AIS ชูทิศทาง Social Impact นำร่องโครงการทิ้งขยะอิเล็กโทรนิกส์ที่ AIS Shop พร้อมกำจัดอย่างถูกวิธี | Techsauce

AIS ชูทิศทาง Social Impact นำร่องโครงการทิ้งขยะอิเล็กโทรนิกส์ที่ AIS Shop พร้อมกำจัดอย่างถูกวิธี

ในโอกาสครบรอบ 30 ปี AIS ได้ชูทิศทางเพื่อสังคม โดยเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในเวลานี้ และพร้อมขับเคลื่อนสังคมไทยสู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ E-Waste รณรงค์ให้คนไทยนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งเพื่อเข้าสู่การจำกัดอย่างถูกวิธี

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส เผยว่า AIS เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม โดยยังเตรียมนำถุงที่ย่อยสลายได้ มาใช้ที่ AIS Shop ซึ่งแม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ AIS ต้องเร่งขับเคลื่อน 

"ท่ามกลางกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงในทุกมิติจากอิทธิพลของ Digital Disruption นี่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ ที่ AIS ปวารณาตัวเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ และแน่นอนว่าพวกเราต้องพลิกวิธีคิด วิธีทำงาน วิธีมองใหม่ทั้งหมด เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง"

โดยคุณสมชัยยังได้เผยภารกิจ Mission Green 2020 ว่า AIS จะมีส่วนช่วยในการลดขยะและกำจัดขยะอย่างไรบ้าง

ารกิจ Mission Green 2020 ผ่านโครงการ E-Waste              

ปัจจุบันประชาชนคนไทยให้ความตระหนักถึงเรื่องของขยะมากขึ้น ทั้งการแยกขยะ และอันตรายจากขยะพลาสติกทั้งการทิ้งไม่ถูกวิธี และการกำจัดไม่ถูกวิธี แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นขยะอีกชนิดที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรา และเป็นอีกหนึ่งปัญหาประชากรของโลกที่ยังขาดความใส่ใจเกี่ยวกับอันตราย ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้รับการทิ้งให้ถูกที่ และจัดการอย่างถูกวิธี จึงก่อให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อม, สังคม และส่งผลเสียในระยะยาว 

เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลที่ดำเนินธุรกิจอย่างเกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์ความรู้เพื่อให้คนไทย ตระหนักถึงผลเสียของการทิ้งขยะอย่างไม่ถูกวิธี และรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของทุกคน และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างในไทย โดยคนไทยสามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ได้ที่ ถังขยะ E-Waste จากเอไอเอสที่จะตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ อาทิ AIS Shop และศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัล และในอนาคตจะถูกกระจายไปยังมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยขยะจากถัง จะถูกนำไปจัดการ และทำลายอย่างถูกวิธี ด้วยกระบวนการ Zero landfill (กระบวนการจัดการขยะ ทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีก)

ถังขยะ E-Waste

ถังขยะ E-Waste วัสดุทำมาจากไม้อัดรีไซเคิล โดยเป็นการดีไซน์จากนิสิตนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และทีมงานโครงการ AIAP (AIS IoT Alliance Program) โดย AIS ได้ต่อยอดนำเทคโนโลยี IoT เข้ามามีส่วนช่วยในการนับชิ้นขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบ Real-time เพื่อ Convert ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ลดลงและแสดงบนเว็บไซต์ www.ewastethailand.com

เริ่มทิ้งขยะได้ที่ AIS Shop

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 62 จะมีวางถังขยะ E-Waste จำนวนทั้งสิ้น 81 จุด ที่ AIS Shop (ในกรุงเทพ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ) และศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัล (เฉพาะในกรุงเทพฯ) รวมถึงในอนาคต  AIS จะจับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ นำถังขยะ E-Waste ไปตั้งในแหล่งศึกษาตามจุดต่างๆ 

นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน AIS ยังมีแผนที่จะไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้คนไทยถึงที่บ้าน โดยนำขยะที่ได้ไปส่งให้กับพาร์ทเนอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะเหล่านี้อย่างถูกวิธี และนำเงินที่ได้รับจากการขายขยะไปบริจาคให้กับมูลนิธิ โดยสามารถดูจำนวนของขยะที่ถูกเก็บ และศึกษาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.ewastethailand.com 

นอกจากนี้ ในส่วนการให้บริการลูกค้า บริษัทยังได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการใช้พลาสติก อาทิ เปลี่ยนจากขวดน้ำพลาสติก เป็น แก้วกระดาษและเครื่องกดน้ำ ตลอดจนการรณรงค์ให้พนักงานภายในองค์กร ตระหนักสิ่งแวดล้อม และปรับวิถีไลฟ์สไตล์ในที่ทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายรักษ์สิ่งแวดล้อม

โดย AIS ตั้งเป้าว่าภายในปี 2020 บริษัทจะสามารถลดค่า CO2 ได้จำนวน 1 ล้าน kgCO2e และจัดการกับขยะ E-Waste ได้ทั้งสิ้น 1 แสนชิ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Devcon SEA 2024 กำลังจะเปิดที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ตอกย้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางบล็อกเชนระดับโลก

Devcon SEA 2024 งานประชุมสุดยิ่งใหญ่สำหรับชุมชน Ethereum กำลังจะเปิดฉากระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยคาดว่ามีผู้เข้าร่วมกว่า 12,000 คนจากทั่วทุ...

Responsive image

Disrupt Health Impact Fund ปิดดีลแรก ลงทุนใน "DiaMonTech" สตาร์ทอัพ DeepTech พัฒนาเทคโนโลยีวัดระดับกลูโคส โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ (Disrupt) เดินหน้าขับเคลื่อนระบบนิเวศ Healthcare หลังเปิดตัวกองทุน Disrupt Health Impact Fund เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศความสำเร็จในก...

Responsive image

Binance Labs ลงทุนใน BIO Protocol เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DeSci)

Binance Labs ได้ลงทุนใน BIO Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหาเงินทุนและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้เทคโนโลยีบ...