เป็นอีกวาระสำคัญทางเทคโนโลยีที่ดี เมื่อ Google นำ AI มาสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ผ่านการจัดงาน “APAC AI for Social Good Summit” งานประชุมเกี่ยวกับการใช้ AI เพื่อประโยชน์ต่อสังคม
APAC AI for Social Good Summit เป็นความร่วมมือของ Google กับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UN-ESCAP) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในงานได้มีการรวมพลทั้งนักวิจัย ผู้กำหนดนโยบายองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชนจากทั่วเอเชียแปซิฟิก ร่วมหารือเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งได้เกิด 2 โครงการสำคัญ คือ การเปิดตัวเครือข่ายวิจัยด้าน AI เพื่อสังคมในเอเชียแปซิฟิก และ
Google และ UN-ESCAP ได้จับมือเป็นพันธมิตรเพื่อแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและระบุแนวทางในการส่งเสริมการใช้ AI เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในเอเชียแปซิฟิก สำหรับการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ Google จะมอบทุนให้กับสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (Association of Pacific Rim Universities) เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยด้าน AI เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific AI for Social Good Research Network)
Kent Walker รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการทั่วโลกของ Google กล่าวว่า “เครือข่ายนี้จะนำนักวิชาการชั้นนำจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมารวมตัวกันเพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเสี่ยงและความกังวลต่างๆ นอกจากนี้ยังจะเป็นเวทีสำหรับนักวิชาการเหล่านี้เพื่อหารือเกี่ยวกับการวิจัยของพวกเขาร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน”
Armida Alisjahbana รองเลขาธิการสหประชาชาติ และเลขาธิการบริหาร คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยที่ทันสมัยและการให้คำแนะนำด้านนโยบายเกี่ยวกับ AI เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ESCAP ได้รับมอบหมายให้เสริมสร้างวาระด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับภูมิภาคผ่านบทบาทของเราในฐานะคลังสมอง ที่ปรึกษาด้านนโยบาย และผู้รวบรวมข้อมูล เราหวังว่าความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างเช่นในวันนี้ จะช่วยสนับสนุนประเทศสมาชิกในความพยายามของพวกเขาในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ในงานใหญ่ด้าน AI ครั้งนี้ Google ยังได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันการเกิดตาบอดโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy) ทั้งนี้
Google ได้ดำเนินโครงการริเริ่มนี้แล้วในคลินิกหลายแห่งในประเทศอินเดีย โดยได้รับการสนับสนุนจาก Verily หลังจากการศึกษาย้อนหลังในประเทศไทยเป็นเวลาหลายเดือน ตอนนี้ Google กำลังร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อเริ่มการทดลองทางคลินิกในพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกทั่วประเทศ นพ. ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า
“ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย ทุกรายมีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ทั้งนี้สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นประจำ ผลจากการศึกษาย้อนหลังพบว่าในการตรวจคัดกรองแบบเดียวกัน แบบจำลอง AI ตรวจจับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับ Google เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือ AI ในการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่จะช่วยป้องกันการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานไนไทยได้มากขึ้น”
Lily Peng ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Google Health กล่าวเสริมว่า “เป้าหมายของ Google คือการทำให้ทุกคนเข้าถึงประโยชน์ของ AI ได้ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ขยายโครงการนี้มายังประเทศไทยผ่านความร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้คนไทยได้รับการตรวจคัดกรองที่สามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้มากขึ้น”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด