AIS และ True ไม่ร่วมประมูลคลื่น 900 MHz จับตา dtac ระบุกำลังพิจารณาเงื่อนไขอยู่ | Techsauce

AIS และ True ไม่ร่วมประมูลคลื่น 900 MHz จับตา dtac ระบุกำลังพิจารณาเงื่อนไขอยู่

AIS และ True ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ ส่วน dtac ระบุกำลังพิจารณาเงื่อนไขของการประมูลรอบนี้อยู่ ยืนยันตัดสินใจทันเส้นตายวันที่ 16 ตุลาคมนี้

AIS true dtac logo

เมื่อวานนี้ (8 ตุลาคม 2561) สามผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านโทรคมนาคมอย่าง AIS, True และ dtac แถลงจุดยืนการเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 900 MHz ที่จะจัดโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในวันที่ 28 ตุลาคม 2561 (เลื่อนจากเดิมที่จะจัดประมูลในวันที่ 20 ตุลาคม 2561) โดยขยายวันสิ้นสุดการเปิดรับเอกสารการเข้าร่วมประมูล จากวันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันที่ 16 ตุลาคม 2561

เริ่มที่ AIS ระบุว่าไม่เข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ โดยให้เหตุผลต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า "บริษัทได้พิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมถึงราคาของการประมูลในครั้งนี้ โดยมีการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินและการลงทุน ประกอบกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญ เมื่อพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แล้วนั้น บริษัทจึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล"

ส่วน True ก็ไม่เข้าร่วมการประมูล 900 MHz ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้ระบุเหตุผลในการไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้

และอีกรายสำคัญที่กำลังตัดสินใจเข้าร่วมการประมูลอย่าง dtac ระบุว่ากำลังอยู่ในช่วงระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขของการประมูลรอบนี้อยู่ และยืนยันว่าจะพิจารณาตัดสินใจให้ทันภายในวันที่ 16 ตุลาคม นี้ตามกรอบเวลาที่ กสทช. กำหนด

คุณราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac กล่าวว่า “การพิจารณาเข้าประมูลคลื่น 900 MHz ที่มีมูลค่าการลงทุนที่สูงถึง 3.79 หมื่นล้านบาทนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และเงื่อนไขหลักเกณฑ์ปลีกย่อยของการขอใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 MHz อย่างรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจที่สำคัญนี้จะสร้างคุณประโยชน์ทางธุรกิจให้แก่ทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงานดีแทคในระยะยาวอย่างแท้จริง และเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมทั้งศักยภาพในการให้บริการของดีแทคในระยะยาว”

“ทั้งนี้ ดีแทค ขอขอบคุณ กสทช. ที่กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตที่ยืดหยุ่นให้โอกาสดีแทคมีเวลาในการพิจารณาอย่างเพียงพอ” คุณราจีฟ กล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...