Innovation Club Thailand ก่อตั้งขึ้นสืบเนื่องจากการจัดทำWhite Paper Thailand: Scale-up Nation 2030 – Accelerating the Innovation Economy. หรือ “ประเทศไทย:ยกระดับ Startup สู่สเกลอัพ 2030 เร่งสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม” นำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ที่ได้นำประสบการณ์ของการรวมกลุ่มของธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก (ซิลิคอนแวลลีย์ เคมบริดจ์ และอิสราเอล มาปรับ ใช้กับบริบทในประเทศไทย และเสนอให้มีการสร้าง “คลับ (club)” แบบไม่เป็นทางการ ของผู้นำซึ่งมีประสบการณ์สูงที่อาสาใช้พลังงานและสติปัญญาของตนเพื่อออกแบบระบบนิเวศผู้ประกอบการ (entrepreneurial ecosystem) ให้เป็นรูปธรรม เร่งให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศสเกลอัพ
สมาชิกของคลับนี้มีผู้ก่อตั้งและได้รับแรงร่วมมือจากบริษัทธุรกิจ นักลงทุน ภาคการศึกษา และภาครัฐ เพื่อหาหนทางพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างแรงขับเคลื่อนถาวรที่เพียงพอผ่าน “การหมุนเวียน” ทรัพยากรสำคัญ (ผู้ประกอบการ การลงทุน ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ) ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยกลไกที่แทรกแซงจากภายนอก เช่น การพึ่งพิงการสนับสนุนจากรัฐบาล เงินทุนเพื่อการกุศล หรือความรู้ความเชี่ยวชาญที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศอีกต่อไป จึงก่อให้เกิดการจัดตั้ง “Innovation Club: Thailand Scale-up Nation” ในการหาแนวทางสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อผลักดันให้ Startup ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันและขยายกิจการ (Scale-up) ได้ในระดับโลก พร้อมกระตุ้นให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และนำไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
Innovation Club Thailand ได้รับเกียรติจากที่ปรึกษาระดับโลก อาทิ เดวิด กิลล์ (David Gill) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์นวัตกรรมเซนต์จอห์น เคมบริดจ์ (Chief Executive Officer, St John’s Innovation Centre Cambridge) แคโรไลน์ ไฮด์ (Caroline Hyde) ผู้บริหารสูงสุดสายงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการดําเนินงานภายนอก (Head of International Relations & Outreach) Cambridge Enterprise ปีเตอร์ ไทเลอร์ (Peter Tyler) ศาสตราจารย์ภาควิชาด้านเศรษฐศาสตร์เมืองและภูมิภาคในกรมเศรษฐกิจที่ดิน (Professor in urban and regional economics in the Department of Land Economy) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร บารัค ชาราบี (Barak Sharabi) ผู้ก่อตั้ง Sphere8 และ สตีฟ เลียวนาร์ด (Steve Leonard) ประธานกรรมการบริหาร Singularity University จากซิลิคอนแวลลีย์ นับเป็นการรวบรวมผู้นำที่คร่ำหวอดในวงการสร้าง Startup สู่สเกลอัพในระดับโลกทั้งในฝั่งอังกฤษ อเมริกา และอิสราเอล
ทั้งนี้ องค์กรชั้นแนวหน้าของประมาเทศไทยที่ร่วมเป็นผู้ก่อตั้ง Innovation Club Thailand ได้แก่ บริษัท กสิกรไทย จํากัด มหาชน บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PreMa) บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับภาคการศึกษาชั้นนำของไทยและระดับโลกได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และ Techsauce ในฐานะ Media Partner
กิจกรรมในปี 2564 มีการจัดประชุมทุกไตรมาสของสุดยอดผู้บริหารระดับสูง (C-level) หรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และการจัดประชุมประจำเดือนของทีมงานตัวแทนผู้นำระดับสูงของแต่ละองค์กร โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนและเร่งความเร็วของเศรษฐกิจนวัตกรรมเป็นทีมเดียวเพื่อให้ Startup กลายเป็นสเกลอัพในเวทีระดับโลกDrive and accelerate the Innovation Economy as one team so as to enable start-ups to become scale-ups in the global arena.
เดวิด กิลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์นวัตกรรมเซนต์จอห์น เคมบริดจ์ ซึ่งเป็นสถานที่บ่มเพาะผู้ประกอบการและ Startup เทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน ได้ระบุถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อระบบนิเวศ Startup ในประเทศไทย รวมไปถึงแนะนำแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ของ Startup ไทยในอนาคต โดยเดวิดกล่าวว่าความท้าทายที่ Startup ในไทยกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากประเด็นด้านเงินทุน บุคลากร และข้อมูล ซึ่งทั้งรัฐบาลและเอกชนควรให้ความร่วมมือเป็นสำคัญ
ในส่วนของเงินทุน เดวิด มองว่านักลงทุน Angel และ Venture Capital ในไทยสนใจเข้าลงทุนใน Startup ที่อยู่ระยะหลัง (Mature Stage) เพราะเห็นแนวโน้มการเติบโตที่ชัดเจนกว่า และตัวองค์กรมีศักยภาพมากพอจะขยายเป็นบริษัทมหาชนได้ ในจุดนี้เองจะสร้างช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่าง Startup ในระยะแรก (Early Stage) ที่ยังคงต้องการเงินทุนในการเติบโตและขยายบริษัท เช่นเดียวกันในส่วนของรัฐบาล ควรจะให้ทุนวิจัยเงินอุดหนุนให้กับธุรกิจ SME ที่มีศักยภาพ เพื่อที่ดึงดูดผู้ประกอบการให้หันมาลงทุน Startup ที่เติบโตและยั่งยืน และรัฐบาลเองควรวางแผนนโยบายให้เอื้อต่อการลงทุน เช่น การอนุญาตให้พนักงาน Startup ได้ผลตอบแทนด้วยสิทธิในการซื้อหุ้นโดยที่ไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนบุคคล (ESOP) อย่างไรก็ดี เมื่อมองภาพใหญ่ทั้งประเทศ ไทยยังมีแหล่งเงินทุนที่จำกัดอยู่มาก เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพาเงินทุนต่างประเทศจากการส่งออกเท่านั้น
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางแผนและกําหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าประเทศไทยยังขาดความสามารถในการรับสมัครบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ หากประเทศไทยคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความสามารถ ก็จะยกระดับขนาด Startup ให้ขยายตัวได้รวดเร็ว และเป็นผลดีต่อพนักงานที่ถือหุ้นในบริษัทโดยรวม ทั้งนี้ สถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในส่วนของการเข้าถึงแหล่งความรู้ และโอกาสในการทำธุรกิจ
ยิ่งไปกว่านั้น Startup ในไทยยังขาดชุดข้อมูลพื้นฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยังไม่ได้ลงทุนในการวิจัยเท่าที่ควรจะเป็น ทำให้ไม่สามารถทราบภาพรวมของภูมิทัศน์ Startup ไทยในขณะนี้ได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทาง Innovation Club ริเริ่มทำภารกิจสร้างชุดข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Study) เพื่อรวบรวมเป็น Innovation Dashboard ตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินระบบนิเวศของ Startup ในไทย เพื่อที่จะช่วยตัดสินใจประเด็นต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศได้อย่างแม่นยำและสะดวกมากขึ้น รวมถึงการเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันของไทย
นอกจากนี้ บารัค ชาราบี ผู้ก่อตั้ง Sphere8 บริษัทให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการด้านนวัตกรรมเพื่อ Startup เทคโนโลยี ก็ได้กล่าวเสริมว่าสาเหตุที่ Startup ในไทยยังคงชะงักงันก็คือการจัดเก็บข้อมูลและรายละเอียดของ Startup ทั้งหมด ในส่วนนี้ทั้งรัฐบาล เอกชน หน่วยงานสถานศึกษา และธุรกิจ Startup ควรให้ความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำไปสู่การหาแนวทางแก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้นสำหรับ Startup และหาวิธีสเกลอัพให้ Startup ไทยพร้อมเข้าสู่ตลาดโลก
โดยในปี 2564 Innovation Club Thailand ได้วางแผนหัวข้อข้อมูลพื้นฐานของ Startup ที่จะศึกษาโดยเริ่มต้นจาก 10 หัวข้อที่ได้เลือกมาจาก 17 หัวข้อของผลวิเคราะห์ในสมุดปกขาว ดังต่อไปนี้
โดยการศึกษาหัวข้อทั้งหมดนี้จะดำเนินตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน 2564 และจะนำเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ภายในเดือนตุลาคม 2654
White Paper Thailand: Scale-up Nation 2030 – Accelerating the Innovation Economy. “ประเทศไทย:ยกระดับ Startup สู่สเกลอัพ 2030 เร่งสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม” ได้ถูกจัดทำขึ้นจนแล้วเสร็จและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2563 สมุดปกขาวฉบับนี้เกิดขึ้นจากการทํางานร่วมกันอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 3 เดือนของการเกิดโรคระบาดทั่วโลกทําใหทีมงานของเคมบริดจ์ไม่สามารถทําการวิจัยภาคสนามในประเทศไทย แต่ด้วยการผสมผสานองค์ความรู้ที่เข้มข้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ และการประชุมผ่านระบบวีดีโอทางไกลหลายต่อหลายครั้ง ทําให้เราสามารถทํางานได้อย่างสร้างสรรค์ และผสมผสานประสบการณ์ของประเทศไทยกับนานาประเทศ เพื่อให้เข้าใจถึงความจําเป็นและโอกาสของประเทศไทยในปัจจุบัน สมุดปกขาวดังกล่าวมีผู้เขียนรวมสามท่าน ได้แก่
ทั้งนี้ ผู้เขียนทั้งสามท่านเป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านนวัตกรรมและผ้ประกอบการเป็นเวลานาน ซึ่งมีความเข้าใจอย่างดีว่าประเทศไทยในปัจจุบันมีโอกาสต่อยอดความสำเร็จในแวดวงของ Startup และแสวงหาคำแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงสำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการของประเทศในขั้นต่อไป
ท่านที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด