การศึกษาแห่งอนาคต เด็กมัธยมไทยเรียนสร้าง AI พัฒนาการเกษตร

เตรียมปฏิวัติการเรียนของเด็กไทย นำวิชา AI มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน จากผลวิจัยชี้ว่าการนำการเรียนเรื่อง AI มาสู่นักเรียนชั้นมัธยมต้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเหมาะสมกับชีวิต โดยควรมีการประยุกต์ให้น่าสนใจและไม่ซับซ้อน

โดยนักวิจัยไทยจาก Cluster วิจัยนวัตกรรมอนาคต (FREAK Lab) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ได้ทำการออกแบบและทดลองโมเดลการศึกษาต้นแบบสำหรับยุคอนาคต โดยมุ่งสอนเด็กมัธยมต้นให้สามารถสร้าง AI ในการนำมาใช้กับการเกษตรจนประสบความสำเร็จ ทีมวิจัยเผยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเเนวคิดด้าน Constructionism P's of Creative Learning จาก MIT Media Lab ที่ระบุว่าการสนับสนุนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ประกอบไปด้วยสี่ปัจจัย Projects, Passion, Play และ Peers

ในการทดลองโมเดลใหม่นี้ ได้มีการจัดโครงการ JSPT โดยมีนักเรียนในชั้นมัธยมต้นเข้าร่วม และเรียนรู้การสร้าง Machine learning model : Decision Tree, Neural Network และ k-Nearest Neighbor เพื่อคัดสรรคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร และมีการจัดการแข่งขันและยังหาผู้ชนะจากการรับได้คะแนนสูงสุดในการสร้าง AI โดยการทดลองครั้งนี้ประสบความสำเร็จเเละได้ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่ IEEE

นอกจากนี้ ทางทีมวิจัย ​Cluster ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ Biotech ที่จะเข้ามาเป็นปฏิวัติโลกในช่วงศควรรษที่ 21 ซึ่งทุกคนจะสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จาก Biotech อีกทั้งมันจะมีความ 'ง่าย เร็ว และถูก' ขึ้นอย่างมาก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้ทำการจัดงาน Hack Biodesign โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (JSTP) ของสวทช โครงการนี้เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมได้ร่วมกันออกแบบ วางแผน โดยการนำเรื่อง Biodigital (วิศวกรรมฮาร์ดแวร์เพื่อใช้กับสิ่งมีชีวิต) Synthetic biology (ชีววิทยาสังเคราะห์) และ Biomimicry มาประยุกต์ใช้ ต่อยอด สร้างสรรค์โปรเจคใหม่ๆ ซึ่งนี่ได้ทำให้เรื่องชีววิทยาที่ดูเป็นที่ได้แค่ศึกษา และสังเกต สามารถมาสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กลายร่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: Freak Lab, HackBiodesign X

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ลาก่อนการตรวจชิ้นเนื้อที่เจ็บปวด! KCL พัฒนา ‘แผ่นแปะนาโนนีเดิล’ วินิจฉัยมะเร็งแบบเรียลไทม์ ไม่ต้องผ่าตัด

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาแผ่นแปะนาโนนีเดิล เทคโนโลยีใหม่ที่อาจมาแทนที่การตรวจชิ้นเนื้อ ช่วยให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งและอัลไซเมอร์ทำได้โดยไม่เจ็บปวด ไม่ทำลายเนื้อเยื่อ และสามารถติดตามโรคได้...

Responsive image

บ้านทรัมป์ เปิดตัว Trump Mobile พร้อมมือถือทอง T1 ตั้งเป้าตลาดคนอเมริกันหัวใจรักชาติ

Trump Mobile เปิดตัวธุรกิจมือถือใหม่ในนามครอบครัวทรัมป์ พร้อมสมาร์ตโฟนทองคำ “T1” ผลิตในอเมริกา และแพ็กเกจ The 47 Plan เดือนละ 47.45 ดอลลาร์ ชูภาพลักษณ์ชาตินิยมและแบรนด์ทรัมป์เต็มรู...

Responsive image

แบต EV รุ่นใหม่ ชาร์จเต็มใน 18 วินาที พร้อมลุยผลิตจริงแล้ว

บริษัท RML Group จากอังกฤษได้พัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ชื่อว่า VarEVolt ซึ่งสามารถชาร์จไฟได้เต็มในเวลาแค่ 18 วินาที! ล่าสุดได้รับการรับรองให้เริ่มผลิตจริงแล้ว เพื่อส่งต่อ...