในหน่วยงานได้
3) บริษัท บิ๊กโก อนาไลติกส์ จำกัด (BIGGO ANALYTICS) ให้บริการแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาระบบจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data / Data Analytic) ที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยต้นทุนที่ลดลงบริการที่มอบนั้นมี BIG MATCH ระบบบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data integration) รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลซับซ้อนจากหลายแหล่งข้อมูลให้เป็นเรื่องง่ายโดยอัตโนมัติ BIG VIZ ระบบ data visualization และ dashboard รวมถึง BIG STORGANIZE รับออกแบบเว็บและแอปพลิเคชั่นตามระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่รวมถึงการให้คำปรึกษา
4) บริษัท เบรนนิฟิต จำกัด (BrainiFit) ให้บริการแพลตฟอร์ม Game-based neurofeedback system ระบบออกกำลังกายสมองสำหรับผู้สูงอายุ และเด็กสมาธิสั้นช่วยฟื้นฟูศักยภาพทางสมองโดยผ่านการวิจัยจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ช่วยฟื้นฟูศักยภาพการเรียนรู้ได้ถึง 5 ด้าน คือ Working memory, Reasoning and planning, Visual-Spatial, Responsive processing และ Sustained attention และวัดผลได้อย่างแม่นยำ
5) บริษัท ควอนตัม ไบโอเทค จำกัด (Quantum Biotech) สร้างการใช้ประโยน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ นำเทคโนโลยีด้านไบโอรีไฟเนอรี่และไฮบริดมาผลิตสารออกฤทธิ์มูลค่าสูง เพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยา โภชนเภสัช และอาหารฟังก์ชัน มีความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งใน CLMV และจีน
6) บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิคส์ จำกัด (Spike Architectonics) บริษัทแรกในโลกที่ใช้เทคโนโลยีการขึ้นเข็มขนาดไมโคร (Microneedle) ด้วยแสง บนวัสดุผืนผ้า ในรูปแบบแผ่นแปะ Microspike ที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถดีไซน์ได้ตามต้องการของลูกค้าที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ บริษัทใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนามากกว่า 5 ปี ความสามารถในการผลิตปัจจุบันนั้นสามารถทำได้เร็วกว่าบริษัทในต่างประเทศ 13.5 เท่า สามารถนำไปใช้ รวมไปถึงการแพทย์เพื่อนำส่งสารสำคัญผ่านผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7) บริษัท ดาร์วินเทค โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มจัดอาหารและดูแลสุขภาพใน High School Lunch แบบครบวงจรแต่ดั้งเดิม ดูแลโภชนาการในสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างระบบ Smart Contract สู่ Smart Canteen โดยวิเคราะห์โภชนาการให้นักเรียนเลือกอาหารได้แบบ Tailor-made และใช้ IoT Devices เชื่อมโยงข้อมูลอาหารตั้งแต่เกษตรกรสู่โรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนตรวจสอบรายการอาหาร คุณภาพ และปริมาณวัตถุดิบ
8) โครงการ ReLIFE (ระหว่างเตรียมจดทะเบียนในนามบริษัท รีไลฟ์ จำกัด) ผลิตกระจกตาชีวภาพ จากเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อจาก Stem cells เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้เลย เนื่องจากเดิมมีผู้ปลูกถ่ายกระจกตาจำนวนน้อยที่ประสบความสำเร็จ และติดปัญหารอการบริจาคจากผู้อื่น
กระจกตาชีวภาพนี้ยังสามารถออกแบบค่าสายตาให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคนได้ ภายหลังจากการเริ่มต้นวิจัยนับสิบปี และผ่าน Clinical Trial แล้วมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงจากการใช้กระจกตาจากผู้อื่นหรือวัสดุเทียม ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ที่กลับมามองเห็นได้ ได้รับอนุมัติเป็น NSTDA Startup ในปีนี้ ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยมีนักวิจัย สวทช. ร่วมถือหุ้นกับ บจ.ฟรุตต้า ไบโอเมด
9) โครงการ KANTRUS มุ่งเน้นการใช้โปรตีนอีจีเอฟ สารชีววัตถุประเภท Growth Factor ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่ใช้ในเครื่องสำอางค์ทั่วโลก แต่ในไทยไม่ค่อยมีผู้ผลิต เพราะต้นทุนที่สูง KANTRUS นำมาผลิตโดยเทคโนโลยี DNA Recombinant และจัดจำหน่ายวัสดุออกฤทธิ์สำหรับเครื่องสำอางและการแพทย์ จากสารโปรตีนบริสุทธิ์ที่มีความสามารถในการออกฤทธิ์สูง ในราคาที่เข้าถึงได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด