9 startup เขย่าวงการ Fintech ในอินโดนีเซีย | Techsauce

9 startup เขย่าวงการ Fintech ในอินโดนีเซีย

1024px-Money_Cash1-720x479

ถ้ามองเพียงผิวเผินสำหรับภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของอินโดนีเซียแล้วละก็บางทีคุณอาจเปลี่ยนใจม้วนเสื่อกลับบ้านไปอย่างน่าเสียดายเพราะคุณอาจไม่เชื่อว่า Fintech ในอินโดนีเซียกำลังเป็นที่น่าจับตามองในขณะนี้

ดังนั้นจากตัวอย่างดังกล่าวจากนี้จะเป็นทางเลือกหรือวิธีการที่ทำให้คุณทำธุรกรรมการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นสามารถนำวิธีการจากหลากหลายวิธีนี้ไปใช้ได้ ซึ่งเราได้เก็บรวมรวมรายละเอียดสั้นๆ เกี่ยวกับ fintech startup ที่เพิ่งเริ่มต้นและน่าสนใจไว้ดังนี้

โดยจะขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญได้แก่ mobile apps, cloud software และเว็บไซต์เพื่อให้คำปรึกษา

Moblie apps

jojonomic

Jojonomic-720x385

jojonomic เป็นแอป ที่เป็นผู้ดูแลส่วนตัวเกี่ยวกับการจัดการการเงิน โดยสามารถที่จะบันทีกค่าใช้จ่ายและรายได้ในทุกที่ที่เรามีการใช้จ่าย  กลุ่ม Startup ผู้เริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นกลุ่มIndrasto Budisantoso ซึ่งก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ที่ Groupon และเป็นผู้เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับเรื่องราวทางการเงิน

very fund

VeryFund-720x418

Veryfund ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามของการทำธุรกรรมการเงินทั้งหมดของพวกเขาซึ่งสามารถใช้งานได้ในหลายบัญชี /ธนาคาร มาไว้ได้ใน app เดียวเหมาะอย่างยิ่งกับพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายเพราะมันยังช่วยให้คุณตรวจสอบยอดการชำระเงินจากต่างธนาคารได้ทั้งหมดในโปรแกรมเดียว  

แอปให้คำปรึกษาทางการเงิน

อินโดนีเซียเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีการจับจ่ายใช้สอยดีเยี่ยม จึงมีกูรูผู้ให้ความรู้ทางเงินที่มีประสิทธิภาพอย่างคับคั่ง ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้พยายามรวบรวมความรู้จากหลายเหตุการณ์ที่ได้ประสบมาบอกเล่าไว้อย่างมากมาย

Cermati

Cermati-720x404

Cermati ให้ข้อมูลและการเปรียบเทียบสำหรับผลิตภัณฑ์บริการทางการเงินต่างๆเช่นบัตรเครดิตสินเชื่อรถยนต์เงินฝากรวมไปถึงการเริ่มต้นการออม โดย  Andhy Koesnandar และ Oby Sumampouw ผู้ก่อตั้งซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำงานที่ไมโครซอฟท์และ Google

CekAja

CekAja-720x400บริษัท CekAja เป็น Startup Fintech ในอินโดนีเซียซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบความหลายหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการประกันภัยต่างๆ เช่นสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต การฝากถอนเงินโดยทั่วไป และเงินฝากรูปแบบ Syariah ( การปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม ) เป็นบริษัทภายใต้แบรนด์ Compare88 ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทางการเงินในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Aturduit

Aturduit-720x414

Aturduit ให้การเปรียบเทียบการกู้ยืมเงินแบบไม่มีหลักประกันผลิตภัณฑ์/ ประกันภัย เดิมถูกเรียกว่า iMoney ซึ่งเป็นชื่อในการทำการค้าในประเทศมาเลเซียต่อมาได้ขยับสายธุรกิจกับตลาดอินโดจึงเปลี่ยนชื่อเพื่อการงานต่อการทำการค้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบเว็บไซต์ช่วยให้ผู้ใช้ซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

Bareksa

Bareksa-720x563

ในอดีตที่ผ่านมา Bareksa เริ่มต้นในกลุ่ม Bloomberg ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นพันธบัตรและกองทุนรวม สามารถดำเนินการซื้อขายกองทุนรวมได้อีกด้วย

Stockbit

Stockbit-720x372

Stockbit เป็นชุมชนการลงทุนออนไลน์สำหรับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำหรับนักลงทุนและผู้ค้าเพื่อแบ่งปันความคิดและข้อมูลเชิงลึกของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายสังคมแบบ Real time

Cloud software

เป็นกลุ่มซึ่งผลันตัวจากกลุ่มองค์กรไปสู่การเริ่มต้นเป็น Fintech Startup โดยใช้รูปแบบของ Software-as-a-Service (SaaS)   คือการให้บริการด้าน  Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน เช่น ตามจำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วน Hardware และ Software License รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบด้วย ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนและง่ายต่อการใช้งาน

jurnal

Jurnal-720x445

jurnal เป็นแพลตฟอร์มบัญชีสำหรับธุรกิจของคุณ ด้วยบริการที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและติดตามทุกกิจกรรมของการใช้งาน บริษัทยังสามารถดูการใช้จ่ายเงิน และบันทึกการทำธุรกรรมในทุกประเภท มีรายงานทางบัญชีและใบแจ้งหนี้แจ้งให้ทราบด้วย

Akunting Mudah

Akunting-Mudah-720x371

 

Akunting mudah (ซึ่งแปลว่า "การบัญชีอย่างง่าย") เป็นซอฟต์แวร์บัญชี cloud-basedอีกตัวที่น่าใจ ช่วยให้ผู้ใช้จัดทำและวิเคราะห์งบการเงิน โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจทฤษฎีของการทำบัญชีก็สามารถใช้งานได้ นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราหยิบมา เป็นเพียงน้ำจิ้มเล็กๆ น้อยๆ ให้กับ Startup ไทยได้พอมีแนวทางในการทำงานได้มีแรงใจว่ายังมีอีกมากมายให้เราสร้างมันให้กลายเป็นธุรกิจทำเงินได้

ที่มา : Tech In Asia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...