AIS เผยเทรนด์ IoT พร้อมจัดการประชุมวิชาการ IoT นานาชาติครั้งแรกในไทย | Techsauce

AIS เผยเทรนด์ IoT พร้อมจัดการประชุมวิชาการ IoT นานาชาติครั้งแรกในไทย

IoT เป็นเรื่องในวงการเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงบ่อย และไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป ทั้งยังได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในมุมของผู้ใช้หรือConsumer อาจนึกถึง IoT ในเรื่องของอุปกรณ์สวมใส่ หรือ Smart Home แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาคธุรกิจเป็นกลุ่มที่นำ IoT เข้ามาใช้งานมากที่สุด

โดย AIS Business เป็นตัวอย่างของผู้ที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีนี้อย่างจริงจัง ล่าสุด ได้มีการเปิดเผยเทรนด์ของ IoT การคาดการณ์ รวมทั้งเมื่อ 5G เข้ามาเป็นส่วนมีบทบาทสำคัญ อีกทั้งยังได้ประกาศร่วมมือกับสมาคมไทยไอโอที และมหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดงาน Thai IoT International Conference ที่จะเป็นงานประชุมวิชาการนานาชาติด้าน IoT ครั้งแรกในไทยอีกด้วย

AIS ผู้ครองตลาดผลักดัน Ecosystem ของ IoT

คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ หัวหน้าแผนกงานการตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ได้เปิดเผยตัวเลขของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในตลาด IoT ของไทย พบว่า ปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT 1.1 ล้านการเชื่อมต่อ โดย AIS มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออยู่ที่ 6.62 แสนการเชื่อมต่อ เป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาด IoT มากที่สุดเป็นอันดับ 1 และยังมีโซลูชัน IoT ครบวงจร โดยมีโครงข่าย IoT ทั้ง NB-IoT และ eMTC ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ตลอดจนร่วมสนับสนุนและพัฒนานวัตกรรม IoT ให้กับทุกภาคส่วนผ่านโครงการ AIS IoT Alliance Program หรือAIAP เพื่อสร้าง IoT ecosystem ของประเทศให้แข็งแกร่ง 

และจากความร่วมมือล่าสุด ทำให้เกิดการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้าน IoT ครั้งแรกในประเทศไทยระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2562 ณ ห้องออดิทอเรียม 2 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยภายในงานมีการจัดประกวดผลงานโซลูชันด้าน IoT ในหลายด้านอาทิ เช่น อุตสาหกรรม พลังงาน การเกษตร Healthcare และอื่นๆ เป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพแก่นักลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน IoT ในภูมิภาคอาเซียน

เทรนด์และอนาคตของ IoT

ย้อนกลับไป IoT เริ่มต้นขึ้นมาเมื่อ 18 ปีที่แล้ว โดยมีการขับเคลื่อนมาจากภาครัฐ สำหรับภาคเอกชน เริ่มในปี 2001 มีการใช้ GPRS ที่ทำให้มือถือสามารถส่งข้อมูลหรือ Data ได้ 2003 เอกชนได้นำไปใช้จากการติดตามรถ Fleet Management จะเห็นได้ว่าภาครัฐเริ่ม จึงตามมาเอกชน ต่อด้วยผู้บริโภค

ปัจจุบันมี IoT อยู่ 1.1 ล้านการเชื่อมต่อ มีการใช้งานเยอะสุดในเรื่องของ Fleet Management (การติดตามรถ) 30.53% , Mobile EDC (เครื่องรูดบัตร) 30.31% , Payment Kios เช่น ตู้บุญเติม 23.6% ตามด้วยเรื่อง Telematics , Smart Meter และสุดท้ายคือ Mobile ATM ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้งานมากที่สุดคือ ภาคการเงิน 55.51% และการขนส่ง 29.23%

โดยหลังจาก AIS ได้ประกาศโครงการ AIS IoT Alliance Program (AIAP) ปี 2018 ทำให้มีภาคธุรกิจเข้ามาคุยกับ AIS เป็นจำนวนมาก เรื่องที่ถูกคุยมากที่สุดอันดับหนึ่งคือ Smart Living ตามมาด้วย Smart City Smart Industrial และ Smart Healthcare

สำหรับการคาดการณ์ IoT ในอนาคต พบว่าตลาด IoT จะเติบโตเกือบ 20% มูลค่าตลาด IoT ในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท คนที่จะจ่ายมากสุดคือ Consumer ในเรื่องของ Smart Living ตามด้วย Transportation สรุปคือเทรนด์ในอนาคต IoT จะเริ่มจากผู้ใช้ก่อน ตามมาด้วยเอกชน และภาครัฐ

เทรนด์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในระดับโลก

ในระดับภูมิภาค เม็ดเงินการลงทุนในเอเซียนระหว่างปี 2017-2020 จะแตกต่างจากในประเทศไทย โดยมีการลงทุนด้าน Transportและ Logistic มากที่สุด ตามด้วย Public Safety และ Comsumer ส่วนในระดับโลก จะเป็นเรื่องของ Smart City , Industrial IoT และ Connected Health 

AIS ร่วมมือกับสมาคมไอโอที ผลักดัน Ecosystem

 ในการยกระดับเทคโนโลยี IoT ของไทยให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น AIS ได้ร่วมมือกับ สมาคมไทยไอโอที และมหาวิทยาลัยศรีปทุม สนุนการทำงานของสมาคมฯ ทั้งในด้านองค์ความรู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีให้กับสมาชิกสมาคมฯ และประชาชนที่สนใจ, การเปิดให้นำโซลูชัน IoT ที่พัฒนาขึ้นมาทดลองทดสอบบนโครงข่าย IoT จริง และการจัดประชุมวิชาการงานวิจัยด้าน IoT ที่พร้อมนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นโซลูชันที่ให้บริการได้จริงในอนาคต

คุณกำพล โชคสุนทสุทธิ์ นายกสมาคมไทยไอโอที กล่าวว่า “สมาคมไทยไอโอทีก่อตั้งขึ้นภายใต้เป้าหมายที่ต้องการสร้างความตระหนักรู้และเพิ่มขีดความสามารถด้าน IoT ให้กับประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจาก DEPA เพื่อก้าวสู่การเป็น IoT Hub of ASEAN ในอนาคต ความร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนและผลักดันการใช้เทคโนโลยี IoT ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและเป็นรูปธรรม ด้วยศักยภาพทั้งในด้านบุคลากรไทยและโครงสร้างดิจิทัลพื้นฐานด้าน IoT ของประเทศจากการมีโครงข่าย IoT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เชื่อว่าจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT เพื่อการพัฒนาประเทศอีกมากมาย” 

ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า “ทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มีความร่วมมือกับเอไอเอสและสมาคมไทยไอโอที ในมิติที่เชื่อมโยงกับภาคการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคคลากรให้มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี Internet of Things อย่างต่อเนื่อง การนำผลงานวิจัยเชิงวิชาการมาสร้างโอกาสและต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์และยกระดับสู่สากล ถือว่าเป็นมิติใหม่ที่น่าสนับสนุน และจะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาผลงานวิจัยขึ้นหิ้งได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการนำไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงภาคการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าหากันได้อีกด้วย”

งาน Thai IoT International Conference

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ ได้ประเดิมด้วยการจัดงาน Thai IoT International Conference งานประชุมวิชาการด้าน IoT ครั้งแรกของประเทศไทย ผสมผสานระหว่างการจัดการประชุมเชิงวิชาการ (Academic conference) และการหาผู้ร่วมลงทุนทางการค้า (Pitching) ซึ่งนักวิจัยที่มีผลงานทางด้าน IoT สามารถนำเสนองานเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ และสามารถนำผลงานไปเสนอเพื่อหาผู้ร่วมลงทุนในธุรกิจได้ โดยผลงานที่จะนำมาเสนอในงานนี้ จะต้องมีงานวิจัยรองรับ พร้อมต่อยอดเป็นธุรกิจ หรือนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้

สำหรับหัวข้องานวิจัยด้าน IoT จากสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะครอบคลุม 8 หัวข้อ ได้แก่ ด้านการเกษตร การท่องเที่ยว สุขภาพ อุตสาหกรรม พลังงาน โลจิสติกส์ ด้านการจัดการและสังคมศาสตร์ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ IoT โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2562 ณ ห้องออดิทอเรียม 2 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประชาชนที่สนใจสามารถเข้าชมงานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://tiicthailand.com/

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...