อนันดา จับมือ Bitkub เปิดตัว ZillaSpace Protocol แก้ปัญหาทรัพยากรเหลือใช้ แบ่งปันพื้นที่อสังหาฯร่วมกันผ่าน Blockchain | Techsauce

อนันดา จับมือ Bitkub เปิดตัว ZillaSpace Protocol แก้ปัญหาทรัพยากรเหลือใช้ แบ่งปันพื้นที่อสังหาฯร่วมกันผ่าน Blockchain

บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเป็นผู้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ประกาศเปิดตัว ZillaSpace Protocol ที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรเหลือใช้แบบไร้ตัวกลาง (Decentralized Real Estate Sharing Protocol) โดยความร่วมมือกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด เปิดตัวภายในงาน Blockchain Block Party จัดขึ้น ณ อาคาร เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ถนนคลองเตย โดยเป็นงานที่รวบรวมเหล่าผู้นำ และผู้มีชื่อเสียง ทั้งในและนอกวงการคริปโทเคอร์เรนซี และเทคโนโลยีบล็อกเชน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับและพัฒนาประเทศต่อไป

ZillaSpace Protocol

คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นร้อยละ 21 ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ทั่วโลกต่อปี ในขณะเดียวกันการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรก็ส่งผลให้ปัญหานี้ทวีคูณขึ้นเช่นกัน  นอกจากนี้เทรนด์ของการทำงานทางไกลและกลุ่มคนที่สามารถทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตได้ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่หรือที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง กลุ่มคนเหล่านี้มีจำนวนพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดการแบ่งปันพื้นที่ (space sharing) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาตัวเลขของกลุ่มคนที่สามารถทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตได้จากที่ต่างๆ มีจำนวนสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 4.8 ล้านคนในปี 2561 เป็น 10.9 ล้านคนในปี 2563 และคาดการณ์ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะมีจำนวนมากกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกในปี 2578 

ซึ่งแนวโน้มที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การเพิ่มขึ้นของคนรุ่นมิลเลนเนียลและคนรุ่นใหม่ รวมถึง Digital Nomad และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป   ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญเบื้องหลังการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจการแบ่งปันพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่า cryptocurrencies จะเป็นรูปแบบการชำระเงินที่แพร่หลายและการแปลงสินทรัพย์ต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบโทเคน (tokenization) จะถือเป็นเรื่องปกติ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นแล้วบนแพลตฟอร์มการเดินทางที่ใช้บล็อคเชนในปัจจุบันเช่นร้อยละ70 ของการจองใน Travala.com (เว็บไซต์การจองที่พักระดับโลก) ทั้งหมดถูกจ่ายด้วยสกุลเงินดิจิตอล และแพลตฟอร์มนี้ได้โตขึ้นอย่างรวดเร็ว

สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ZillaSpace Protocol เกิดจากแนวคิดที่มองว่าการเร่งพัฒนาหรือการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นในทุกวัน เราควรหันมาใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่แล้วเพื่อลดมลพิษจากการก่อสร้างใหม่ๆ และนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อสังคม ซึ่งในปัจจุบันการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างจากภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากถึงร้อยละ 21 ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกต่อปี การแบ่งปันพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นี่จึงเป็นแนวคิดของ ZillaSpace Protocol เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามาใช้บริการพื้นที่และร่วมกันลดปัญหาดังกล่าว

ZillaSpace Protocol สร้างขึ้นบนเครือข่ายของ Bitkub Chain ที่พัฒนาโดยบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด โดยทางอนันดาฯ ตั้งเป้าหมายว่า ZillaSpace Protocol จะเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ 4.0 และเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับการแบ่งปันพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ และก้าวไปสู่ เครือข่ายระดับโลก เช่น Ethereum หรือ Solana ที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ไม่จำกัดเพียงอสังหาริมทรัพย์ในเครือของอนันดาฯ เท่านั้น

สำหรับการทำงานของ ZillaSpace Protocol ในเฟสแรก ZillaSpace NFT ในกระเป๋า Bitkub NEXT จะเป็นเหมือนบัตร Founding Member (Whitelist) และเป็นสิทธิประโยชน์เบื้องต้นที่ผู้ถือสามารถ Redeem เพื่อขอใช้พื้นที่ตามคุณสมบัติของ NFT นั้นๆ เช่น Co-working space ห้องประชุม ห้องStudio และ พื้นที่จัดอีเวนท์ เป็นต้น โดย ZillaSpace NFT ชุดแรกได้ถูกแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมงาน Blockchain Block Party ผ่านทาง Airdrop เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564

“สำหรับโปรเจกต์ ZillaSpace นี้ อนันดาฯ ต้องการที่จะมอบสิ่งดีๆ กลับคืนแก่สังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก รวมถึงการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เนื่องจากอนันดาฯ ให้ความสนใจในการพัฒนาทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโปรเจกต์ต่างๆ ที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของโปรเจคทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อที่จะผลักดันเทคโนโลยีในประเทศไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเทียบเท่าสากล“ คุณชานนท์ กล่าวทิ้งท้าย



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...