Amity ประกาศตั้งบริษัทย่อย Amity Solution พร้อมเตรียม IPO ปี 67 หวังลงทุนด้าน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT | Techsauce

Amity ประกาศตั้งบริษัทย่อย Amity Solution พร้อมเตรียม IPO ปี 67 หวังลงทุนด้าน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT

 แอมิตี (Amity) บริษัทผู้ให้บริการ Software-as-a-Service (SaaS) ไทยระดับโลก ประกาศแผนตั้งบริษัทย่อยแยกออกจากหน่วยธุรกิจที่เน้นทำตลาดไทย ภายใต้แบรนด์ใหม่ชื่อ “แอมิตี โซลูชันส์ (Amity Solutions)” 

Amity

รวมทั้ง Amity เล็งเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชน (initial public offering: IPO) Amity Solutions ในปี 2567 และจะนำเงินที่ได้ไปใช้เร่งการลงทุนในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเห็นถึงการแบ่งออกกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจของ Amity ที่เป็น “Software Development Kit (SDK) และ Application Program Interface (API)” ที่มีการเติบโตสูงและเน้นขายตลาดโลก  กับธุรกิจของ Amity ที่มีเน้นตลาดไทย

ธุรกิจหลัก (core businesses) ของ Amity Solutions จะประกอบไปด้วย เอโค่ (Eko) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ (automation) และเน้นการสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) ภายในองค์กรอันเป็นผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมของ Amity ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แชตบอตที่เรียกว่า แอมิตีบอตส์ (Amity Bots) 

การจัดตั้ง Amity Solution คือการนำ Amity Eko กับ Amity Bots ออกมาจาก Amity โดยจะมุ่งเน้นไปในด้านปัญญาประดิษฐ์ และ Chat bots

นอกจากนี้ ธุรกิจ Amity Solutions จะรวมถึงแหล่งรายได้อื่น ๆ ในไทยของ Amity เช่น ธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น API โดยรวมแล้ว ผลิตภัณฑ์ Amity Solutions มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 20 ล้านคนต่อเดือน และสุดท้ายคือ Amity Solutions จะรวมถึงโซลูชันและผลิตภัณฑ์ AI ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี GPT ของ Amity ที่เพิ่งเปิดตัวไปล่าสุด โดยมีเป้าหมายที่จะนำโซลูชัน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT รวมเข้า (integrate) กับผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด อีกทั้งยังลงทุนเพิ่มเติมเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า GPT กำลังพาเราเข้าสู่ยุคใหม่ของความสามารถด้านการประมวลผล (computing capabilities) เราเชื่อว่ามันจะมาพลิกโฉมอุตสาหกรรมทั้งหมดในหลาย ๆ อุตสาหกรรม และแน่นอนว่ารวมถึงวิธีที่ธุรกิจดำเนินกิจการด้วยเทคโนโลยีแชตจีพีที (ChatGPT) แต่นี่เป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์ม GPT ของ OpenAI นั้นมีศักยภาพอะไรบ้าง และ Amity Solutions มีเป้าหมายคือมุ่งสู่เป็นผู้นำระดับภูมิภาคที่พัฒนาโซลูชัน AI นอกเหนือจาก GPT” คุณกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ก่อตั้ง Amity กล่าว

เพื่อให้แน่ใจว่า Amity Solutions จะมีทรัพยากรที่ใช่และเหมาะสมต่อการบรรลุความทะเยอทะยานของ Amity เองในด้านเทคโนโลยี AI ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง GPT Amity ตั้งเป้าสู่การเสนอขาย IPO Amity Solutions ในปี 2567 ในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการประเมินตัวเลือก IPO ในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคเพื่อกำหนดขั้นตอนต่อไปของบริษัท อันที่จริงแล้ว Amity Solutions มีเป้าหมายคือจะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ SaaS ที่เสนอขาย IPO รายแรกของภูมิภาค

ธุรกิจระดับโลกที่มีการเติบโตสูงของ Amity ที่เน้นขายผลิตภัณฑ์ “แอมิตีโซเชียลคลาวด์ (Amity Social Cloud: ASC)” อย่างไรก็ตาม ก็จะยังคงดำเนินกิจการแบบเอกชนโดยมีเป้าหมายที่จะจดทะเบียนในแนสแด็ก (NASDAQ) ในอีกหลายปีข้างหน้า Amity Social Cloud ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยขับเคลื่อนชุมชนดิจิทัล และโซเชียลฟีเจอร์ในแอปพลิเคชัน 

โดยสามารถ plug-in เข้ากับแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ใดก็ได้ นับตั้งแต่เปิดตัวทั่วโลกเมื่อต้นปี 2564 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดยุโรปและอเมริกา โดยมียอดผู้ใช้งานต่อเดือน (monthly active users: MAUs) พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 30,000 รายเมื่อต้นปี 2565 ขึ้นเป็นมากกว่า 1.1 ล้านรายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยมีสำนักงานอยู่ในลอนดอน และมิลาน มีลูกค้าเป็นแบรนด์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและยุโรปหลายสิบแห่งและธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

“หลังจากการเปิดตัว Amity Bots Plus ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี GPT-3 เมื่อไม่นานมานี้ สิ่งนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสำหรับเรา ในขณะเดียวกันเราก็มุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในบริษัทเทคที่มีนวัตกรรมที่ล้ำสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ทัชพล ไกรสิงขร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) และผู้ร่วมก่อตั้งของ Amity กล่าว “เป้าหมายของเราคือการทำให้แน่ใจว่า ลูกค้าของเราสามารถเข้าถึงโซลูชันเทคโนโลยีอันก้าวล้ำซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถแซงหน้าคู่แข่งได้”

คุณไลโอเนล ชิน (Lionel Chin) กรรมการผู้จัดการของ Amity Solutions ให้ความเห็นว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นกับการเปิดตัวบริษัทย่อยของเราเอง ที่จะมาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราไปสู่อีกขั้นด้วย AI และระบบ automation ที่ล้ำสมัย”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อดีตซีอีโอ Nissan เตือน การควบรวมกิจการกับ Honda อาจทำให้เจอ 'ปัญหา' การลดต้นทุนครั้งใหญ่

Carlos Ghosn อดีตซีอีโอของ Nissan ออกมาเตือนว่า บริษัทอาจต้องเผชิญกับ "หายนะ" จากการลดต้นทุนครั้งใหญ่ หากตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Honda โดยเขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองบริษัทมีความซ้ำซ้อน...

Responsive image

เชื่อหมอมากกว่า TikTok ? วิจัยชี้ คำแนะนำทางการแพทย์เกือบครึ่ง 'มั่ว'

Tebra บริษัทวิจัยด้านสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่า 5,000 รายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อทำการประเมินความถูกต้องของ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เ...

Responsive image

Zoom เผย 10 เทรนด์ AI ในการทำงาน ที่ต้องจับตา ปี 2025

ในปี 2568 บริษัทซูม วิดีโอคอมมิวนิเคชันส์ (Zoom) มองว่าเทคโนโลยี AI อาจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในหลายๆด้าน บริษัทที่ใช้ AI เป็นหลัก จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สร้างประสบการ...