เชิญชวนเซียนซอฟต์แวร์ระดับอุดมศึกษา แข่งขันเวทีโลก ACM-ICPC World Finals 2016 ที่ภูเก็ต | Techsauce

เชิญชวนเซียนซอฟต์แวร์ระดับอุดมศึกษา แข่งขันเวทีโลก ACM-ICPC World Finals 2016 ที่ภูเก็ต

Screen Shot 2559-04-25 at 12.54.40 AM

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA  (ซิป้า) และบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ผนึกกำลังร่วมจัดการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับโลก ACM-ICPC World Finals 2016  ซึ่งจะระเบิดศึกรับซัมเมอร์ ที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 15 – 20 พฤษภาคมนี้

การแข่งขันแมทช์นี้เรียกได้ว่าเป็นเวทีการแข่งขันระดับโลก และเป็นความใฝ่ฝันของเหล่าเซียนซอฟต์แวร์ระดับอุดมศึกษาทั่วโลกที่พยายามฝ่าฟันและช่วงชิงตั๋วเข้าแข่งขันชิงแชมป์โลก   ในปี 2016 นี้ ประเทศไทยได้สิทธิเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบ World Finals โดยเลือกให้ภูเก็ตเป็นสนามดวลของเหล่าเซียนวัยรุ่น

การแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC หรือ The ACM - International Collegiate Programming Contest (ICPC) เป็นการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับอุดมศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุด ปี 1977 มีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศระดับโลกขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการแข่งขันนี้มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่ภายในประเทศ และระดับภูมิภาคทวีป การแข่งขันดำเนินงานภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์กร ACM (Association for Computing Machinery) เกือบสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ACM-ICPC ได้กลายมาเป็นโปรแกรมการแข่งขันระดับโลกที่สร้างแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์ และส่งเสริมประสิทธิภาพของนักศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ แต่ละปีมีจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขันในทุกระดับเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น การแข่งขันในปี 1997 จำนวนผู้เข้าร่วมแข่งขัน ACM-ICPC ได้เพิ่มขึ้นกว่า 1500% และจากสถิติในปี 2015 ที่ผ่านมา ในการแข่งขันระดับท้องถิ่น (Local Contests) จัดขึ้นทั่วโลก มีผู้เข้าร่วมกว่า 300,000 คน และมีผู้เข้าร่วมแข่งขันระดับภูมิภาคทวีป (Regional Contests) กว่า 40,000 คน จากมหาวิทยาลัย 2,700 แห่ง จาก 102 ประเทศใน 6 ทวีปทั่วโลก 

ACM-ICPC World Finals 2016 ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นทีมตัวแทนมหาวิทยาลัย 128 ทีม จาก 40 ประเทศ 6 ทวีป รวมถึงตัวแทนจากประเทศไทย 2 ทีม ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทุกทีมพกพาความมั่นใจ และความหวังในการชิงตำแหน่งแชมป์ และจารึกชื่อลงบนถ้วยรางวัลอันทรงเกียรติของ The ACM - International Collegiate Programming Contest (ICPC) ปีนี้ให้ได้

นอกเหนือจากนักศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกแล้ว แต่ละทีมยังควงโค้ช ทีมสตาฟ ครอบครัว รวมถึงทีมงานของคณะผู้จัดการแข่งขัน และสื่อมวลชน ลัดฟ้ามาปักหลักระหว่างแข่งขันที่ภูเก็ตในช่วงดังกล่าวด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,300 คน งานนี้ มอ. ซิป้า ไอบีเอ็ม และจังหวัดภูเก็ตบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พร้อมแล้ว! ที่จะเป็นเจ้าบ้านต้อนรับผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านสถานที่แข่งขัน พิธีเปิดและปิด การต้อนรับ ที่พัก รวมถึงบริการจากธุรกิจต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นจุดหมายที่น่าดึงดูดสำหรับชาวโลก โดยเฉพาะการเป็นสวรรค์ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือเหล่า Digital Worker ที่สามารถมาทำงาน พร้อมใช้ชีวิตที่ภูเก็ตอย่างสะดวกสบาย เรียกได้ว่า การเป็นเจ้าภาพ ACM-ICPC World Finals 2016 จะเป็นการเปิดตัวและย้ำแนวคิดเรื่อง “ภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้” ให้เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นในสายตาชาวโลก

ซิป้าในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุนทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ “ภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้” จึงคาดหวังว่า การร่วมจัดการแข่งขัน ACM-ICPC World Finals 2016 จะเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งในระดับประเทศและระดับโลกอย่างเต็มที่ 

รายละเอียดเพิ่มเติม

  • สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สาขาภูเก็ต โทร. 076-379-111 / 076-379-112 Email: [email protected]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...

Responsive image

Tencent จับมือ Visa เปิดตัวระบบชำระเงินด้วยฝ่ามือ (Palm Payment) ในสิงคโปร์

Tencent ประกาศความร่วมมือกับ Visa เพื่อเปิดตัวระบบจ่ายเงินรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีจดจำฝ่ามือ โดยเริ่มให้บริการในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก...