Hackathon กับการช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการ

Hackathon กับการช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้พิการ

Hackathon จากที่เราเคยนำเสนอหลายครั้ง ว่าเป็นหนึ่งในขบวนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จากการระดมสมองของคนที่มีความสนใจอยากแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง  และผนวกกับทักษะด้านการพัฒนาจึงจะสร้างสิ่งที่มีประโยชน์และตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคธุรกิจไหนก็ตาม, สถาบันศึกษา ก็สามารถจัดงาน Hackathon ได้ และไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ล่าสุดมี Hackathon หนึ่งที่น่าสนใจมาก เมื่อถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือนักเรียนพิการ

“Accessible Learning Hackathon: Solving the Right Problems for Students with Disabilities” เป็น Hackathon กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่สนใจด้านเทคโนโลยี ได้ทำความเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของนักเรียนพิการ และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบแอปพลิเคชันเพื่อช่วยขจัดอุปสรรคและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้นักเรียนพิการ

Chatbot สำหรับคนพิการ

โดยทีม Reborn to Step จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา ได้รับรางวัลชนะเลิศท่ามกลางการแข่งขันอย่างเข้มข้นในรอบ 5 ทีมสุดท้าย พร้อมรางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยผลงานแอปพลิเคชันที่มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวผ่าน Chatbot

ทีม Reborn to Step ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นายกิตติภพ กิ่งสกุล นายสมชาย คำสุขุม นายวราวุฒิ ทะสูงเนิน และนายพิทวัส แตงรอด นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาระบบสารสนเทศ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา ได้นำเสนอผลงานแอปพลิเคชันที่มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวผ่าน 2 ฟีเจอร์หลัก ได้แก่ แช็ทบ็อท (Chatbot) ที่พัฒนาขึ้นด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) อันชาญฉลาด ที่เข้ามาช่วยให้เข้าใจความต้องการของมนุษย์มากขึ้น จึงสามารถตอบคำถามที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้พิการหรือผู้ดูแลผู้พิการได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว และเอสโอเอส (SOS) ที่ช่วยให้ผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อกับจิตอาสา (Hero) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงผ่านการส่งข้อความและการแจ้งเตือนภายในแอปพลิเคชันได้ เช่น การขอความช่วยเหลือด้านการเดินทาง เป็นต้น 

นายกิตติภพ กิ่งสกุล สมาชิกนักศึกษาจากทีม Reborn to Step กล่าวว่า “แนวคิดของทีมเราเกิดจากการที่สมาชิกในทีมทุกคนเป็นผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด และต่างประสบปัญหาในการได้รับโอกาสอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งในด้านสิทธิการศึกษาและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่ไม่เอื้ออำนวย เราจึงต้องการที่จะสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาที่ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวได้รับในสังคมปัจจุบันและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ เรายังได้ตระหนักว่าในสังคมไทยมีผู้ที่มีจิตอาสามากมายที่อยากช่วยผู้พิการแต่ไม่รู้ว่าผู้พิการอยู่ที่ไหนและต้องการให้ช่วยอย่างไร เมื่อเราได้เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีมีความสามารถในการช่วยลดอุปสรรคและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนพิการ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อผู้พิการและจิตอาสาเข้าด้วยกัน เราจึงพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา และหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้พิการในวงกว้างในอนาคต”

Accessible Learning Hackathon

การแข่งขัน “Accessible Learning Hackathon: Solving the Right Problems for Students with Disabilities” ถูกจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่สนใจด้านเทคโนโลยี ได้ทำความเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของนักเรียนพิการ และร่วมกันแก้ไขปัญหาผ่านการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบแอปพลิเคชันที่ช่วยขจัดอุปสรรค ส่งเสริมการเรียนรู้ และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียนพิการ เพื่อยกระดับการจัดการศึกษาพิเศษของประเทศไทยให้เทียบเท่าสากล ตามเป้าหมายนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยทีมผู้เข้าแข่งขันได้นำเสนอผลงานแอปพลิเคชันลดอุปสรรคและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนพิการอย่างหลากหลาย เช่น

  • แอปพลิเคชันที่ช่วยอ่านโจทย์การบ้านให้กับผู้พิการทางสายตาและอ่านแบบฝึกหัดที่เขียนด้วยอักษรเบรลล์ให้คุณครูผู้สอน
  • แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ถึงสิ่งที่อยู่ข้างหน้าผ่านการถ่ายภาพและแจ้งเตือนด้วยเสียง
  • แอปพลิเคชันที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แก่ผู้พิการ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่ผู้พิการไม่ได้รับโอกาสในการศึกษาเท่าที่ควร เป็นต้น

นอกจากนี้ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการยังเป็นหนึ่งในพันธมิตรของโครงการ ไมโครซอฟท์ ยูธสปาร์ค (Microsoft YouthSpark) จากความร่วมมือในโครงการนี้มูลนิธิฯได้จัดการอบรมพัฒนาทักษะการโค้ดดิ้งให้กับเยาวชนพิการแล้วกว่า 1,600 คน ในเวลา 2 ปี ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้ และบรรลุเป้าหมายในชีวิตแม้ในยุคที่เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...