ปี 2560 ธนาคารปิดสาขาย่อยไปแล้ว 204 แห่ง คาดผู้บริโภคใช้ Digital Banking มากขึ้น | Techsauce

ปี 2560 ธนาคารปิดสาขาย่อยไปแล้ว 204 แห่ง คาดผู้บริโภคใช้ Digital Banking มากขึ้น

ข้อมูลจากธนาคารประเทศไทย (ธปท.) สรุปจำนวนรวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2560 พบว่าธนาคารพาณิชย์ปิดสาขาย่อยไปแล้ว 204 สาขา คาดผู้บริโภคใช้ Digital Banking มากขึ้น

โดยข้อมูลจาก ธปท. ระบุจำนวนรวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 ธนาคารพาณิชย์ปิดสาขาลงไปแล้ว 204 สาขา (โดยเมื่อเดือนมกราคม 2560 มีจำนวนสาขาอยู่ที่ 7,004 สาขา ส่วนเดือนพฤศจิกายน 2560 พบว่ามีจำนวนสาขาเหลือเพียง 6,800 สาขา) และเมื่อเทียบจำนวนสาขาธนาคารของเดือนมกราคม 2560 กับ เดือนพฤศจิกายน 2560 พบข้อมูลว่า

ธนาคารที่มีการปิดสาขา 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) จาก 1,213 สาขา / เหลือ 1,122 สาขา / ลดลง 91 สาขา
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) จาก 1,102 สาขา / เหลือ 1,028 สาขา / ลดลง 74 สาขา
  • ธนาคารธนชาต จาก 589 สาขา / เหลือ 530 สาขา / ลดลง 59 สาขา
  • ธนาคารทหารไทย (TMB) จาก 453 สาขา / เหลือ 433 สาขา /ลดลง 20 สาขา
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB THAI) จาก 92 สาขา / เหลือ 87 สาขา / ลดลง 5 สาขา

ส่วนธนาคารที่มีการเปิดสาขาเพิ่ม 5 อันดับแรก ได้แก่

  • ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย จาก 88 สาขา / เพิ่มเป็น 132 สาขา / เพิ่มขึ้น 44 สาขา
  • ธนาคารกรุงเทพ จาก 1,157 สาขา / เพิ่มเป็น 1,165 สาขา / เพิ่มขึ้น 8 สาขา
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) จาก 659 สาขา / เพิ่มเป็น 663 สาขา / เพิ่มขึ้น 4 สาขา
  • ธนาคารทิสโก้ (TISCO) จาก 57 สาขา / เพิ่มเป็น 60 สาขา / เพิ่มขึ้น 3 สาขา
  • ธนาคารไอซีบีซี ไทย (ICBC THAI) จาก 21 สาขา / เพิ่มเป็น 22 สาขา / เพิ่มขึ้น 1 สาขา

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากโลกออนไลน์ โพสภาพข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะมีการปิดอีก 59 สาขาในเดือนธันวาคม 2560 อีกด้วย ถึงแม้ข้อมูลจาก ธปท. จะระบุว่าธนาคารไทยพาณิชย์ยังไม่มีการปิดสาขาย่อยตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2560 ก็ตาม

ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ความเห็นจากกองบรรณาธิการ

ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจเท่าไหร่ เพราะการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ น่าจะเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการใช้ Digital Banking มากขึ้น เริ่มฝากเงินหรือทำธุรกรรมบางอย่างที่ตู้ ATM มากขึ้น รวมไปถึงมีการใช้ Mobile Banking หรือ Internet Banking มากขึ้น

ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีแนวโน้วเข้าสู่สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society ได้เร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเอื้อให้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการเงินหรือ FinTech เกิดขึ้นและดำเนินไปได้ดีขึ้นอีกด้วย

นับเป็นภาพที่ดีครับ สำหรับเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่ประการใด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...